อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ปวดขา ปวดเข่า ปวดส้นเท้า เอ็นหัวเข่าฉีก

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ปวดขา ปวดเข่า ปวดส้นเท้า เอ็นหัวเข่าฉีก (Sports Injuries) 

 
 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้

ปัญหาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาพบได้บ่อยทั้งบุคคลธรรมดา นักกีฬามือสมัครเล่น รวมไปถึงนักกีฬามืออาชีพ จากการใช้งานร่างกายซ้ำ ๆ ในลักษณะที่เฉพาะตามชนิดกีฬา โดยสาเหตุที่เกิดขึ้นพบได้ทั้ง การอักเสบ/ฉีกขาดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ในระดับต่าง ๆ รวมถึงอาการปวดเมื่อยทั่วไปที่เกิดขึ้นหลังจากออกกำลังกาย จากการสะสมของของเสียภายหลังจากออกกำลังกาย เช่น ปวดขา ปวดเข่า ปวดส้นเท้า รองช้ำ เอ็นหัวเข่าฉีก กล้ามเนื้อฉีก

ในผู้ที่ไม่ได้ฝึกฝน หรือเตรียมกล้ามเนื้อให้พร้อมก่อนเริ่มเล่นกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงไม่เพียงพอ เมื่อเกิดการหดตัวซ้ำ ๆ จะทำให้เส้นใยของกล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาด หรือ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อที่ไม่เพียงพอ จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนักกีฬาวิ่งหรือปั่นจักรยาน ที่ต้องใช้งานกล้ามเนื้อส่วนล่าง การบาดเจ็บที่พบได้บ่อย คือ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า(Quadricep) ต้นขาด้านหลัง (hamstring) กล้ามเนื้อน่อง(Gastrocnemius) เส้นเอ็นเนื้อรอบ ๆ สะบ้า(Patella tendon)

 

อาการและแนวทางการดำเนินโรค

  • อาการในระยะเฉียบพลัน

    จะมีอาการปวด บวม แดง ร้อน ในช่วง 1-3 วันแรก เป็นช่วงที่หลอดเลือดบริเวณที่มีการบาดเจ็บเกิดการฉีกขาด ทำให้หลั่งสารที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ และอาการปวดออกมา

  • อาการในระยะเรื้องรัง

    จะเกิดขึ้นในช่วง 6 สัปดาห์ - 6 เดือน ในบางรายอาจจะเป็นๆหายๆ เมื่อพักแล้วกลับมาใช้งานจะเกิดการอักเสบซ้ำสลับไปมา ทำให้ยังมีอาการบาดเจ็บอยู่ โดยภายหลังการบาดเจ็บ ทั้งกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็น หากร่างกายสามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้สมบูรณ์เพียงพอ จะทำให้เรากลับมาใช้งานได้อย่างปกติ แต่หากไม่สมบูรณ์ เช่น มีพังผืดเกิดขึ้นและประสิทธิภาพในการรับแรงของเนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นใหม่ยังมีไม่เพียงพอ เมื่อกลับไปใช้งานก็จะเกิดการบาดเจ็บขึ้นอีกครั้งได้ หรือในช่วงพักกล้ามเนื้อที่ไม่ได้ใช้งานเป็นระยะเวลานาน ความแข็งแรงและเส้นใยกล้ามเนื้อจะลดกลงไปตามลำดับ ซึ่งส่งผลต่อการใช้งานในอนาคตได้

 

วิธีการรักษา

  1. การรักษาด้วยตัวเอง
    • ประคบเย็น เพื่อลดอาการปวดและอาการอักเสบ 15 นาที
    • ยืดกล้ามเนื้อทุกครั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย
    • Warm up & Cool down ร่างกายทุกครั้ง เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนการใช้งาน และค่อย ๆ ลดการทำงานของร่างกายลงหลังจากเสร็จกิจกรรม
  2. การรักษาทางกายภาพบำบัด
    • คลื่นอัลตร้าซาวน์ เพื่อใช้เร่งกระบวนการอักเสบ ลดอาการปวด เพื่อการไหลเวียนของเลือด ทำให้เนื้อเยื่อเกิดการปรับตัว สามารถใช้ได้ครอบคลุมทั้งในช่วงอักเสบเฉียบพลัน และเรื้อรัง
    • High Intensity LASER เพื่อใช้เร่งกระบวนการอักเสบ ลดอาการปวด กระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ
    • Electrical stimulation เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อที่มีความตึงตัวให้ผ่อนคลายมากขึ้น หรือใช้ในการกระตุ้นการเรียนรู้ของกล้ามเนื้อเพื่อหวังผลในการเพิ่มความแข็งแรง ร่วมกับการออกกำลังกาย
    • Therapeutic exercise การออกกำลังกายเพื่อการรักษา โดยมีนักกายภาพบำบัดเป็นผู้กำหนดโปรแกรม ใช้การตรวจประเมินเฉพาะ เพื่อให้ทราบปัญหาหรือกลไกการทำงานของร่างกายที่บกพร่อง และกรุ้นให้กล้ามเนื้อเกิดความแข็งแรงอย่างเฉพาะเจาะจง เพิ่มการทรงตัว การรับความรู้สึกของข้อต่อ
  3. การรักษาทางด้านอื่นๆ
    • ทานยา
    • ผ่าตัด
    • ฝังเข็ม

 

การป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีกของโรคนี้

การทำกายภาพบำบัดที่มีประสิทธิภาพ โดยเริ่มฟื้นฟูได้ในทุกระยะตั้งแต่เฉียบพลัน จนถึงเรื้อรัง โดยการฟูในระยะต่าง ๆ มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากในแต่ระยะร่างกายมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเนื้อเยื่อที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการรักษาและฟื้นฟูให้เหมาะสมต่อช่วงเวลา อาการ และเป้าหมาย

การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีประสิทธิภาพ และต้องเฉพาะเจาะจงกับปัญหา การใช้งานที่จำเพาะของผู้ป่วย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันการบาดเจ็บในระยะยาว

 
    

ติดต่อเรา (Contact)

สนใจสอบถามข้อมูล และ ติดตาม KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare

Line

@Kinrehab

Call

091-803-3071

Call

095-884-2233

Rehabilitation & Homecare

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease)

KIN Rehabilitation

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease)     สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ ? โรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง โดย... 

อ่านต่อ...

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ปวดขา ปวดเข่า ปวดส้นเท้า เอ็นหัวเข่าฉีก

KIN Rehabilitation

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ปวดขา ปวดเข่า ปวดส้นเท้า เอ็นหัวเข่าฉีก (Sports Injuries)      สาเหตุที่ทำให้เกิดอ... 

อ่านต่อ...

ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและดูแลผู้สูงอายุ โรงพยาบาลกายภาพบำบัด คินออริจิ้น Kin Origin Healthcare Center

KIN Rehabilitation

  Kin Origin Healthcare Center           ศูนย์ดูแลด้านสุขภาพเพื่อการฟื้นฟูร่างกายอย่างครบวงจร... 

อ่านต่อ...

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) อาการ ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่

KIN Rehabilitation

    สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อในท่าทางซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เกิดอาการ ปวดหล... 

อ่านต่อ...

โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดสมองแตก

KIN Rehabilitation

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)                            ... 

อ่านต่อ...

โรคกระดูกทับเส้นประสาท

KIN Rehabilitation

โรคกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated disc)        สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ เมื่อหมอนรองกระดูกเกิดกา... 

อ่านต่อ...

ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง KIN Stroke Center เส้นเลือดในสมองตีบ เส้นเลือดในสมองแตก

KIN Rehabilitation

ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง KIN Stroke Center                โรคหลอดเลือดสมอง... 

อ่านต่อ...

บริการของ “KIN” (คิน)

KIN Rehabilitation

บริการของเรา (Programs)     “KIN” (คิน) คือ ศูนย์ดูแลด้านสุขภาพเพื่อการฟื้นฟูร่างกายอย่างครบวงจร ประกอ... 

อ่านต่อ...

อาคารศูนย์ฟื้นฟู (Rehabilitation Building)

KIN Rehabilitation

อาคารศูนย์ฟื้นฟู Rehabilitation Building เป็นตึกสูง 6 ชั้น โดยในส่วนของห้องพักจะอยู่ในชั้น 3-6 ของอาคาร โดยมีห้องพัก 3 ประเภ... 

อ่านต่อ...

หน้าแรก

KIN Rehabilitation

Welcome to "KIN" (คิน) ศูนย์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุครบวงจร KIN “Caring is the best medicine”    Watch Vid... 

อ่านต่อ...

Sharing Room (ห้องรวม 6 เตียง)

KIN Rehabilitation

Sharing Room (ห้องรวม 6 เตียง)           ห้องรวม 6 เตียง ห้องพัก ช้้น 2 พื้นที่ขนาด 50 ตารางเม... 

อ่านต่อ...

Twin Room

KIN Rehabilitation

        ห้องคู่ ห้องพักพิเศษ ช้้น 2   สิ่งอำนวยความสะดวก  LED SMART TV 40 นิ้ว  ... 

อ่านต่อ...
KIN Rehab