คลินิกสุขภาพจิต (Mental Health Clinic) โรคสมองเสื่อม คลินิกจิตเวชผู้สูงอายุ นอนไม่หลับ

คลินิกสุขภาพจิต (Mental Health Clinic)

     
บริการปรึกษาจิตเวช Online ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ สะดวกสบายไม่ต้องเดินทาง 
ประหยัดค่าใช้จ่าย มีความเป็นส่วนตัว กรณีแพทย์มีการจ่ายยา ส่งยาให้ถึงที่บ้าน
สามารถปรึกษาได้ทุกวัน เวลา 16.00 - 19.30 น.
   
** จองนัดหมายล่วงหน้าก่อนรับบริการ **
   
โดยทีมจิตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ 
นพ.พงศ์พิสุทธิ์ พูนสวัสดิ์พงศ์
นพ.ธนวัฒน์ ขุราษี
   
สามารถปรึกษาปัญหาต่างๆ
• โรคซึมเศร้า
• โรคไบโพลาร์
• โรคเครียด
• โรคจากการใช้สุราและสารเสพติด
• โรคแพนิค
• ภาวะนอนไม่หลับ
• ภาวะปรับตัว
   
เมื่อสุขภาพจิตดีขึ้น บางคนหลังพูดคุยกับจิตแพทย์ พบว่า
• มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น
• กล้าแสดงออกมากขึ้น
• มีสมาธิมากขึ้น
• รักตัวเองมากขึ้น
• มั่นใจในตัวเองมากขึ้น
• มีความสุขขึ้น
• จัดการเรื่องส่วนตัวและงานได้ดีขึ้น
 
 

     คลินิกสุขภาพจิตของ KIN ให้ความสำคัญกับคนไข้ที่มีความผิดปกติทางจิตเวช เพราะการที่เราพบจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง จะทำให้เราได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ทางคลินิกมีบริการตรวจวินิจฉัยและบำบัดอาการผิดปกติเหล่านั้นโดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

      ความตึงเครียดจากการดำเนินชีวิตอันเร่งรีบในสภาพสังคมที่กดดันในปัจจุบันนี้อาจส่งผลกระทบต่อภาวะอารมณ์และจิตใจของหลายคน และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการป่วยทางจิต และโรคทางจิตเวชมากมาย หากพบว่าตนเองมีอาการไม่ปกติ เช่น มีความเครียด นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร สมาธิสั้น โรคซึมเศร้า หรือมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกไปจากเดิม ควรรีบปรึกษาแพทย์เพราะอาจจะเป็นอาการบ่งบอกถึงการเกิดโรคทางจิตเวชได้ คลินิกสุขภาพจิตของ KIN ให้บริการตรวจวินิจฉัยและบำบัดอาการผิดปกติเหล่านั้นโดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาทิ

 

  • โรคเครียด
  • โรควิตกกังวล
  • โรคแพนิก (Panic Disorder)
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia)
  • โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder)
  • โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)
  • โรคสมองเสื่อม (Dementia)
  • โรคซึมเศร้า (Depression)
  • โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobias)

 

 

เรามารู้จักกันว่าโรคเหล่านี้จะมีอาการอย่างไรและเป็นอย่างไร

       ปัจจุบันคนที่ป่วยด้วยโรคจิตเวชมีไม่น้อย มีทั่งผู้ป่วยรู้ตัวว่าตนเองป่วย และไม่รู้ตัวว่าตัวเองป่วย ที่สำคัญไปกว่านั้น ผู้ป่วยบางรายยังสับสนในอาการป่วยทางจิตเวชบางโรค และเข้าใจผิดคิดว่าตนเองป่วยเป็นโรคทางกาย แต่เมื่อทำการตรวจร่างกายจะไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด จึงจำเป็นต้องให้ความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเวช เพื่อให้ผู้ป่วยได้สังเกตตนเอง รวมถึงการสังเกตคนรอบข้างว่าเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยหรือไม่ สู่การรับมือและการรักษาที่ถูกต้อง

       โรคจิตเวช คือกลุ่มอาการทางจิตใจหรือพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยมีความบกพร่องในกิจวัตรต่าง ๆ หรือเกิดความทุกข์ทรมาน ทำให้อาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต โดยโรคจิตเวชที่พบบ่อยการสังเกตอาการคนรอบข้างรวมถึงตัวเองเกี่ยวกับโรคจิตเวชเป็นเรื่องสำคัญ หากพบความผิดปกติหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์เพื่อวางแผนรักษาก่อนอาการรุนแรง

 

 

โรคสมองเสื่อม (Dementia) คือภาวะการทำงานของสมองแย่ลงจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน โดยจะไม่สามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ได้ หลงลืมง่าย โดยโรคนี้จะมีลักษณะคือไม่สามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ได้ หรือสามารถเล่าเรื่องในอดีตได้

   โดยจะพบมากในผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป มีทั้งแบบรักษาหายและไม่หายขาด โดยกลุ่มที่รักษาหายขาดได้ เช่น น้ำคั่งในโพรงสมอง เนื้องอก เลือดออกในสมอง โรคของต่อมไทรอยด์ ขาดวิตามินบี 12 ติดเชื้อซิฟิลิสในสมอง การเกิดภูมิคุ้มกันต่อตัวเอง หรือการใช้ยาบางชนิด นอกจากนี้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจมีอาการหลงลืมง่าย (Pseudodementia) ซึ่งสามารถหายได้เมื่อรักษาโรคซึมเศร้าหาย ส่วนในกลุ่มที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคที่พบบ่อย คือ อัลไซเมอร์ หลอดเลือดสมองตีบ

 

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 

     

 

 

โรคซึมเศร้า (Depression) 

 

โรคซึมเศร้า อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการหดหู่ ท้อแท้ เบื่อหน่าย สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่าหรือเป็นภาระของผู้อื่น สมาธิแย่ลง หลงลืมง่าย เหม่อลอย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวดหัว บางรายอาจไม่รู้สึกเศร้าแต่จะเบื่อหน่ายทุกอย่างรอบตัวและไม่รู้จะอยู่ต่อไปเพื่ออะไร หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง หากมีอาการของโรคซึมเศร้านานเกิน 2 สัปดาห์  ควรพบแพทย์เพื่อประเมินว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

 

อาการของโรคซึมเศร้า

อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป      

– เศร้า หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย

ความคิดเปลี่ยนแปลง       

– มองทุกอย่างแย่ไปหมด รู้สึกไร้คุณค่าในตนเอง หรือคิดว่าตนเองเป็นภาระของผู้อื่น มองเห็นแต่ ความผิดพลาดของตนเอง รู้สึกสิ้นหวัง อาจมีความคิดอยากตาย

สมาธิความจำแย่ลง         

– หลงลืมง่าย จิตใจเหม่อลอย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

มีอาการทางร่างกายต่าง ๆ 

– อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว เมื่อยตัว

 

โรคแพนิก (Panic Disorder) เป็นโรคตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นจากระบบประสาทอัตโนมัติไวต่อสิ่งกระตุ้น จนเกิดอาการหายใจติดขัด หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ จุกแน่น คล้ายจะเป็นลมหรือเหมือนกับจะถึงชีวิต ซึ่งการเกิดครั้งแรกมักจะอยู่ในสถานการณ์ที่มีเรื่องกดดันหรือถูกกระตุ้นให้ตื่นตัว และจะมีอาการอีกเรื่อย ๆ เมื่อเจอกับสถานการณ์เดิม ๆ โดยแต่ละครั้งจะมีอาการประมาณ 10 – 20 นาที และหายเป็นปกติ แต่หากมีอาการแพนิกเกิดขึ้นแล้วมีอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น กังวลอยู่ตลอดเวลาว่าจะมีอาการแพนิกเกิดขึ้นอีก คุมตัวเองไม่ได้ หมกมุ่น พฤติกรรมเปลี่ยนอย่างชัดเจน ไม่กล้าไปไหนคนเดียว แนะนำควรรีบพบจิตแพทย์

 

โรคจิตเภท (Schizophrenia) ผู้ป่วยจะมีอาการหูแว่ว ประสาทหลอน โดยจะแสดงออกด้วยการพูดคนเดียว หัวเราะคนเดียว หลงผิดหรือหวาดระแวง หากมีอาการนานเกิน 6 เดือนแล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้การรักษายากขึ้นและผลการรักษาไม่ดี นัก โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ปัญาหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้คือ มักจะคิดว่าตนเองหาย โดยหยุดยาเองเป็นเวลานาน มากกว่า3-4 เดือน จำเป็นต้องเริ่มรักษาใหม่ตั้งแต่ต้นทั้งหมด

 

โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder) ซึ่งเป็นผลมาจากที่ผู้ป่วยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายหรือรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ทำให้เกิดความกลัวและกลัวว่าจะเกิดขึ้นซ้ำ จนมีอาการระแวง หวาดกลัว หรือตกใจง่าย ดังนั้นควรรีบพบจิตแพทย์เพื่อรักษา เพราะหากปล่อยไว้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

 

โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างซึมเศร้าและอารมณ์ดีเกินปกติ (ช่วงแมเนีย)  โดยในช่วงซึมเศร้าจะมีอาการหดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวังอาการเหมือนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เป็นแทบทุกวันและเป็นส่วนใหญ่ของวัน รวมถึงอาการจะคงอยู่นานหลายเดือนแล้วหายไปเหมือนคนปกติ ก่อนจะเข้าสู่ช่วงช่วงอาการแมเนีย ซึ่งอารามของแต่ละคนจะมี อารมณ์คึกคัก กระฉับกระเฉง อยากทำหลายอย่าง พลังงานเยอะ นอนน้อย ใจดี มนุษย์สัมพันธ์ดี อารมณ์ดี แต่มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ เช่นอยากจะทำอะไรจะทำทันที อยากจะไปไหนหรืออยากได้อะไรจะลงมือทำทันที ถ้าหากมีคนขัดใจจะฉุนเฉียวและไม่พอใจ

  

ลักษณะอาการช่วงซึมเศร้าของ โรคไบโพลาร์

  • มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวัน
  • มีความสนใจหรือความสุขในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดหรือแทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก น้ำหนักลดลงหรือ
  • เพิ่มขึ้นอย่างมีความสำคัญ เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารแทบทุกวัน
  • นอนไม่หลับ หรือจะนอนหลับมากเกินไป
  • กระสับกระส่ายหรือเชื่องช้า
  • อ่อนเพลีย
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดไปทุกอย่าง
  • คิดอยากตายอยู่เรื่อย ๆ

อาการช่วงแมเนียของ โรคไบโพลาร์

  • มีอารมณ์ครึกครื้น แสดงออกอย่างเต็มที่ หรือหงุดหงิดมากเกินปกติ
  • รู้สึกว่าตนเองเก่ง หรือมีความสำคัญมาก
  • ไม่ค่อยนอน และความคิดพรั่งพรู แล่นเร็ว
  • มีพลังเหลือล้น
  • วอกแวก สนใจไปทุกอย่าง
  • ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
  • พูดมากหรือพูดไม่หยุด
  • ไม่ตระหนักว่าตนเองผิดปกติไปจากเดิม

โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobias) คืออาการหวาดกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรงหรือสถานการณ์บางอย่าง เช่น กลัวความสูง กลัวความมืด กลัวสัตว์บางชนิด กลัวเลือด ซึ่งอาการที่แสดงออกมาจะเป็นไปในทางหลีกเลี่ยง และหนีการพบเจอสิ่งนั้น ๆ อย่างทันทีทันใด ในรายที่รุนแรงอาจหวาดกลัวแม้เป็นเพียงการเอ่ยถึงหรือพบเจอสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกัน

        สังเกตคนรอบข้างที่มีอาการเกี่ยวข้องกับโรคจิตเวชเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าหากพบความผิดปกติของคนรอบข้าง ที่ พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม มีปัญหากับการใช้ชีวิต จนไปถึงเพื่อนรวมการและครอบครัว ลองให้คำปรึกษาก่อน หากพบว่าไม่ดีขึ้น ควรพาไปพบแพทย์

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ศ. นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ติดต่อเรา (Contact)

สนใจสอบถามข้อมูล และ ติดตาม KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare

Line

@Kinrehab

Call

091-803-3071

Call

095-884-2233

Rehabilitation & Homecare

wellcome to kin

KIN Rehabilitation

Welcome to "KIN" (คิน) ศูนย์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุครบวงจร KIN “Caring is the best medicine”    Watch Vid... 

อ่านต่อ...

ห้องเดี่ยว VIP

KIN Rehabilitation

ค่าบริการห้องพักห้อง เดี่ยว VIP (VIP Single Room)       สอบถามข้อมูล และจองคิวกายภาพบำบัด    ... 

อ่านต่อ...

คลินิกกายภาพบำบัด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation)

KIN Rehabilitation

       "กายภาพบำบัด" เพื่อรักษาอาการปวดเรื้อรังรักษาหายได้โดยไม่ต้องใช้ยา บริการด้วยเครื่องมือทันสมัย เล... 

อ่านต่อ...

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ผู้สูงอายุ สถานดูแลผู้สูงอายุ เนอร์สซิ่งโฮม (Nursing Home) รับดูแลผู้สูงอายุ ระยะสั้น ระยะยาว

KIN Rehabilitation

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ KIN Nursing Home           ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เนอร์สซิ่งโฮม (Nursing Home) ดูแ... 

อ่านต่อ...

คลินิกโรคกระดูกและข้อ (Orthopedic Clinic)

KIN Rehabilitation

คลินิกโรคกระดูกและข้อ (Orthopedic Clinic)      โรคกระดูกและข้อ   โรคกล้ามเนื้อ   หมอนรองกระดูกทับเส... 

อ่านต่อ...

Twin Room

KIN Rehabilitation

        ห้องคู่ ห้องพักพิเศษ ช้้น 2   สิ่งอำนวยความสะดวก  LED SMART TV 40 นิ้ว  ... 

อ่านต่อ...

โรคกระดูกสันหลังคด ในเด็กและในผู้ใหญ่ (Scoliosis)

KIN Rehabilitation

โรคกระดูกสันหลังคด ในเด็กและในผู้ใหญ่ (Scoliosis)      สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ 20% เกิดจากตัวโรคที่ม... 

อ่านต่อ...

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) อาการ ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่

KIN Rehabilitation

    สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อในท่าทางซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เกิดอาการ ปวดหล... 

อ่านต่อ...

อาคารศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ (Nursing Home Building)

KIN Rehabilitation

อาคารศูนย์ฟื้นฟู Rehabilitation Building เป็นอาคารเหล็ก 2 ชั้น ตกแต่งแบบ Modern Loft สไตล์รีสอร์ท มีสวน สนามหญ้า อยู่บนอาคาร... 

อ่านต่อ...

เทคโนโลยีและนวัตกรรมสุขภาพ (Technology and innovation for health)

KIN Rehabilitation

เทคโนโลยีและนวัตกรรมสุขภาพ (Technology and innovation for health)       KIN – Rehabilitation & Home... 

อ่านต่อ...

การบำบัดทางศาสตร์พลังงาน เรกิ (霊気 / reiki)

KIN Rehabilitation

การบำบัดทางศาสตร์พลังงาน เรกิ (霊気 / reiki)     ความหมาย เรกิ (霊気 / reiki) คือ ศาสตร์การเยียวยาบำบัดด้วยพลังงาน (en... 

อ่านต่อ...

Sharing Room (ห้องรวม 6 เตียง)

KIN Rehabilitation

Sharing Room (ห้องรวม 6 เตียง)           ห้องรวม 6 เตียง ห้องพัก ช้้น 2 พื้นที่ขนาด 50 ตารางเม... 

อ่านต่อ...
KIN Rehab