โรคกระดูกทับเส้นประสาท

โรคกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated disc) 

 
 
 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้

เมื่อหมอนรองกระดูกเกิดการเสื่อมจะทำให้ความยืดหยุ่นลดน้อยลงเรื่อย ๆ หากเปลือกนอกมีการฉีกขาด เนื้อเยื่อของหมอนที่อยู่ข้างในก็จะสามารถเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาทที่อยู่รอบข้าง และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมาได้ สาเหตุ เช่น

  • การยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องบ่อยๆ
  • น้ำหนักตัวที่มากเกินไป
  • นั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องนานๆ
  • อุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง

 

อาการและแนวทางการดำเนินโรค

อาการที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับมีได้ 3 รูปแบบ คือ อาการปวด อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ หรืออาการชา

อาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาทมีส่วนคล้ายกับโรคโพรงประสาทตีบแคบอยู่มากเนื่องจากเป็นอาการของเส้นประสาทที่โดนกดทับเหมือนกัน ส่วนที่ต่างกันคือ โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนมักจะมีอาการปวดเฉียบพลันและรุนแรงกว่า เนื่องจากมีการอักเสบรุนแรงเกิดขึ้นรอบเส้นประสาท ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรงมากจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองหรือทำกิจวัตรประจำวันได้เลย

  • อาการที่คอ : ปวดคอบ่า ร้างลงแขน อาการที่คอเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง อาจจะมีชา หรืออ่อนแรงร่วมด้วย
  • อาการที่หลัง : ปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้าซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด
  • อาการที่ขา : อาการแสดงที่ขามีได้ 3 แบบ คือ อาการปวด ชา หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ

 

อาการปวดหรือชาขาที่เกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีลักษณะคือ มีอาการตามแนวที่เส้นประสาทวิ่งไป สามารถปวดได้ตั้งแต่บริเวณเอว ต้นขา น่อง ไปจนถึงบริเวณเท้าและนิ้วเท้าได้ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อก็มีลักษณะคล้ายอาการปวดและชา คือจะมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อมัดที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทเส้นที่ถูกกดทับนั้น

 

วิธีการรักษา

  1. การรักษาด้วยตัวเอง
    • ปรับพฤติกรรม ไม่ก้มๆ เงยๆ ไม่ยกของหนัก ลดน้ำหนัก
    • ออกกำลังกายเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว
    • ลดอักเสบโดยประคบร้อนหรือเย็น
  2. การรักษาทางกายภาพบำบัด
    • การรักษาด้วยมือนักกายภาพบำบัด (Manual Technique)
    • การรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น
      • อัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)
      • การกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical stimulation)
      • เลเซอร์ (Laser)
      • คลื่นกระแทก (Shock wave)
      • คลื่นสั้น (Short wave)
    • ดึงหลังด้วยเครื่อง (Traction)
    • ประคบร้อน เย็น
    • การออกกำลังกายเพื่อการรักษา (Therapeutic exercise)
    • ปรับพฤติกรรมที่จะทำให้มีกดทับเส้นประสาทมากกว่าเดิม
  3. แนวทางการรักษาทางด้านอื่นๆ
    • รับประทานยาแก้อักเสบหรือยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวด
    • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
    • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
    • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์
    • การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกโดยใช้คอมพิวเตอร์นำวิถี
    • ฝังเข็ม

 

การป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีกของโรคนี้

  • หลีกเลี่ยงการนั่ง ยืน เดิน เป็นระยะเวลานานๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ทุกๆ ชั่วโมง
  • ใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี เช่น การยืนควรยืนให้น้ำหนักตัวค่อนมาทางส้นเท้า แขม่วท้อง อกผาย ไหล่ผึ่ง หากนั่งจะต้องนั่งหลังตรงหรือแอ่นน้อยที่สุด ที่นั่งต้องรองรับก้นและโคนขาทั้งหมด ความสูงต้องพอดีที่ฝ่าเท้าวางเต็มที่
  • ไม่ควรก้มตัวลงไปยกของหนัก แต่ต้องย่อตัวนั่งลงกับพื้นก่อนยกของให้ชิดตัว แล้วลุกด้วยกำลังขา
  • หากนอนหงายควรใช้หมอนข้างใบใหญ่หนุนที่โคนขา ซึ่งจะช่วยให้กระดูกสันหลังแบนราบ แต่หากนอนตะแคง ควรนอนให้ขาล่างเหยียดตรง ขาที่อยู่ด้านบนงอ สะโพกและเข่ากอดหมอนข้างไว้
  • ลดน้ำหนักให้สมดุลกับร่างกาย
  • งดสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
  • หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ โดยบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังแข็งแรง สามารถช่วยพยุงให้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ แต่อย่าลืมวอร์มอัพก่อนออกกำลังกาย เพื่อยืดกล้ามเนื้อ ป้องกันอาการบาดเจ็บ
 
 
 
    

ติดต่อเรา (Contact)

สนใจสอบถามข้อมูล และ ติดตาม KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare

Line

@Kinrehab

Call

091-803-3071

Call

095-884-2233

Rehabilitation & Homecare

คลินิกเฉพาะทางโรคสมองและระบบประสาท

KIN Rehabilitation

คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Clinic) คลินิกเฉพาะทางโรคสมอง และระบบประสาท ฟื้นฟูอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมอง ด้วยเทคโนโ... 

อ่านต่อ...

ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง KIN Stroke Center เส้นเลือดในสมองตีบ เส้นเลือดในสมองแตก

KIN Rehabilitation

ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง KIN Stroke Center                โรคหลอดเลือดสมอง... 

อ่านต่อ...

ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและดูแลผู้สูงอายุ โรงพยาบาลกายภาพบำบัด คินออริจิ้น Kin Origin Healthcare Center

KIN Rehabilitation

  Kin Origin Healthcare Center           ศูนย์ดูแลด้านสุขภาพเพื่อการฟื้นฟูร่างกายอย่างครบวงจร... 

อ่านต่อ...

เทคโนโลยีและนวัตกรรมสุขภาพ (Technology and innovation for health)

KIN Rehabilitation

เทคโนโลยีและนวัตกรรมสุขภาพ (Technology and innovation for health)       KIN – Rehabilitation & Home... 

อ่านต่อ...

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ผู้สูงอายุ สถานดูแลผู้สูงอายุ เนอร์สซิ่งโฮม (Nursing Home) รับดูแลผู้สูงอายุ ระยะสั้น ระยะยาว

KIN Rehabilitation

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ KIN Nursing Home           ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เนอร์สซิ่งโฮม (Nursing Home) ดูแ... 

อ่านต่อ...

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease)

KIN Rehabilitation

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease)     สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ ? โรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง โดย... 

อ่านต่อ...

โรคกระดูกทับเส้นประสาท

KIN Rehabilitation

โรคกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated disc)        สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ เมื่อหมอนรองกระดูกเกิดกา... 

อ่านต่อ...

บุคลากร แพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา ทีมพยาบาล

KIN Rehabilitation

บุคลากร (Our Team)       แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ           แพทย์เฉพาะทางด้านโรคกระดูกและข้... 

อ่านต่อ...

โรคกระดูกสันหลังคด ในเด็กและในผู้ใหญ่ (Scoliosis)

KIN Rehabilitation

โรคกระดูกสันหลังคด ในเด็กและในผู้ใหญ่ (Scoliosis)      สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ 20% เกิดจากตัวโรคที่ม... 

อ่านต่อ...

โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดสมองแตก

KIN Rehabilitation

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)                            ... 

อ่านต่อ...

ห้องเดี่ยว VIP

KIN Rehabilitation

ค่าบริการห้องพักห้อง เดี่ยว VIP (VIP Single Room)       สอบถามข้อมูล และจองคิวกายภาพบำบัด    ... 

อ่านต่อ...

เครื่องบริหารกล้ามเนื้อไหล่หน้าอก และปีกหลัง (Pec Deck)

KIN Rehabilitation

  เครื่องบริหารกล้ามเนื้อไหล่ หน้าอก และปีกหลัง (Pec Deck) เครื่องบริหารกล้ามเนื้อไหล่ หน้าอกและปีกหลัง เป็นการฝึกกล้าม... 

อ่านต่อ...
KIN Rehab