โรคกระดูกสันหลังคด ในเด็กและในผู้ใหญ่ (Scoliosis)

โรคกระดูกสันหลังคด ในเด็กและในผู้ใหญ่ (Scoliosis)

 
  

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้

20% เกิดจากตัวโรคที่มีการเจริญเติบโตของกระดูกสันหลัง ระบบประสาท ระบบกระดูกหรือกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ เช่น

  1. โรคกระดูกสันหลังคดตั้งแต่แรกเกิด (Congenital Scoliosis) เนื่องจากขณะแม่ตั้งครรภ์ตัวอ่อนในครรภ์มีกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ
  2. โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคทางระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ (Neuromuscular Scoliosis) เช่น โรคกล้ามเนื้อโตมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อกระดูกสันหลังฝ่อลีบ เป็นต้น

 

80% ไม่ทราบสาเหตุ แต่มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคคือเรื่องของพฤติกรรม การใช้งานร่างกาย

  1. โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) มักเกิดจากการมีความยาวของเข่าไม่เท่ากัน คือ ขาข้างหนึ่งสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในวัยต่าง ๆ ได้แก่
    • โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยทารก (Infantile Idiopathic Scoliosis) ก่อนอายุ 3 ปี
    • โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยเด็ก (Juvenile Idiopathic Scoliosis) อายุระหว่าง 4 – 10 ปี
    • โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น (Adolescent Idiopathic Scoliosis) อายุระหว่าง 10 – 18 ปี พบมากที่สุด
  2. โรคกระดูกสันหลังคดจากท่าทางที่ผิด (Functional Scoliosis) เกิดจากความผิดปกติตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน กล้ามเนื้อหดเกร็ง การบาดเจ็บ
  3. โรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อม (Degenerative Lumbar Scoliosis) มักพบในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ จากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังที่ใช้งานเป็นเวลานาน

 

อาการและแนวทางการดำเนินโรค

อาการและความรุนแรงของกระดูกสันหลังคดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สามารถสังเกตได้เบื้องต้น ดังนี้

  • ไหล่ทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
  • แผ่นหลังหรือหน้าอกนูนไม่เท่ากัน
  • มองเห็นกระดูกสันหลังคดงอชัดเจน
  • ลำตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
  • สะโพกสองข้างไม่เท่ากัน
  • นอกจากนี้อาจมีอาการปวดหลัง ปวดท้อง เจ็บซี่โครง กล้ามเนื้อหดตัว เป็นต้น แต่หากอาการรุนแรงจะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและปอด ทำงานได้ไม่เต็มที่ เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด

 

วิธีการรักษา

  1. การรักษาด้วยตัวเอง
    • การออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม
    • การใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อมีอาการ
    • การรักษาทางกายภาพบำบัด
    • การสอนการจัดท่าในการใช้ชีวิตประจำวัน การนั่ง การนอน การทรงตัว
    • การฝึกการหายใจให้ถูกต้องเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด
    • การออกกำลังกายด้วยวิธีีเฉพาะที่เหมาะสมเพื่อช่วยรักษาให้กระดูกสันหลังกลับเข้าสู่แนวเดิม หรือให้ใกล้เคียงแนวปกติให้มากที่สุด การรักษาจะจำเพาะแตกต่าง กันไปขึ้นอยู่กับแต่ละคน และการให้การรักษานี้ควรเป็นนักกายภาพบำบัดที่ได้รับการอบรมเฉพาะทางเกี่ยว กับโรคกระดูกสันหลังคด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุด
  2. การรักษาด้วยกระบวนการทางการแพทย์
    • การใส่เสื้อเกราะดัดหลัง (Brace) แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเด็กที่ยังมีการเจริญเติบโตของกระดูก หรือมีอาการกระดูกสันหลังคดในระดับปานกลาง
    • สวมเสื้อเกราะดัดหลัง (Brace) ที่จะช่วยป้องกันกระดูกไม่ให้เกิดความคดงอมากขึ้น
    • การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Spinal Fusion) อาการกระดูกสันหลังคดที่รุนแรงมักเกิดขึ้นตามระยะเวลาของอาการ แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อลดการคดงอของกระดูกและป้องกันอาการรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ศัลยแพทย์จะยึดกระดูกชิ้นเล็ก ๆ เข้ากับแนวกระดูกสันหลัง โดยใช้ชิ้นส่วนกระดูกหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกับกระดูก เหล็กดาม ตะขอ และนอต เพื่อตรึงไว้ด้วยกัน
  3. การรักษาตามสาเหตุที่ทำให้กระดูกสันหลังคด

    กระดูกสันหลังคดบางชนิดอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติในระบบประสาทไขสันหลัง การติดเชื้อ หรือมีเนื้องอกของกระดูก เมื่อรักษาที่ต้นเหตุแล้ว ความคดงอของกระดูกก็อาจหายดีขึ้นได้

 

การป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีกของโรคนี้

ปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงท่าทางที่กระตุ้นต่อการเกิดกระดูกสันหลังคดหมั่นสังเกตร่างกายตนเองอยู่เสมอ

    

ติดต่อเรา (Contact)

สนใจสอบถามข้อมูล และ ติดตาม KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare

Line

@Kinrehab

Call

091-803-3071

Call

095-884-2233

Rehabilitation & Homecare

โรคกระดูกสันหลังคด ในเด็กและในผู้ใหญ่ (Scoliosis)

KIN Rehabilitation

โรคกระดูกสันหลังคด ในเด็กและในผู้ใหญ่ (Scoliosis)      สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ 20% เกิดจากตัวโรคที่ม... 

อ่านต่อ...

บริการของ “KIN” (คิน)

KIN Rehabilitation

บริการของเรา (Programs)     “KIN” (คิน) คือ ศูนย์ดูแลด้านสุขภาพเพื่อการฟื้นฟูร่างกายอย่างครบวงจร ประกอ... 

อ่านต่อ...

อาคารศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ (Nursing Home Building)

KIN Rehabilitation

อาคารศูนย์ฟื้นฟู Rehabilitation Building เป็นอาคารเหล็ก 2 ชั้น ตกแต่งแบบ Modern Loft สไตล์รีสอร์ท มีสวน สนามหญ้า อยู่บนอาคาร... 

อ่านต่อ...

คลินิกเฉพาะทางโรคสมองและระบบประสาท

KIN Rehabilitation

คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Clinic) คลินิกเฉพาะทางโรคสมอง และระบบประสาท ฟื้นฟูอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมอง ด้วยเทคโนโ... 

อ่านต่อ...

ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง KIN เส้นเลือดในสมองตีบ เส้นเลือดในสมองแตก

KIN Rehabilitation

ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง KIN Stroke Center              โรคหลอดเลือดสมอง หรือ S... 

อ่านต่อ...

การบำบัดทางศาสตร์พลังงาน เรกิ (霊気 / reiki)

KIN Rehabilitation

การบำบัดทางศาสตร์พลังงาน เรกิ (霊気 / reiki)     ความหมาย เรกิ (霊気 / reiki) คือ ศาสตร์การเยียวยาบำบัดด้วยพลังงาน (en... 

อ่านต่อ...

หน้าแรก

KIN Rehabilitation

Welcome to "KIN" (คิน) ศูนย์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุครบวงจร KIN “Caring is the best medicine”    Watch Vid... 

อ่านต่อ...

ค่าบริการห้องพัก

KIN Rehabilitation

ค่าบริการห้องพัก (Room Rate) สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู และนัดดูสถานที่           ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคห... 

อ่านต่อ...

เครื่องบริหารกล้ามเนื้อไหล่หน้าอก และปีกหลัง (Pec Deck)

KIN Rehabilitation

  เครื่องบริหารกล้ามเนื้อไหล่ หน้าอก และปีกหลัง (Pec Deck) เครื่องบริหารกล้ามเนื้อไหล่ หน้าอกและปีกหลัง เป็นการฝึกกล้าม... 

อ่านต่อ...

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ปวดขา ปวดเข่า ปวดส้นเท้า เอ็นหัวเข่าฉีก

KIN Rehabilitation

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ปวดขา ปวดเข่า ปวดส้นเท้า เอ็นหัวเข่าฉีก (Sports Injuries)      สาเหตุที่ทำให้เกิดอ... 

อ่านต่อ...

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เนอสซิ่งโฮม (Nursing Home) รับดูแลผู้สูงอายุ ระยะสั้น ระยะยาว

KIN Rehabilitation

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ KIN Nursing Home           ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุลาดพร้าว เนอร์สซิ่งโฮม สถานพักฟื้... 

อ่านต่อ...

Twin Room

KIN Rehabilitation

        ห้องคู่ ห้องพักพิเศษ ช้้น 2   สิ่งอำนวยความสะดวก  LED SMART TV 40 นิ้ว  ... 

อ่านต่อ...
KIN Rehab