ทำยังไงถึงจะได้เงินค่าเลี้ยงผู้สูงอายุ 3,000 บาท
19 เม.ย. 67 นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการประกาศระเบียบกรมกิจการผู้สูงอายุ ว่าด้วยการคุ้มครองผู้สูงอายุแบบครอบครัวอุปถัมป์ พ.ศ. 2566 ด้วยกรมกิจการผู้สูงอายุ มีภารกิจเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนผู้สูงอายุในด้านต่างๆ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ และการสร้างความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมตามนโยบายรัฐบาล อีกทั้ง เพื่อตอบสนองผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่มีความต้องการอยู่กับครอบครัว ชุมชนและสังคม จึงมีการสนับสนุนงบประมาณให้ลูกหลานที่ต้องลาออกมาดูแล เครือญาติ หรือคนในชุมชนที่ดูแลผู้สูงอายุเปราะบางแล้วไม่มีใครดูแล เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเข้าไปอยู่ในศูนย์พัฒนาการและสวัสดิการสังคม
นายคารม กล่าวว่า “ครอบครัวอุปถัมภ์” หมายความว่า บุคคลหรือครอบครัวที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ให้เป็นครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน และไม่มีผู้ดูแลหรือ มีแต่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้ การคุ้มครองตามระเบียบนี้ ผู้สูงอายุต้องยินยอมเป็นหนังสือตามแบบที่อธิบดีกำหนด กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถให้การยินยอมได้ ให้นักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้รวบรวมข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการการขอคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุให้ขอได้เพียงคราวละหนึ่งคน หากจะรับมากกว่านั้น ให้ระบุเหตุผล และความจำเป็นที่จะต้องรับผู้สูงอายุไว้คุ้มครองดูแลมากกว่าหนึ่งคน
สำหรับคนที่กำลังดูแลผู้สูงอายุ และจะลงทะเบียนเพื่อรับเงินค่าดูแลผู้สูงอายุ จากโครงการ “ครอบครัวอุปถัมภ์” มาดูกันว่าสิ่งที่ได้รับมีอะไรบ้าง ต้องเตรียมอะไร เรามาดูเงื่อนไข และสิ่งที่ต้องเตรียมกันค่ะ
สิ่งที่ได้รับ
- เงินค่าดูแลผู้สูงอายุ 2,000 บาท ต่อเดือน / ผู้สูงอายุ 1 ท่าน จนกว่าผู้สูงอายุจะเสียชีวิต หรือยกเลิกให้การคุ้มครอง
- หากครอบครัวใดมีเหตุจำเป็น และเหมาะสมที่จะได้รับเงินเพิ่ม จะได้รับค่าดูแลผู้สูงอายุ 3,000 บาท / ผู้สูงอายุ 1 ท่าน จนกว่าผู้สูงอายุจะเสียชีวิต หรือยกเลิกให้การคุ้มครอง
เงื่อนไขการขอคุ้มครอง
- ขอคุ้มครองผู้สูงอายุได้ ครั้งละ 1 คน (หากต้องการเพิ่มเติมให้ระบุในเหตุจำเป็น)
- ผู้สุงอายุต้องยินยอมเป็นหนังสือตามแบบที่อธิบดีกำหนด
- หากผู้สูงอายุไม่สามารถให้การยินยอมได้ ให้นักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้รวบรวมข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ
คุณบัติในการขอเป็นครอบครัวอุปถัมภ์
- ต้องมีสัญญาณไทย
- ต้องมีอายุ 18 ปี ขึ้นไป หากอายุไม่ถึงจะได้รับพิจารณาถึงเหตุจำเป็น
- มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และต้องพักอายุอยู่ในบริเวรเดียวกับผู้สูงอายุ
- ได้รับการยินยอมจากสมาชิกในครอบครัว ว่าสามารถดูแลผู้สุงอายุได้
ต้องไม่เป็นผู้ต้องหา หรืออยู่ในการพิจารณาคดีของศาล หรืออยู่ในระหว่างการสอบสวน
วิธีลงทะเบียนขอเป็น ครอบครัวอุปถัมภ์
ผู้ที่มีความประสงค์จะเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ สามารถยื่นคำร้องลงทะเบียนได้ ตามนี้สถานที่ดังนี้
- หากใครอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
- กรมกิจการผู้สูงอายุ
- ศูนย์พัฒนการจัดสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพ
- สำหรับผู้ที่อยู่ต่างจังหวัด
- สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ศพส.) ที่อาศัยในจังหวัดนั้น ๆ
เอกสารที่ใช้ในการยื่นเป็นครอบครัวอุปถัมภ์
- ทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวประเภทหนึ่งประเภทใดที่มีเลขประจ้าตัวประชาชน
- รูปถ่ายหน้าตรง ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 รูป ขนาดรูปติดบัตร 2 นิ้ว
หลักจากส่งเอกสารจะมีการไปเยี่ยมบ้านของผู้ยื่นค้าขอ และผู้สูงอายุ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ได้ข้อมูลประวัติบุคคล ครอบครัว บุคคลที่เกี่ยวข้อง สภาพความเป็นอยู่ และความเหมาะสม เพื่อพิจารณาคุณสมบัติและความเหมาะสมของผู้ขอเป็นครอบครัวอุปถัมภ์
*สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2567
หากใครสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์ 1111 ฟรี ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชนได้ 24 ชั่วโมง
ขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บไซต์รัฐบาลไทย และ GCC
หากต้องการหาศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ สนใจสอบถาม สามารถติดต่อ KIN Nursing Home ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุของเราได้ตามช่องทางด้านล่าง
KIN - Rehabilitation & Homecare
สาขา ลาดพร้าว 71
เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)
เวลาทำการ ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.
: KIN - Rehabilitation & Homecare
แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6
KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107
596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ
เวลาทำการ ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.
: Kin Origin Sukhumvit 107
แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk