ติดหวาน (Sugar Blues) เสี่ยง 8 โรค !

ติดหวาน (Sugar Blues) เสี่ยง 8 โรค !

 

  ปัจจุบันการรับประทานของหวาน ๆ มากเกินไปกลายเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ลุกลามเป็นวงกว้างมากขึ้น สังเกตได้จาก อาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่มหลายชนิดที่มีการเติมน้ำตาลลงไปในปริมาณมาก เช่น ชานมไข่มุก เค้ก ขนมไทยทองหยิบ ทองหยอด เป็นต้น ซึ่งปริมาณน้ำตาลที่มากเกินไปในอาหารและเครื่องดื่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ

 

โรคติดหวาน หรือภาวะเสพติดน้ำตาล (Sugar Blues) คือ เมื่อเราได้ทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ก็จะทำให้เกิดความพึงพอใจในรสชาติ ส่งผลให้สมองจดจำไว้ว่า ถ้าหากต้องการความพึงพอใจแบบนี้ ควรมีการดื่มหรือทานซ้ำอีกครั้ง การที่เราโหยหา อยากกินอะไรหวานๆอยู่ตลอด หากไม่ได้รับประทานจะเกิดความรู้สึกหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ขาดสมาธิและมีความโหยหาของที่มีรสชาติหวาน วันนี้ Kin จึงมาแนะนำวิธีสังเกตอาการติดหวานมีดังนี้

 

6 อาการติดหวาน (Sugar Blues)

  1. อยากกินแต่ขนมหวาน ผลไม้รสหวาน
  2. ไม่ได้กินของหวานแล้วรู้สึกไม่ดี เหนื่อย หงุดหงิด
  3. หิวบ่อย หรือมักนึกถึงอาหารอยู่เสมอ
  4. หลังอาหารทุกมื้อต้องตามด้วยของหวาน
  5. เติมน้ำตาลในอาหารคาวเกือบทุกจาน
  6. ดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน มากกว่า 1 แก้วต่อวัน

ติดหวาน (Sugar Blues) เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?

  1. โรคอ้วน
  2. โรคหัวใจ และหลอดเลือด
  3. โรคเบาหวาน
  4. โรคความดันโลหิตสูง
  5. โรคไขมันพอกตับ
  6. โรคกระดูกพรุน
  7. โรคมะเร็ง
  8. ฟันผุ

แก้พฤติกรรม ติดหวาน (Sugar Blues) ได้อย่างไร ?

  1. สังเกตปริมาณน้ำตาล และวัตถุดิบบนฉลากผลิตภัณฑ์ ทุกครั้งก่อนรับประทาน
  2. ไม่ปรุงนํ้าตาลในอาหารเพิ่มเติม
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหวาน และน้ำอัดลม
  4. ดื่มน้ำเปล่า หรือเครื่องดื่มที่ไม่ผสมน้ำตาล
  5. รับประทานผลไม้หวานน้อย เช่น ชมพู่ แตงโม ฝรั่ง
  6. หลีกเลี่ยงการบริโภคผลไม้แปรรูป เช่น กล้วยตาก มะม่วงแช่บ๊วย
  7. เพิ่มปริมาณผักใบเขียวในอาหาร เพราะมีส่วนช่วยชะลอการดูดซึมนํ้าตาล ส่งผลให้การควบคุมน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  8. ไม่ซื้อขนมตุนไว้ในตู้เย็น
  9. ไม่อดอาหาร รับประทานอย่างตรงต่อเวลา และถูกหลักโภชนาการ

ของหวานแม้จะอร่อย แต่หากกินมากไปก็อันตรายต่อร่างกาย หากเรากินแป้งหรือน้ำตาลมากเกินไป อาจเสี่ยง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ ถ้าปล่อยจนเรื้อรังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นตา ไตวาย ได้

สำหรับใครที่ชอบกินหวานมากๆ อาจไม่จำเป็นต้องหักดิบเลิกของหวานทันที ควรค่อย ๆ ลดปริมาณลงวันละนิด จนกว่าร่างกายจะปรับตัวกับความหวานที่น้อยลง เพื่อสุขภาพที่ดี

 

ขอขอบคุณข้อมูล : รพ.ศิครินทร์ ,รพ.เพชรเวช

 

 

หากต้องการหาศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ สนใจสอบถาม  สามารถติดต่อ KIN Nursing Home ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุของเราได้ตามช่องทางด้านล่าง

 

สามารถติดต่อ KIN Nursing Home ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุของเราได้ตามช่องทางด้านล่าง

 

 
 

KIN - Rehabilitation & Homecare 
สาขา ลาดพร้าว 71

เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : KIN - Rehabilitation & Homecare
 แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6

KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107

596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ 

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : Kin Origin Sukhumvit 107
 แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk


ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab