โรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์
 
โรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์
มุมมองของโรคสมองเสื่อม
แพทย์มองโรคสมองเสื่อมจาก 2 มุม
มุมที่ 1 ระดับความเสื่อมของสมอง แบ่งเป็น 3 ระดับ
สมองเสื่อมระดับเล็กน้อย (Mild cognitive impairment: MCI) คือ สูญเสียการทํางานของสมองในมิติใดมิติหนึ่ง หรือหลายมิติจากทั้ง 8 มิติ คือ
1. สติ (ที่จะทําหลายอย่างพร้อมกัน)
2. ความจํา
3. การพูด
4. การเข้าสังคม
5. การเคลื่อนไหว
6. การรับรู้สิ่งเร้า
7. การใช้ดุลพินิจ
8. การทํางานของระบบประสาทอัตโนมัติ โดยมีอาการ เช่น นึกชื่อคนไม่ออก ตั้งสติไม่ค่อยได้ สนใจอะไรต่อเนื่องไม่ติด
แพทย์จะวินิจฉัยโดยการให้ท่า แบบตรวจสอบ (MMSE) คนเป็นโรคระดับนี้จะทําได้คะแนนน้อยกว่า คนทั่วไป แต่ทั้งหมดนี้ผู้ป่วยยังทํากิจวัตรประจําวันด้วยตนเองได้ตามปกติ
สมองเสื่อมระดับปานกลาง วินิจฉัยเอาจากเกณฑ์การสูญเสีย ความสามารถในการใช้อุปกรณ์จําเป็นประจําวัน (Instrumental activity daily living: IADL) อย่างใดอย่างหนึ่งใน 7 นี้ ไม่ได้ คือ
1. อยู่คนเดียว ไม่ได้ เพราะใช้อุปกรณ์สื่อสารทางไกล เช่น โทรศัพท์ เฟซบุ๊ก ไลน์ ไม่เป็น
2. ขนส่งตัวเอง (Transportation) ไม่ได้ ขึ้นรถเมล์ไม่เป็น ขับรถเองก็ไม่ได้
3. เตรียมอาหารเองไม่ได้ ต้องอาศัยคนอื่นทําอาหารให้
4. จ่ายตลาด (Shopping) เองไม่ได้
5. ดูแลห้องหับที่อยู่ตัวเองไม่ได้
6. บริหารยา ของตัวเองไม่ได้
7. บริหารเงินของตัวเองไม่ได้ จ่ายบิลต่างๆ เช่น ประปา ไฟฟ้า อินเทอร์เน็ต บัตรเครดิต โอนเงิน ไม่เป็น
สมองเสื่อมระดับรุนแรง วินิจฉัยเอาจากเกณฑ์การสูญเสีย ความสามารถในการทํากิจวัตรจําเป็นประจําวัน (Activity daily living: ADL) อย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 อย่างนี้ คือ
1. อาบน้ำ แปรงฟันเองไม่ได้ (Personal hygiene)
2. แต่งตัวเองไม่ได้
3. กินเองไม่ได้
4. ขับถ่ายเอง ไม่ได้
5. เดินเองไม่ได้

มุมที่ 2 โรคพื้นฐานที่ทําให้สมองเสื่อม มี 4 โรคใหญ่ๆ
1. โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) เป็น 70% ของคนไข้สมองเสื่อมทั้งหมด นิยาม ว่าคือภาวะที่สมองเกิดมีแป้งชนิดอะไมลอยด์มาพอกตามเนื้อสมอง เรียกว่า Senile plaques หรือ SPs ร่วมกับการที่กิ่งก้านสาขาของเซลล์สมองที่ปกติจะเรียงกันเป็นระบบระเบียบอย่างดีเรียกว่า ไมโครทิวบูล (Microtubule) กลายสภาพเป็นเหี่ยวย่นแตกกระเจิดกระเจิงและ พันกันยุ่งยิ่ง เรียกว่า นิวโรไฟบริลลารีแทงเกิล (Neurofibrillary tangles: NFTs) ทําให้เซลล์สมองเสียหายล้มตายและหดเหี่ยวลง ตามมาด้วยอาการสมองเสื่อมก่อนวัยอันควร การวินิจฉัยโรคนี้ ให้แน่ชัดต้องรอตรวจชิ้นเนื้อสมองหลังเสียชีวิต แต่มีลางบอกว่า อาจจะเป็นโรคนี้จากผลตรวจ CT สมองพบความแน่นของ เนื้อสมองขาว (White matter) ลดลง และผลตรวจสมองด้วย คลื่นแม่เหล็ก (MRI) พบสัญญาณบอกความแน่น (T1, T2 signal) ลดลง
2. สมองเสื่อมเพราะโรคหลอดเลือด (Vascular dementia) ทําให้เนื้อสมองตายเพราะไม่มีเลือดไปเลี้ยง อาจ เกิดอาการเฉียบพลัน เช่น อัมพาตหรือช็อก หรืออาจเกิดเงียบๆ โดยไม่มีอะไรนำมาก่อนเลย
3. สมองเสื่อมแบบมีเม็ดลิวอี้ (Dementia with Lewy bodies) คําว่าลิวอี้นี้เป็นชื่อหมอคนที่พบว่าสมองเสื่อมแบบนี้ มีเม็ดโปรตีนเป็นก้อนอยู่ในเซลล์สมองก่อนแล้วเซลล์สมองก็ค่อยๆ ตายลง ต่อมาคนจึงเรียกว่าเม็ดลิวอี้ (Lewy bodies) หาก เม็ดพวกนี้ไปเกิดที่ฐานสมองก็จะมีอาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว คล้ายกับโรคพาร์กินสัน คือ สั้นๆ แข็งๆ ทื่อๆ หากไปเกิดที่เนื้อสมอง ก็มีอาการสูญเสียดุลพินิจหรือความคิดวินิจฉัย ซึ่งจัดว่าเป็นเอกลักษณ์ของโรคนี้
4. โรคเนื้อสมองส่วนหน้าและขมับฝ่อ (Frontotempo- ral dementia: FTD) เนื้อสมองส่วนหน้าและส่วนขมับฝ่อ หรือยุบตัวลงโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยที่หลอดเลือดสมองที่เลี้ยง ก็ยังปกติดี ทําให้เกิดอาการเริ่มต้นเหมือนคนเป็นโรคทางจิตเวช (บ้า) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีพฤติกรรมผิดปกติต่างๆ แต่ว่าการใช้ ความคิดวิเคราะห์ยังดีอยู่ แต่ต่อๆ ไปการทําหน้าที่ของสมองทุกส่วน ก็เสื่อมลงๆ

(ขอบคุณข้อมูลจาก :นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ และพญ.พิจิกา วัชราภิชาต, 2566, “Healthy Life Bible คัมภีร์สุขภาพดี สุขภาพดีได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง”, หน้า 230-231)

สนใจกระตุ้นระบบประสาทและสมอง ด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า TMS และ PMS

ติดต่อได้ที่

 

 
 
 

KIN - Rehabilitation & Homecare 
สาขา ลาดพร้าว 71

เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : KIN - Rehabilitation & Homecare
 แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6

KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107

596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ 

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : Kin Origin Sukhumvit 107
 แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk


ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab