การดูแล และฟื้นฟู ผู้ป่วยอัลไซเมอร์

การดูแล และฟื้นฟู ผู้ป่วยอัลไซเมอร์

 

ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษกว่าวัยอื่น ซึ่งแต่ละคนจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ไม่เท่ากัน บางคนมาก บางคนน้อย และบางคนอาจมีโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลและรักษา เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แตก โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอาการหลงๆลืมๆมีปัญหาเรื่องของความจำ จึงทำให้การดูแลผู้สูงอายุกลายเป็นเรื่องกังวลใจของหลายคน แต่ในความจริงแล้วหากดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวด้วยความรัก ความเข้าใจ ปฏิบัติอย่างถูกต้อง เหมาะสมและปลอดภัย การรับมือกับผู้สูงอายุที่มีอาการหลงๆลืมๆจะกลายเป็นเรื่องง่ายอีกต่อไป ซึ่งในวันนี้ทาง Kin จึงมีคำแนะนำในการดูแล และการฟื้นฟูผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องของความจำ มาให้ผู้รับบริการได้เรียนรู้ค่ะ/ครับ

 

การดูแล และการฟื้นฟูผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องของความจำ ( ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ )

1. ผู้ดูแล ญาติ คนรอบข้าง ต้องมีความเข้าใจถึงอาการที่เป็นอยู่ต่อผู้สูงอายุ
  • ไม่โกรธ โมโห หัวเราะ ถ้าผู้ป่วยทำอะไรไม่เหมาะสม
  • ไม่พยายามบังคับให้ผู้ป่วยทำหรือจำ ในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย
  • ถ้าผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลหงุดหงิด ควรหยุดพักหรือเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นทันที
  • ยืดหยุ่น ปรับตัว และยอมรับการเปลี่ยนแปลง
  • ลดความคาดหวังในตัวผู้สูงอายุที่สูงลง และหันมาคาดหวังที่สอดคล้องกับศักยภาพที่มีของผู้สูงอายุ
2. การสอนให้ช่วยเหลือและดูแลตนเอง

ตนเอง เช่น การใส่เสื้อผ้า การอาบน้ำ การใช้อุปกรณ์ ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ฯลฯ ควรสอนทีละขั้นตอนอาจมีการสาธิตให้ดูและให้ทำตามอย่างช้า ต้องกลับมาทำซ้ำหากผู้สูงอายุยังทำตามขั้นตอนนั้นยังไม่ได้ การพูดคุยหรือการสื่อสารควรทำอย่างช้าๆ ใช้คำพูดที่สั้นๆ น้ำเสียงที่ดังชัดเจนเพื่อป้องกันความสับสน ในบางครั้งอาจต้องจับมือให้ทำตามและแนะนำไปด้วย

 

3. การใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ช่วยจำ
  • กล่องรับประทานยาที่จัดยาที่เขียนระบุวันเวลารับประทานให้ชัดเจนหรืออาจจัดยาให้ตามเวลาที่กำหนดโดยแบ่งเป็นช่องๆ เรียงกันแล้วให้ผู้สูงอายุรับประทานยาตามที่กำหนดให้ได้ด้วยตนเอง
  • มีนาฬิกาติดตัวหรือปฎิทินพกพาเพื่อคอยกระตุ้นให้การรับรู้เรื่องวันเวลาแก่ผู้สูงอายุ
  • การจดบันทึกหรือทำตารางนัดหมายเป็นสิ่งที่ช่วยจำ ดังนั้นควรมีสมุดบันทึกหรืออุปกรณ์ที่ช่วยจดบันทึกไว้ติดตัวหรือติดที่ห้องพัก เพื่อช่วยในการเตือนความจำ
  • การอัดเทปเสียงก็เป็นวิธีหนึ่งในการช่วยให้จำในกรณีที่ต้องสนทนาหรือบอกประเด็นสำคัญที่จะต้องจำ เพื่อย้อนกลับมาฟังอีกครั้ง

4. กิจกรรมหรือเกมที่จะช่วยส่งเสริมความจำ
การมีกิจกรรมยามว่าง เช่น การสะสม การดูรูปเก่าๆ การจัดสวนปลูกต้นไม้ การท่องเที่ยว การเล่นเกมต่างๆ เช่น ไพ่ บอร์ดเกมต่าง หรือเกมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ จะช่วยให้ผู้สูงอายุนั้นสดชื่นและช่วยส่งเสริมความจำให้ดีขึ้น

 

5. การจัดสิ่งแวดล้อม

การจัดสิ่งแวดล้อมควรจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุและควรที่ลดการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยไม่ให้บ่อยครั้งเพื่อป้องกันความสับสนในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ

 

ขอขอบคุณข้อมูล : สันติ จันทวรรณ นักกิจกรรมบำบัดรพ.มนารมย์

 

หากระบบประสาทเกิดการผิดปกติ จนเกิดเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคลมชัก และโรคพาร์กินสัน กำลังรักษาอยู่ หรือหาที่ฟื้นฟู สามารถติดต่อสอบถามเราได้ที่

สนใจกระตุ้นระบบประสาทและสมอง ด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า TMS และ PMS

ติดต่อได้ที่

 

 
 
 

KIN - Rehabilitation & Homecare 
สาขา ลาดพร้าว 71

เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : KIN - Rehabilitation & Homecare
 แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6

KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107

596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ 

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : Kin Origin Sukhumvit 107
 แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk


ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab