ระบบประสาท (Nervous System)

ระบบประสาทเป็นเครือข่ายของเซลล์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปทั่วร่างกาย ระบบประสาทมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด ตั้งแต่การเต้นของหัวใจไปจนถึงการหายใจ ระบบประสาทยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับรู้ความรู้สึกต่างๆ เช่น การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การรับรส และการสัมผัส

 

ระบบประสาท (Nervous system)

  เป็นระบบที่ควบคุมการทำหน้าที่ของทุกระบบในร่างกาย  ทำให้ร่างกายสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มาจากภายนอก โดยประกอบด้วยอวัยวะ คือ สมอง (Brain)  สมองเล็ก (Cerebellum) เส้นประสาท (Nerves)  ไขสันหลัง (Spinal Cord)  ตา (Eyes)  หู (Ears) มีโครงสร้างพื้นฐานจากเซลล์ประสาทซึ่งทํางานในลักษณะเป็นเส้นทางให้กระแสประสาทวิ่งไปเหมือนสายไฟฟ้าเป็นทางให้ไฟฟ้าวิ่งไป ตัวเซลล์ มีนิวเคลียสเหมือนเซลล์ทั่วไป แต่มีตัวเซลล์ (Axon) ยาวเหมือนสายไฟฟ้าที่มีปลอกประสาทหุ้ม และมีกิ่งก้าน (Dendrite) จํานวนมากเพื่อเอากระแสประสาทไปส่งยังเป้าหมายต่างๆ การส่งผ่าน กระแสประสาทจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งต้องทําผ่าน

 

   ปุ่มปลายประสาท (Synapse) ซึ่งอาศัยสารเคมีหรือฮอร์โมน เชื่อมต่อ (Neurotransmitter) วิ่งผ่านปุ่มปลายประสาท ไปกระตุ้นให้เกิดกระแสประสาทที่อีกเซลล์หนึ่ง สารเคมีและ ฮอร์โมนเหล่านี้เป็นช่องทางให้วงการแพทย์ผลิตยาเลียนแบบเพื่อให้ไปออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทได้

 

ระบบประสาทแบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย คือ

  1. ระบบประสาทกลาง (Central nervous system) ประกอบด้วย สมอง สมองเล็ก และไขสันหลัง ทําหน้าที่เรียนรู้ จดจํา คิด วิเคราะห์ และรับรายงาน ความรู้สึกจากเส้นประสาทรับความรู้สึก (Sensory nerve) ที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย แล้วสั่งการไปยังเส้นประสาทการเคลื่อนไหว (Motor nerve) ให้ทํางาน

การทํางาน เรียนรู้ จดจํา และกลั่นกรองเอาอารมณ์ที่เป็นผลเสียทิ้งออกไปของสมองมีความแนบแน่นกับคุณภาพของการนอนหลับ กล่าวคือหากนอนหลับ ได้ไม่ลึก สมองจะสูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ จดจํา และหากการนอนหลับ ถูกกดให้มีระยะหลับฝัน (REM sleep) ลดน้อยลง เช่น ถูกกดด้วยยา จะทําให้สมอง สูญเสียความสามารถในการรับมือกับอารมณ์ลบเมื่อตื่นแล้ว

  2. ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system) ทํางานเองโดยไม่มีใครสั่ง มีระบบ การทํา งานพื้นฐานเป็นวงจรป้อนกลับอัตโนมัติ (Reflex) ตัวอย่างของวงจรแบบนี้ เช่น วงจรขยับหนีของแหลม เมื่อเกิดความเจ็บปวด ซึ่งเริ่มจากไปถูกของแหลมแล้วปลายประสาทรับความรู้สึกเจ็บจะส่งกระแสไฟฟ้ามาตามเส้นประสาทรับความรู้สึก ซึ่งไปถ่ายไฟฟ้าให้เส้นประสาท ตัวกลางตัวที่สองในไขสันหลัง ซึ่งจะถ่ายไฟฟ้าให้เส้นประสาท ตัวที่สามซึ่งเป็นเส้นประสาทสั่งการเคลื่อนไหว ไฟฟ้านี้ จะไปกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ปลายเส้นประสาทให้เคลื่อนไหว หนีสิ่งที่ทําให้เจ็บปวด ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องอาศัยการสั่งการจากสมองเลย

 

   ระบบประสาทอัตโนมัตินี้แบ่งการทํางานออกเป็น 2 ซีก คือ ซีกเร่ง (Sympathetic) และ ซีกหน่วง (Parasympathetic) ระบบประสาทอัตโนมัติควบคุมการทํางานของอวัยวะภายในของ ร่างกายทั้งหมด นั่นคือควบคุมระบบอวัยวะทั้ง 12 ระบบด้วย และเป็นระบบที่บริหารการตอบสนองต่อ ภาวะคุกคาม (Stressors) เมื่อมีสิ่งคุกคาม ระบบประสาท อัตโนมัติจะเตรียมร่างกายไว้พร้อมสําหรับการเผชิญภาวะคุกคามว่าจะสู้หรือจะหนี ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่าความเครียด (Stress) การอยู่ในความเครียดระยะสั้นเป็นผลดีที่ช่วย กระตุ้นให้ระบบของร่างกายเกิดควากระฉับกระเฉง แต่ หากอยู่ในความเครียดเรื้อรังจะเกิดผลเสียจากการที่ ความเครียดลดการทํางานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ทําให้ ร่างกายป่วยง่าย ติดเชื้อง่าย และเป็นมะเร็งง่าย

(ขอบคุณข้อมูลจาก : นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ และพญ.พิจิกา วัชราภิชาต, 2566, “Healthy Life Bible คัมภีร์สุขภาพดี สุขภาพดีได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง”, หน้า 272-273)

 

ระบบประสาทเป็นระบบที่ซับซ้อน และมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานของร่างกาย หากระบบประสาทเกิดความเสียหาย อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคลมชัก และโรคพาร์กินสัน หากไม่อยากเป็นโรคดังกล่าวควรดูแล และบำรุงระบบประสาทให้ดี และดูแลอย่างสม่ำเสมอ มีวิธีอะไรดูแลยังไงบ้างไปดูกัน

 

การดูแลระบบประสาท

มีหลายวิธีที่สามารถช่วยดูแลระบบประสาทให้มีสุขภาพดี ได้แก่

• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบประสาท เช่น ปลา ผัก ผลไม้ และธัญพืช
• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
• หลีกเลี่ยงความเครียด
• หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 
หากระบบประสาทเกิดการผิดปกติ จนเกิดเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคลมชัก และโรคพาร์กินสัน กำลังรักษาอยู่ หรือหาที่ฟื้นฟู สามารถติดต่อสอบถามเราได้ที่

สนใจกระตุ้นระบบประสาทและสมอง ด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า TMS และ PMS

ติดต่อได้ที่

 

 
 
 

KIN - Rehabilitation & Homecare 
สาขา ลาดพร้าว 71

เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : KIN - Rehabilitation & Homecare
 แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6

KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107

596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ 

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : Kin Origin Sukhumvit 107
 แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk


ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab