การเข้าสู่วัยสูงอายุ
ในมุมมองการดูแลผู้สูงวัย วงการแพทย์จัดระบบดูแลผู้สูงวัยนอกโรงพยาบาลเป็น 3 ระดับ คือ
1. ระยะไม่พึ่งพา (Independent living) อยู่คนเดียวได้ 100%
1. ความสามารถอยู่คนเดียว โดยอย่างน้อยต้องสามารถใช้โทรศัพท์มือถือหรือสามารถติดต่อคนอื่นด้วยวิธีใดๆ ยามจําเป็นได้
2. ความสามารถขนส่งตัวเอง (Transportation) ขับรถเป็น หรือขึ้นรถเมล์ได้ ว่าจ้างมอเตอร์ไซค์หรือรถสองแถวเองได้
3. ความสามารถทําอาหารเอง (Preparing meals) เริ่มตั้งแต่ การวางแผน จะกินอะไรบ้าง จะซื้ออะไร ขนของเข้าตู้เย็น หั่นหอม ซอยกระเทียม หุง ต้ม
4. ความสามารถจ่ายตลาดเอง (Shopping) จะซื้อของกิน ของใช้อะไรเข้าบ้านบ้าง ตัดสินใจเองได้ ทําเองได้
5. ความสามารถจัดการที่อยู่ของตัวเอง (Housework) ซักผ้า กวาดพื้น ถูพื้น ดูดฝุ่น เอาขยะไปเท เอาสัมภาระไปทิ้ง เพื่อให้บ้านตัวเองสะอาดอยู่เสมอ
6. ความสามารถบริหารยาด้วยตัวเอง (Managing medications) รู้ว่าตัวเองกินยาอะไรบ้าง แต่ละตัวกินเพื่ออะไร ขนาดที่ต้อง กินเท่าไร กินวันละกี่ครั้ง กินเมื่อใด มันมีผลข้างเคียง อะไรบ้าง เมื่อไรควรจะลดหรือหยุดยา และจัดยาไว้ ให้ตัวเองกินได้ถูกต้อง
7. ความสามารถบริหารเงินของตัวเอง (Managing personal finances) ใช้จ่ายไม่เกิน เงินที่ตัวเองมี จ่ายบิลต่างๆ เช่น ประปา ไฟฟ้า อินเทอร์เน็ต รับเงิน (ถ้ายังมีรายรับ) โอนเงิน ฝากเงิน และลงทุนทางการเงินได้เอง
- สุขศาสตร์ส่วนบุคคล (Personal hygiene) เช่น อาบน้ํา ล้างหน้า แปรงฟัน ตัดเล็บ หวีผม
- การแต่งตัว (Dressing) สวมเสื้อผ้า เลือกเสื้อผ้าเองได้อย่างเหมาะสม ทั้งตามกาละเทศะ และสามัญสํานึก
- การป้อนอาหารตัวเอง (Feeding) ก็คือกินอาหารได้เอง
- การขับถ่าย (Continence management) จัดการเรื่องขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ ได้เอง สามารถกั้นเมื่อควรอัน ปล่อยเมื่อควรปล่อย เข้าห้องน้ําเอง ใช้ห้องน้ําได้เอง
- การเดิน (Ambulating) การยันกายจากท่านอนลุกขึ้นนั่ง การลงจากเตียงเอง การลุก จากท่านั่งขึ้นยืน การเดินไปเดินมาได้เอง
ผู้มีสุขภาพดี หากฝึกฝนตนเองไว้ดี จะสามารถดูแลตัวเองให้อยู่ได้ด้วยตนเองแบบไม่พึ่งพาได้ ตลอดจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต โดยต้องขยันฝึกขยันทํากิจวัตร 7 + 5 ข้อข้างต้น ให้ได้ด้วยตนเอง
ทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกําลังกายต้องขยันทํามากกว่าตอนอยู่ในวัยหนุ่มสาว เพราะในคําแนะนําการออกกําลังกายของ ACSM/AHA ถ้าเป็นคนหนุ่มสาวแนะนําแค่ให้ออกกําลังกายแบบ แอโรบิกถึงระดับหนักพอควรสัปดาห์ละอย่างน้อย 150 นาที บวกเล่นกล้ามอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งก็ถือว่าพอแล้ว
แต่สําหรับผู้สูงอายุ นอกจากจะต้องออกกําลังกายเท่าคนหนุ่มสาวแล้วยังต้องฝึกการออกกําลังกาย แบบเสริมการทรงตัวทุกวัน ทุกที่ ทุกเวลา และต้องวางแผนกิจกรรมประจําวันเสียใหม่ให้มี การเคลื่อนไหวทั้งวันอีกด้วย งานวิจัยตามดูผู้หญิงชราชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในชุมชน จํานวน 1,003 คน แบบตามดูไปข้างหน้า โดยศึกษากิจกรรม 16 ชนิด ที่หญิงชราเหล่านี้เลือกทําเป็นประจํา เพื่อดูว่า กิจกรรมไหนจะสัมพันธ์กับการธํารงรักษาขีดความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวันที่จําเป็น (ADL) ไว้ได้นานที่สุด
หลังจากติดตามมา 8 ปี มีคนพิการง่อยเปลี้ยเสียขาทํากิจประจําวันไม่ได้เกิดขึ้น 130 คน (13%) เมื่อวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของกิจกรรมกับการสามารถทํากิจวัตรประจําวันที่จําเป็นได้นานที่สุด ก็พบว่ามีกิจกรรมเดียวที่ทําให้ ขีดความสามารถทํา ADL ได้ดีโดดเด่นเกินกิจกรรมอื่น นั่นก็คือ การเต้นรํา ดังนั้นผู้สูงอายุทุกคนควรฝึกเต้นรําและขยันเต้นรํา ทุกวัน เพราะนอกจากจะได้ออกกําลังกายแล้ว ยังได้ฝึก องค์ประกอบการทรงตัวทั้ง 5 ได้ครบ คือ สติ สายตา หูชั้นใน กล้ามเนื้อ และข้อ
(ขอบคุณข้อมูลจาก : นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ และพญ.พิจิกา วัชราภิชาต, 2566, “Healthy Life Bible คัมภีร์สุขภาพดี สุขภาพดีได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง”, หน้า 162-164)
บริการฝากดูแลผู้สูงอายุ
ราคาเริ่มต้น 35,000 บาท
KIN - Rehabilitation & Homecare
สาขา ลาดพร้าว 71
เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)
เวลาทำการ ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.
: KIN - Rehabilitation & Homecare
แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6
KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107
596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ
เวลาทำการ ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.
: Kin Origin Sukhumvit 107
แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk