การสูญเสียดุลยภาพของระบบประสาทอัตโนมัติคืออะไร?

การสูญเสียดุลยภาพของระบบประสาทอัตโนมัติคืออะไร?

 

ระบบประสาทอัตโนมัติ (ANS)

   ร่างกายเรานี้แบ่งการทํางานเป็น 12 ระบบ ระบบประสาทเป็นระบบหนึ่ง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วนย่อย คือ ระบบประสาทกลางที่เราควบคุมสั่งการได้ กับ ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System: ANS) ซึ่งเป็นระบบที่ควบคุมการทํางานของอวัยวะสําคัญทั้งหมดของร่างกายโดยเราสั่งการ หรือควบคุมเอาอย่างใจเราไม่ได้ เพราะมันไม่ได้ทํางานผ่านจิตสํานึกรับรู้หรือการสั่งการจากสมอง แต่ มันทํางานด้วยวงจรสนองตอบอัตโนมัติ (Reflex) ซึ่งรับสัญญาณเข้ามาทางประสาทรับรู้ (Sensory) แล้วสั่งการออกไปทางปลายประสาทเคลื่อนไหว (Motor) อย่างเป็นอัตโนมัติ

   ตัวอย่างวงจรที่ง่ายที่สุด เช่น วงจรการเตะเท้าเมื่อถูกเคาะเอ็นหัวเข่า ซึ่งมีกลไกการทํางานว่า เมื่อถูกเคาะเอ็นหัวเข่า ปลายประสาทรับรู้การยืดตัวของเอ็นจะส่งไฟฟ้ารายงานเข้ามายังแกนประสาท สันหลัง แล้วปล่อยไฟฟ้านั้นให้เส้นประสาทเคลื่อนไหวที่สั่งให้กล้ามเนื้อหน้าขาหดตัว ทั้งหมดนี้เกิดโดย อัตโนมัติ ไม่ต้องให้สมองสั่ง วงจรแบบนี้มีไม่รู้กี่ล้านวงจรในร่างกาย วงการแพทย์ยังรู้จักแค่ส่วนน้อย ระบบนี้ควบคุมการทํางานอวัยวะทุกอวัยวะผ่านการเชื่อมต่อกันของเส้นประสาทอย่างซับซ้อน โรคหลอดเลือดสมอง

  วงจรสนองตอบอัตโนมัติที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีกจะรวมเอาความจําและความคิดเข้าพ่วงเป็นส่วนหนึ่งของวงจรด้วย ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยหนึ่งทดลองให้สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งก่อนให้อาหาร นานเข้าสุนัขนั้นจะเกิดน้ําลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งทั้งๆ ที่ไม่ได้กลิ่น ไม่เห็นอาหาร ทั้งนี้เป็นเพราะ ความจําของมันได้ถูกพ่วงเป็นส่วนหนึ่งของวงจรสนองตอบอัตโนมัตินี้ กายภาพบำบัด

 

  กลไกแบบนี้ทําให้ความจําชงความคิดขึ้นมาเองแบบอัตโนมัติไม่เชื่อฟังใคร (Compulsive) และ เมื่อเกิดความคิดแล้วก็มีธรรมชาติจะเกิดอีกแบบเดิมๆ ซ้ําๆ (Obsessive) ทําให้ความคิดอยู่นอกเหนือ การควบคุมใดๆ ของจิตสํานึกรับรู้

  ระบบประสาทอัตโนมัติมีหน้าที่หลักอย่างหนึ่งคือเตรียมร่างกายให้พร้อมเมื่อเกิดภาวะคุกคาม (Stress) ทั้งระบบผูกโยงเป็นระบบใหญ่ที่มี 2 ส่วน คือ ซีกเร่ง (Sympathetic) เรียกสั้นๆ ว่า ซิม และ ซีกหน่วง (Parasympathetic) เรียกสั้นๆ ว่า พาราซิม ทั้งสองส่วนนี้ทําให้อวัยวะทุกอวัยวะทํางาน อย่างได้ดุลกัน ยามใดที่มีสิ่งคุกคาม ส่วนเร่งก็จะทํางานมากกว่า ยามใดที่ปลอดโปร่งไร้สิ่งคุกคาม ส่วนหน่วงก็จะทํางานมากกว่า

  ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีสิ่งคุกคามเช่นมีสัตว์ร้ายตรงเข้ามาจะทําร้าย ระบบซีกเร่งจะทําให้หัวใจ เต้นแรงขึ้น ส่งเลือดมากขึ้น หายใจเร็วขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้ออกซิเจนมากขึ้น หลอดเลือดหดตัวเพื่อ เพิ่มความดันเลือด ฮอร์โมนเครียด (Cortisol) ถูกปล่อยออกมามากขึ้น ทําให้มีความตื่นตัว มีการกัก เกลือไว้ในเลือด เพิ่มน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นพร้อมใช้เป็นพลังงาน เลือดแข็งตัวง่ายขึ้นพร้อมสําหรับ การเกิดเลือดตกยางออก ทั้งหมดนี้เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมกับการจะสู้ หรือจะหนี

  ในขณะที่ระบบซีกเร่งทํางานมากขึ้น ระบบของร่างกายที่ไม่สําคัญต่อการอยู่รอดฉุกเฉินจะถูกปิด หรือลดการใช้งานลงเพื่อสงวนทรัพยากร เช่น ปิดหรือหน่วงระบบภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้ระบบการแข็งตัวของเลือดทํางานได้โดยไม่ถูกขัดขวางปิดระบบสืบพันธุ์เพราะในช่วงหน้าสิ่ว หน้าขวานการสืบพันธุ์ไม่สําคัญปิดระบบทางเดินอาหาร เพราะ ในยามวิกฤต ร่างกายมีระบบอาหารพร้อมใช้สํารองไว้ในตับเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องรอใช้อาหารที่กินเข้าไป

  เมื่อสิ่งคุกคามนั้นผ่านไป ระบบประสาทอัตโนมัติก็จะกลับมาทํางานแบบสมดุลตามปกติ ถ้าเรา ยังใช้ชีวิตอยู่ในป่า ระบบนี้จะช่วยเราได้มากและไม่เป็นปัญหากับเราเลย แต่เนื่องจากสิ่งคุกคามในยุค ปัจจุบันไม่ใช่สัตว์ร้ายในป่า กลับเป็นความคิดของเราเอง ระบบประสาทอัตโนมัติจําแนกไม่ได้ว่า ความคิดไหนเป็นของจริงหรือไม่จริง จึงสนองตอบต่อความคิดลบซึ่งมีลักษณะเป็นสิ่งคุกคามไปในทางเร่งเหมือนกันหมด การที่ความคิดมีธรรมชาติเกิดขึ้นเองแบบบังคับไม่ได้และซ้ำซาก วกวน ยืดเยื้อ เรื้อรัง ทําให้ระบบประสาทอัตโนมัติทํางานภายใต้บรรยากาศที่ถูกประเมินว่ามีภาวะคุกคามเรื้อรัง หรือ เครียดเรื้อรัง

   ในภาวะถูกคุกคามเรื้อรังนี้ ระบบประสาทอัตโนมัติจะเร่งการทํางานระบบที่จําเป็นต่อการอยู่รอด เช่น ระบบหัวใจหลอดเลือด ระบบการหายใจ ระบบการแข็งตัวของเลือด อย่างไม่หยุดหย่อน ทําให้ เกิดโรค เช่น ความดันเลือดสูง เลือดแข็งตัวเร็ว หลอดเลือดอักเสบเรื้อรัง

  ขณะเดียวกันระบบประสาทอัตโนมัติก็หน่วงหรือปิดการทํางานบางระบบที่ไม่จําเป็นเร่งด่วนไป หลายระบบ เช่น ระบบภูมิคุ้มกันโรคระบบทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุ และกลไกสําคัญอันหนึ่งที่ทําให้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ยกตัวอย่างเช่น การหน่วงระบบภูมิคุ้มกันโรคทําให้ เป็นมะเร็งและโรคที่เกิดจากการติดเชื้อหรือการอักเสบเรื้อรังได้ง่าย เพราะเซลล์ที่กลายพันธุ์ไปเป็น มะเร็งก็ดี เชื้อโรคในร่างกายก็ดี โมเลกุลที่ก่อการอักเสบในร่างกายที่มากเกินไปก็ดี ปกติจะถูกเก็บกิน หรือจัดการให้เป็นปกติโดยระบบภูมิคุ้มกันซึ่งมีเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ เป็นกําลังหลัก

  การนําความรู้เรื่องระบบประสาทอัตโนมัติไปใช้ในการป้องกัน และพลิกผันโรคเรื้อรังอยู่ที่ทําอย่างไรจึงจะวางความคิดลบที่เป็นภาวะคุกคามเรื้อรังลงไปได้ ซึ่งมนุษย์เราแต่โบราณได้พัฒนาวิธีการที่ใช้ ได้ผลดีมากไว้ให้แล้ว เราสามารถหยิบมาใช้ได้เลย งานวิจัยทางการแพทย์พบว่าวิธีปล่อยวางความคิด ที่ได้ผลดีแน่นอนในการลดภาวะเครียด ได้แก่ การทําสมาธิ (Meditation) การฝึกโยคะ และการฝึก รํามวยจีน (Tai Chi - Qigong) ดังนั้นเราฝึกทําทั้งสามอย่างนี้ได้เลย เป็นสิ่งดีแน่

  ควบคู่กันไป ในการจะวางความคิดลบที่คุกคามเราลงให้ได้มากที่สุด เราต้องฝึกเปลี่ยนมุมมอง ต่อชีวิต (Paradigm shift) จากเดิมที่มองออกมาจากมุมว่าเรานี้เป็นบุคคลคนหนึ่งมีสถานะความเชื่อ ที่ต้องปกป้องหรือเชิดชู เปลี่ยนไปมองออกมาจากมุมว่าเรานี้เป็นความรู้ตัวยามที่ปลอดความคิด ซึ่งเป็นภาวะที่สงบเย็น ไม่ต้องพะวงว่าจะต้องปกป้องหรือเชิดชูอะไร ทุกสิ่งที่ทําออกมา จะมีลักษณะสร้างสรรค์อย่างเป็นธรรมชาติ เพราะไม่ได้ทํา เพื่อปกป้องเชิดชู านึกว่าเป็นบุคคลของเรา

 

(ขอบคุณข้อมูลจาก :นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ และพญ.พิจิกา วัชราภิชาต, 2566, “Healthy Life Bible คัมภีร์สุขภาพดี สุขภาพดีได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง”, หน้า 52-54)

สนใจกระตุ้นระบบประสาทและสมอง ด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า TMS และ PMS

ติดต่อได้ที่

 

 
 
 

KIN - Rehabilitation & Homecare 
สาขา ลาดพร้าว 71

เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : KIN - Rehabilitation & Homecare
 แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6

KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107

596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ 

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : Kin Origin Sukhumvit 107
 แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk


ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab