การฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัดกระดูกและข้อ
การฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัดกระดูก และข้อ เพื่อให้สามารถกลับไปทำงานได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม รวมถึงการออกกำลังกาย การฟื้นฟูสมรรถภาพมีความสำคัญในการช่วยคนไข้กลับมามีสมรรถภาพร่างกายอีกครั้ง และสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ มีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูร่างกาย โดยใช้เทคนิค และวิธีการที่เหมาะสมให้กับคนไข้แต่ละราย
สำหรับคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดกระดูก และข้อ อาจมีความรู้สึกหนักใจ หรือกังวลเกี่ยวกับการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้คนไข้มีความกังวล หรือกลัวว่าอาจทำให้แผลหรือส่วนต่างๆ บริเวณหลังผ่าตัดกระดูก และข้อ มีการเสื่อมสภาพอย่างรุนแรงขึ้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เวลาทำกิจกรรม เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหรือภาวะที่อาจทำให้แผลแห้ง และแผลเกิดคัดตัวหรือติดเชื้อได้
กระดูกหัก
กระดูกหักอาจเกิดขึ้นโดยผิวหนังไม่มีแผล (แบบปิด) หรือมีกระดูกทะลุออกมานอกผิวหนัง (แบบเปิด) สามารถวินิจฉัยว่าเกิดกระดูกหักได้จาก
- แขนหรือขาบิดงอผิดรูปร่างปกติ
- เจ็บปวดรุนแรงถ้าพยายามเคลื่อนไหวส่วนที่หัก
- บวมตรงที่หัก
- มีเสียงปลายกระดูกสีกันกับกับเมื่อเคลื่อนไหว
- ถ้าหักแบบเปิดอาจมองเห็นปลายกระดูกโผล่อออกมา
การจัดการกระดูกหักไม่ใช่เรื่องด่วนที่สุดควรไปทําเรื่องที่ด่วนกว่าก่อน เช่น การห้ามเลือด หากปลายมือหรือปลายเท้าของข้างที่หักซีดลง แสดงว่ามีการบาดเจ็บของหลอดเลือดด้วยต้องรีบนําส่งโรงพยาบาล อย่าพยายามดึงกระดูกกลับเข้ารูปเดิม เพราะอาจทําให้ปลายแหลมของกระดูกไปตัด หลอดเลือดเข้าต้องไม่ให้ลงน้ําหนักหรือขยับข้างที่หัก ควรตรึงส่วนที่หักไม่ให้มีการเคลื่อนไหวโดยใช้ วัสดุแข็ง เช่น หนังสือพิมพ์พับหรือแผ่นไม้วางประกบ (ตาม) ด้านนอก และด้านในของแขนหรือขา ข้างนั้น เอาสําลีหรือผ้าก๊อซรองกันไม่ให้ไม่กดกระดูกบางจุด แล้วเอาผ้ายืดหรือเสื้อผ้าพันยึดแขน หรือขา กับไม้ที่ตามไว้ด้วยกัน กรณีแขนหักอาจใช้ผ้าทําห่วงคล้องแขนห้อยคอไว้ กรณีขาหักอาจใช้ขาอีกข้างหนึ่ง เป็นตัวยึด หลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเอง ให้รอจนรถพยาบาลเอาเปลตักมารับ
ทั้ง 5 กรณีนี้ให้ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน และต้องไปโรงพยาบาลทันที
(ขอบคุณข้อมูลจาก : นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ และพญ.พิจิกา วัชราภิชาต, 2566, “Healthy Life Bible คัมภีร์สุขภาพดี สุขภาพดีได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง”)
ขั้นตอนการฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัดกระดูก และข้อ
1. การดูแลแผลผ่าตัด
หลังจากการผ่าตัด แพทย์จะทำการปิดแผลด้วยผ้าพันแผลหรือพลาสเตอร์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น คนไข้ควรดูแลแผลผ่าตัดตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น เปลี่ยนผ้าพันแผลหรือพลาสเตอร์ตามกำหนดเวลา และหลีกเลี่ยงการให้แผลโดนน้ำ
2. การควบคุมอาการปวด
หลังจากการผ่าตัด คนไข้จะได้รับยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด แพทย์จะพิจารณาให้ยาแก้ปวดตามความเหมาะสมของแต่ละคน โดยอาจให้ยาแก้ปวดแบบรับประทาน ยาแก้ปวดแบบฉีด หรือยาแก้ปวดแบบทา
3. การทำกายภาพบำบัด
การทำกายภาพบำบัดเป็นส่วนสำคัญของการฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัดกระดูกและข้อ โดยนักกายภาพบำบัดจะออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคนไข้แต่ละคน เพื่อช่วยลดอาการปวด บรรเทาอาการบวม สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และเพิ่มความคล่องตัวของข้อต่อ
4. การพักผ่อนอย่างเพียงพอ
การพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น หลังจากการผ่าตัด คนไข้ควรนอนพักผ่อนให้มากในช่วงแรก และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากเกินไป
5. การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูร่างกาย เช่น โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ คนไข้ควรเน้นรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วต่างๆ รวมถึงผักและผลไม้ต่างๆ
KIN - Rehabilitation & Homecare
สาขา ลาดพร้าว 71
เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)
เวลาทำการ ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.
: KIN - Rehabilitation & Homecare
แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6
KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107
596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ
เวลาทำการ ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.
: Kin Origin Sukhumvit 107
แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk