รู้ทัน โรคออฟฟิศซินโดรมในเด็ก

โรคออฟฟิศซินโดรม  (Office Syndrome) หลายคนคงรู้จักกันอยู่แล้ว โดยมักจะเป็นโรคที่พบมากในกลุ่มคนช่วงวัยทำงาน นักศึกษา และนักเกมเมอร์ ซึ่งเกิดมาจากสาเหตุในการนั่งทำงานท่าใดท่าหนึ่งนานๆ หลายชั่วโมงเป็นประจำ หรือว่านั่งแบบผิดวิธี จึงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย หรือชาตามบริเวณต่างๆ ขึ้นได้ และอาจนำไปสู่โรคที่เกี่ยวกับการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ รวมทั้งโรคทางระบบกระดูกตามมาได้

แต่อีกหลายๆคนอาจจะยังไม่เคยได้ยินว่า โรค “ ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ” ก็สามารถเกิดขึ้นในกลุ่มเด็กได้ด้วยเหมือนกัน โดยเหตุผลหลักๆ แน่นอนว่า คือ การปล่อยให้จอเลี้ยงเด็กเพราะการใช้สื่อหรือจอในการเลี้ยงเด็ก ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน ล้วนส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก อีกทั้งยังทำให้เด็กเป็นโรคที่เรียกว่า “ ออฟฟิศซินโดรมในเด็ก ” ได้อีกด้วย

วันนี้Kinจึงนำบทความเกี่ยวกับสาเหตุ และการรักษา โรค ออฟฟิศซินโดรมในเด็ก ” มาให้ทุกท่านได้เช็คกันดูนะคะ/ครับ

สาเหตุการเกิดโรค ออฟฟิศซินโดรมในเด็ก ”

  1. นั่งดู หรือเล่นหน้าจอเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ นานเกินไป ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
  2. ใช้สายตาจ้องมากเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดกระบอกตา เบ้าตา และปวดหัวขึ้นได้
  3. นั่งดูหน้าจอผิดท่า เช่น ก้มดูจอมือถือ จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังคอตึงเกินไป และนำไปสู่อาการปวดขึ้นได้
  4. พักผ่อนไม่เพียงพอ เพราะดูแต่หน้าจอ ไม่ยอมลุกไปทำกิจกรรมอย่างอื่นเลย

 

เช็คด่วน ! อาการที่บ่งบอกว่าเด็กเริ่มเป็น ออฟฟิศซินโดรมในเด็ก ”  แล้ว

  1. ปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง และสะโพกมากกว่าปกติแบบที่ไม่เคยปวดมาก่อน
  2. เริ่มปวด และชาที่บริเวณแขน
  3. เกิดอาการนิ้วล็อค หรือข้อมือรู้สึกตึงๆ งอเเล้วเจ็บ
  4. ปวดหัวข้างเดียวมาก อาการคล้ายๆ ปวดหัวไมเกรน
  5. ปวดกระบอกตา เพราะจ้องจอนานเกินไป
  6. เครียดสะสม จนทำให้นอนไม่ค่อยหลับ
  7. บางคนรู้สึกอาเจียน จนอยากอ้วก

การรักษา ออฟฟิศซินโดรมในเด็ก ”

เมื่อเช็คลิสต์แล้วพบว่าเด็กเริ่มมีอาการดังกล่าว ให้คุณพ่อคุณแม่รีบพาเด็กๆไปพบคุณหมอ หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อรับการวินิจฉัยอาการเพิ่มเติมว่าเป็น “ ออฟฟิศซินโดรมหรือเป็นโรคกล้ามเนื้อหรือไม่ ถ้าหากเป็นออฟฟิศซินโดรมสามารถรับการรักษากายภาพบำบัด โดยนักกายภาพบำบัดร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเมื่ออยู่ที่บ้านง่ายๆ ได้ดังนี้

  1. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อสม่ำเสมอ
  2. หลีกเลี่ยงการนั่งหรือการใช้จอทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  3. การปรับเปลี่ยนท่านั่งทุก 30 นาที
  4. ออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อในส่วนที่กล้ามเนื้ออ่อนแอ และเกิดอาการล้า
  5. การกายภาพบำบัด

ขอขอบคุณข้อมูล : Parents one/Mneeose

 

 

สอบถามข้อมูล
และจองคิว Kin Wellness

 

 
KIN Wellness
เวชศาสตร์ชะลอวัยและความงาม โรคเข่าข้อ จิตบำบัด แพทย์แผนจีน กายภาพบำบัด
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 8 อาคาร T3 Residence ปากซอยนาคนิวาส 20 ลาดพร้าว 71 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230
LINE@ สอบถามรายละเอียด @kinClinic (มี@ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/vuwOSaC
แผนที่เดินทาง : https://shorturl.asia/IvCJR
 
 
 
 

KIN - Rehabilitation & Homecare 
สาขา ลาดพร้าว 71

เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : KIN - Rehabilitation & Homecare
 แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6

KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107

596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ 

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : Kin Origin Sukhumvit 107
 แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk


ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab