อัมพฤกษ์ - อัมพาต จาก โรคหลอดเลือดสมอง
สมอง ( Brain ) เป็นอวัยวะสำคัญทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย รวมทั้งควบคุมการทำงานของหัวใจ ระบบหายใจ หากมีความผิดปกติ สมองถูกทำลายจะทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติเรียกว่าพิการหรืออาจเสียชีวิตได้ โดยหนึ่งในโรคสมองที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประชากรโลกและคนไทย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ และหลอดเลือดสมองแตก ที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต
อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือ โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สมองขาดเลือด พบประมาณ 70-80% ของผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการตีบหรืออุดตัน ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ ภาวะหัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด การขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โรคเลือดบางอย่าง เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ เกร็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวอยู่เป็นเวลานานจะเป็นผลให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว เกิดการตีบหรืออุดตัน ทำให้สมองขาดเลือดเกิดอัมพาตตามมาในที่สุด โดยผู้ป่วยเหล่านี้มักมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบร่วมด้วย
2. หลอดเลือดสมองแตก เมื่อเกิดการแตกของหลอดเลือดสมอง ก้อนเลือดจะเบียดดันเนื้อสมองส่วนที่ดีทำให้เสียหน้าที่เซลล์สมองทำงานผิดปกติ เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตตามมา ภาวะนี้มักสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาอยู่เป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังเกิดจากความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งยาบางชนิด
อาการของ อัมพฤกษ์ อัมพาต
หากมีอาการในข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที
- มีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง
- ตาข้างใดข้างหนึ่งมัวหรือมองไม่เห็น
- พูดลำบาก พูดไม่ได้ หรือไม่เข้าใจคำพูด
- มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
- มีอาการมึนงง หรือเดินไม่มั่นคง เสียศูนย์
การรักษา
ในปัจจุบันสามารถให้การรักษาได้โดยความรวดเร็วในการรักษาถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะยิ่งปล่อยไว้จะทำให้สมองเกิดความเสียหายมากขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาภายในระยะเวลา 3 - 4.5 ชั่วโมง
ยาที่แพทย์มักใช้ในการรักษาได้แก่
1. ยาละลายลิ่มเลือด
3. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
• ใช้ในผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติเพื่อป้องกันการเกิดการกลับมาเป็นซ้ำในระยะยาว
หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว อาการของผู้ป่วยจะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ และอาจกลับมาเป็นปกติได้ ภายใน 6 เดือน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเสียหายของสมอง และในระหว่างการพักฟื้นผู้ป่วยจะต้องได้รับการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูความสามารถในการสื่อสาร และการเคลื่อนไหวเพื่อให้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด
ดูแลอย่างไรไม่ให้เป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต
เรื่องการดูแล มีความสำคัญมากในการป้องกันไม่ให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้
1. การรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยง
ได้แก่ การรักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การงดสูบบุหรี่
2. การป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
ด้วยการใช้ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
3. การลดอาหารไขมัน โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว อาหารเค็ม กินผักและผลไม้ให้มาก
4. จำกัดการดื่มสุรา เบียร์
5. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
6. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
ขอขอบคุณข้อมูล : อ.นพ.ยงชัย นิละนนท์ , แพทย์หญิงพรรณวลัย ผดุงวณิชย์กุล
KIN - Rehabilitation & Homecare
สาขา ลาดพร้าว 71
เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)
เวลาทำการ ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.
: KIN - Rehabilitation & Homecare
แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6
KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107
596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ
เวลาทำการ ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.
: Kin Origin Sukhumvit 107
แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk