ไขมันในเลือดสูง ทำเสี่ยงโรคหลอดเลือดตีบตัน!!

ไขมันในเลือดสูง ทำเสี่ยงโรคหลอดเลือดตีบตัน

  ปัจจุบันคนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น หลายคนพยายามเลี่ยงอาหารจังก์ฟู้ดที่มีไขมันสูง  ซึ่งหากรับประทานบ่อยๆ จะทำให้มี  “คอเลสเตอรอลในเลือดสูง” ตามมา และอาจเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง

 

ภาวะไขมันในเลือดสูง คืออะไร?
  ภาวะไขมันในเลือดสูง  คือภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยอาจมีความผิดปกติทั้งไขมัน “คอเลสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบ อุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง หรือเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่มีดีพอ รวมถึงความดันโลหิตสูงได้

 

ชนิดของไขมันในเลือด
หลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า “คอเลสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ซึ่งเป็นไขมันที่พบอยู่เป็นปกติในร่างกาย…  แต่วันนี้ เราจะมาดูกันว่า ไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้ มีบทบาทสำคัญอย่างไรกับ “โรคไขมันในเลือดสูง”

 

1.คอเลสเตอรอล  (Cholesterol)
เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ พบมากในไขมันจากสัตว์ คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย แต่หากมีมากเกินไปก็ส่งผลเสียได้เช่นกัน โดยคอเลสเตอรอลที่สำคัญ มีอยู่ 2 ชนิด คือ

  • เอชดีแอล (Hight density lipoprotein – HDL) มีหน้าที่นำคอเลสเตอรอล และกรดไขมันจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไปช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันเลวเข้าไปสะสมในหลอดเลือดแดง การมีคอเลสเตอรอลชนิด  HDL สูงจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้ HDL ในระดับปกติ ผู้ชายต้องมากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ส่วนในผู้หญิงต้องมากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • แอลดีแอล (Low density lipoprotein-LDL) ทำหน้าที่เป็นตัวนำพาไขมัน คอเลสเตอรอล ไปใช้ยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากมีไขมันชนิดนี้ในเลือดสูงเกินไป จะเกิดการสะสมที่ผนังหลอดเลือด หลอดเลือดจะตีบแคบลง หลอดเลือดเปราะ ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบตัน  LDL ในระดับปกติทั้งผู้ชายและผู้หญิง ไม่ควรเกิน 100-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

 2.ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
เป็นไขมันชนิดหนึ่ง เกิดจากน้ำตาลและแป้ง หรือจากอาหารอื่นๆ ที่ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องนาน ร่างกายจะเก็บสะสมไตรกลีเซอร์ไรด์ไว้เป็นพลังงาน แต่หากมีไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง โอกาสเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็มีมากขึ้น ไตรกลีเซอร์ไรด์ในระดับปกติ ไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

 

ปัจจัยเสี่ยง ไขมันในเลือดสูง

  • ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้มีความบกพร่องในการเผาผลาญไขมัน
  • ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ภาวะขาดไทรอยด์ ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
  • ผลจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ สเตียรอยด์
  • การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ จำพวกอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันสัตว์ เครื่องในสัตว์ เนย ไข่ เป็นต้น
  • มีภาวะเครียด และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

วิธีรักษาไขมันในเลือดสูง เริ่มจากการปรับพฤติกรรม
หลักการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง จะคำนึงถึงการลดปัจจัยเสี่ยงที่มี ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อันส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา

  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวสูง และมีน้ำตาลสูง เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เนย เค้ก เครื่องในสัตว์
  • เน้นการบริโภคอาหารประเภท ผัก ผลไม้ ธัญพืช และแหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ จำพวกผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ เนื้อสัตว์ปีกไขมันต่ำ (ไม่กินหนัง) ปลา และถั่ว
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้ได้อย่างน้อย 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ แต่ละครั้งประมาณ 40 นาทีขึ้นไป

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน แต่ในบางรายอาจต้องใช้ยาควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น 

การป้องกัน…การเกิดโรคไขมันในเลือดสูง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด โรคหลอดเลือดสมอง        
การป้องกันการเกิดโรคไขมันในเลือดสูง คือการที่เราต้องรู้ว่า ไขมันในเลือดของเรานั้นอยู่ในระดับใด และมีไขมันแต่ละชนิดมากน้อยเพียงใด เพราะไม่ใช่ไขมันทุกชนิดที่จะเป็นโทษต่อร่างกาย

 

 ฉะนั้น “การตรวจสุขภาพ” เพื่อให้ทราบปริมาณไขมันแต่ละชนิดอย่างสม่ำเสมอ  คือสิ่งจำเป็น

  • หากมีอายุมากกว่า 35 ปี ควรตรวจเลือดเพื่อวัดระดับไขมันทุกๆ 1-2 ปี
  • หากครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ควรตรวจเลือดทุกๆ 6 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูล : ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 


สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
     
 โทร : 091-803-3071 , 095-884-2233 , 02-020-1171
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab