สาเหตุของข้อเข่าแอ่นมากเกินไปในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
ภาวะเข่าแอ่นในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสมองมักจะได้รับผลกระทบทางด้านการเคลื่อนไหวตามไปด้วย ซึ่งจะมีอาการอ่อนแรงหรือมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เกิดจากการสั่งการของสมองลงมาที่กล้ามเนื้อเกิดการทำงานผิดปกติ ส่งผลทำให้เกิดภาวะเข่าแอ่นขึ้นได้ โดยถ้าหากไม่ได้รับ การแก้ไขหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีก็จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการตึงและมีอาการข้อต่อยึดติดตามมาได้ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างการยืนหรือเดิน อีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะเข่าแอ่นเรื้อรังได้อีกด้วย
สาเหตุของข้อเข่าแอ่นมากเกินไปในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง มีหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
1. กล้ามเนื้อด้านหลังเข่า (ข้อพับเข่า) ล็อค (popliteus lock)
2. กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ามีอาการเกร็งตัวสูง (hypertone of quadriceps)
3. กล้ามเนื้อน่องตึง (tightness of gastrosoleus muscle)
4. กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังอ่อนแรง (weak eccentric control of hamstring)
5. ผู้ป่วยสูญเสียการรับรู้การเคลื่อนไหวของข้อต่อ (loss of proprioceptive sensation)
เมื่อไหร่ถึงควรมาพบนักกายภาพ
หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการเกร็งเหยียดจนทำให้เข่าแอ่นไปทางด้านหลังขณะที่ยืนหรือเดิน ควรมาพบนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการวินิจฉัยและเข้ารับการฟื้นฟูอย่างถูกต้อง ไม่ควรรอให้อาการเข่าแอ่นแย่ลงจนเกิดอาการเจ็บแล้วค่อยมาเข้ารับการรักษา เพราะอาการเจ็บบ่งบอกถึงความผิดปกติของโครงสร้างบริเวณโดยรอบข้อเข่า ถ้ามีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นซึ่งอาจจะส่งผลให้มีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูหรือรักษาได้ทันท่วงทีมากเท่าไร กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าก็จะแข็งแรงและทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของเข่าได้ไวมาก
ขอขอบคุณข้อมูล : มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด
สามารถติดต่อได้ที่
LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id