ประคบร้อน vs ประคบเย็น ใช้ต่างกันอย่างไร

ประคบร้อน vs ประคบเย็น ใช้ต่างกันอย่างไร

 

หลาย ๆ  คนอาจจะสงสัยมีอาการแบบนี้ควรประคบร้อนหรือประคบเย็นดี อาการแบบไหนควรจะใช้ยังไง หากมีอาการปวดจากการหกล้ม ข้อเท้าพลิก/ข้อเท้าแพลง ปวดประจำเดือน หรือปวดจากการนั่งทำงานนาน ควรใช้เย็นหรือร้อนดี?

 

การประคบร้อนหรือประคบเย็น คือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดอาการปวดหรืออักเสบ  ไม่ว่าจะเป็นการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬาหกล้ม หรือฟกช้ำของร่างกายจากอุบัติเหตุต่างๆ ข้อเท้าพลิกกล้ามเนื้อฉีกขาด หรือจากอาการปวดเรื้อรัง ปวดตึงกล้ามเนื้อจากการใช้งาน มีไข้สูง ซึ่งการเลือกใช้ความร้อนหรือความเย็นให้ถูกต้องตามอาการจะช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ แล้วควรใช้เมื่อไหร่

 

การประคบร้อน ความร้อนหรืออุณหภูมิของเนื้อเยื่อที่สูงขึ้น สามารถช่วยกระตุ้นให้เส้นเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนเลือดบริเวณนั้นๆ ซ่อมแซมการบาดเจ็บช่วยบรรเทาอาการปวดและผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ

ควรใช้เมื่อไหร่?

  • ควรประคบร้อนเมื่อกลับจากบาดเจ็บ 48 ชั่วโมง และหลังจากไม่มีอาการบวม แดง ร้อน บริเวณที่บาดเจ็บ

ควรใช้กับอาการไหน?

  • การประคบร้อนควรใช้กับอาการปวดเรื้อรัง เช่น มีปัญหาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท/หมอนรองกระดูก Office syndrome ปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณคอบ่า หลัง ปวดตึงบริเวณข้อ ข้อติด/ข้ออักเสบ จากการไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อมีภาวะความตึงตัวมาก ตะคริว ปวดประจำเดือน หรือปวดคัดเต้านม ยกเว้นโรคเก๊าท์ และไม่มีอาการปวด บวม แดง ร้อน หรืออาการแสดงของการอักเสบ

ใช้ยังไงดี?

  • ใช้เจลประคบร้อนสำเร็จรูป หรือถุงน้ำร้อนห่อผ้าขนหนู ควรประคบไว้นาน 20-30 นาที และไม่ควรร้อนจนแสบผิว อุณหภูมิที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 45 องศาเซลเซียส หรือความรู้สึกอุ่นๆสบาย

 

ข้อควรระวังในการประคบร้อน

  • ผู้ที่มีปัญหาการรับความรู้สึกทางระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะจะมีความบกพร่องในการรับรู้ความรู้สึก
  • ไม่ควรทำในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือกออกผิดปกติ
  • ไม่ควรประคบในบริเวณที่มีเลือดออกหรือบริเวณที่มีแผลเปิด
  • ประคบร้อนเมื่อมีอาการอักเสบบวมแดงน้อยลง
  • ควรควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม ไม่ควรร้อนจนเกินไปหรือไม่เกิน 45 องศาเซลเซียส เนื่องจากความร้อนที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดผิวหนังอักเสบพุพอง แดง และร้อนไหม้ได้
  • ไม่ควรประคบนานหรือถี่เกินไป

 

การประคบเย็น ช่วยทำให้หลอดเลือดเกิดการหดตัว ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณที่ได้รับบาทเจ็บน้อยลง ช่วยห้ามเลือด ลดอาการบวมและการอักเสบ ในช่วงระยะที่มีการบาดเจ็บมาใหม่ 48 ชั่วโมงแรก หรือมีอาการปวด บวม ผิวหนังแดง และอุณหภูมิผิวบริเวณที่มีการบาดเจ็บสูงขึ้น

 

ควรใช้เมื่อไหร่?

  • เมื่อเริ่มมีการหรือได้รับบาดเจ็บ ถึง 48 ชั่วโมงแรกที่ได้รับบาดเจ็บ มีไข้ตัวร้อน มีอาการปวด บวม แดง และมีอุณหภูมิผิวบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บสูงขึ้น

ควรใช้กับอาการไหน?

  • ควรใช้กับบริเวณที่กำลังมีอาการอักเสบหรือบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น ข้อเท้าพลิก หกล้มข้อเท้าบวม หลังจากผ่าตัดกระดูกและข้อ เช่น ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ข้อสะโพก บริณที่หกล้ม ฟกช้ำ หรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬามาใหม่ๆ

ใช้ยังไงดี?

  • ใช้เจลเย็นประคบบริเวณที่มีการอักเสบ/บาดเจ็บทันที หลังมีอาการ ภายใน 24-48 ชั่วโมงแรก ประคบ 15-20 นาที 2-3 ครั้งต่อวัน

 

ข้อควรระวังในการประคบเย็น

  • ไม่ควรประคบเจลเย็นบริเวณผิวโดยตรง ควรห่อผ้าขนหนู และไม่ควรประคบนานเกิน 20นาที เนื่องจากอาจทำให้ผิวไหม้จากความเย็นได้
  • ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบรับความรู้สึก เบาหวาน หรือผู้ที่แพ้ความเย็น เป็นผื่นง่าย

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 

สำหรับใครที่สนใจ หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมในการรักษาฟื้นฟูกับ KIN
สามารถติดต่อได้ที่  
 โทร : 02-096-4996 กด 1 , 091-803-3071 , 095-884-2233
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab