สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ รู้ทัน ป้องกันได้ !

สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ รู้ทัน ป้องกันได้ !

ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นและในการดูแลใส่ใจเรื่องสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องที่สำคัญในอันดับต้น ๆ ซึ่งลูก ๆ หลาน ๆผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านจำเป็นต้องทำความเข้าใจว่าผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ จากภาวะร่างกายที่เสื่อมถอยด้วยโรคต่าง ๆที่เป็นอยู่ ผู้สูงอายุบางคนอาจมีภาวะโรคซึมเศร้า ภาวะสมองเสื่อม และภาวะความเครียดและความวิตกกังวล แอบแฝงอยู่อย่างไม่รู้ตัว ซึ่งผู้ดูแล และคนใกล้ชิดต้องหมั่นคอยสังเกตว่าลักษณะการแสดงออกแบบใด ที่เป็นสัญญาณน่าห่วงในเรื่องสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ เพื่อที่จะได้รู้ทัน ป้องกันได้ !

การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ มีทั้งหมด 3 รูปแบบดังนี้

1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
  • การเสื่อมต่าง ๆ ของร่างกาย
  • การเจ็บป่วยเรื้อรัง ท้อแท้กับการรักษา
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • การสูญเสียสถานภาพและบทบาททางสังคม
  • การสูญเสียสมาคมกับเพื่อนฝูง อยู่ในสภาวะพึ่งพิงผู้อื่น
3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจ
  • อารมณ์แปรปรวน , ตึงเครียด , โกรธง่าย
  • วิตกกังวล , ความจำ , ความเข้าใจน้อยลง

ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มีทั้งหมด 3 หลัก ดังนี้

1. ภาวะซึมเศร้า (Depression)

พบได้ร้อยละ 30-50 % ในผู้สูงอายุ เป็นการป่วยทางจิตใจ ไม่มีความสุข ซึมเศร้าและหม่นหมอง

แยกตัว อยากอยู่เงียบๆ คนเดียว มองตัวเองไร้ค่า เป็นภาระคนอื่น ซึ่งร้อยละ 90 ของการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า

 

สาเหตุของภาวะซึมเศร้า

ทางด้านร่างกายและสิ่งแวดล้อม

- พันธุกรรมหรือการมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้าในครอบครัว
- เป็นโรคทางกายที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสมอง
- ผลข้างเคียงจากยาที่รับประทานเป็นประจำ
- การปรับตัวไม่ได้ต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
- การประสบความเครียดจากการดาเนินชีวิตประจำวัน การทะเลาะเบาะแว้ง ของคนในครอบครัว

ทางด้านจิตใจ

- การไม่สามารถปรับตัวต่อการสูญเสีย
- ความเครียดในเรื่องต่าง ๆ ทำให้เกิดเป็นความทุกข์ใจ ไม่สบายใจผิดหวัง เสียใจน้อยใจ
- บุตรหลานไม่ปรองดองกันไม่ได้รับการยอมรับนับถือจากลูกหลานเห็นว่าอายุมากแล้ว
- ปัญหาทางเศรษฐกิจ

 

การรักษาและป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

 การรักษา

1.การรักษาด้วยยาจิตบำบัด

- ยาที่นิยมใช้คือ nortriptyline และยาในกลุ่ม SSRis เช่น fluoxetine และ paroxetine

2. การบำบัดทางจิตใจ

- การสนับสนุนและให้กำลังใจ
- แนะนำครอบครัวเกี่ยวกับการปฎิบัติเพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังและมีแรงจูงใจในการรักษา
- แนะนำผู้ป่วยให้รับประทานอาการถูกสุขอนามัย
- ให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลิน

3. การดูแลตนเองทางด้านร่างกาย

- การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัยให้ครบ 3 มื้อ
- ออกกำลังกายทุกวัน
- เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำปี

2. ภาวะสมองเสื่อม (Dementia)

พบได้ร้อยละ 6-12% ในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และ 35% เมื่ออายุ 85 ปีขึ้นไป โดยจะพบได้มากที่สุดในโรคอัลไซเมอร์ Alzheimer’s disease (AD)

ซึ่งเกิดความผิดปกติทางด้าน - สติปัญญา , ความคิด , ความจำบกพร่อง

- หลงลืมทั้งความจำระยะสั้นและระยะยาว มีปัญหาในการพูด
- ไม่เข้าใจภาษา มีความสับสนในเรื่องของเวลา , สถานที่ , บุคคล
- มีความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม

ภาวะสมองเสื่อม แบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้

  1. ระดับไม่รุนแรง (Mild)
  • ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืม อาจจะหลงลืมเหตุการณ์ปัจจุบันที่เพิ่งเกิดขึ้นไปทันทีทันใด
  • ผู้ป่วยเริ่มมีความบกพร่องในหน้าที่การงานและสังคม
  1. ระดับปานกลาง (Moderate)
  • ผู้ป่วยเริ่มมีความบกพร่องในความเข้าใจ ความสามารถในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ
  • ผู้ป่วยเริ่มลืมชื่อคนในครอบครัว

* ซึ่งช่วงท้ายของผู้ป่วยในระดับปานกลาง ผู้ป่วยอาจมีภาวะทางจิตได้  โดยผู้ป่วยในระดับปานกลางยังช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวตามลำพัง เพราะอาจเป็นอันตรายกับผู้ป่วยได้

  1. ระดับรุนแรง (Severe)
  • ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลยแม้แต่การทำกิจวัตรประจำวัน
  • ผู้ป่วยจะไม่สามารถจำเหตุการณ์ปัจจุบันที่เพิ่งเกิดขึ้นไปทันทีทันใดได้เลย และจำญาติพี่น้องไม่ได้เลย
  • ผู้ป่วยจะมีบุคลิกที่เปลี่ยนไป
  • ผู้ป่วยจะมีการเคลื่อนไหวที่ช้าลง

 

การรักษาและป้องกันภาวะสมองเสื่อม ในผู้สูงอายุ

  1. รักษาสาเหตุของโรค
  2. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย
  3. ให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้ป่วยโดยให้กำลังใจ
  4. การรักษาด้วยยาจิตบำบัด
  5. ทำงานที่ต้องใช้ความคิดและสมาธิสูงยิ่งเป็นงานที่ท้าทายและซับซ้อนได้ยิ่งดี

 

3. ภาวะความเครียดและความวิตกกังวล (Stressed and Anxiety)

พบได้ร้อยละ 22-60% ในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยความเครียดเป็นปัญหาหลัก ๆ ในผู้สูงอายุ ที่สามารถสังเกตอาการได้

การรักษาและป้องกันภาวะสมองเสื่อม ในผู้สูงอายุ

  1. การพักผ่อน ควรพักผ่อนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ไม่เคร่งเครียดหรือวิตกกังวลจนเกินเหตุ
  2. พาผู้สูงอายุไปพบเจอเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง ลูกหลาน เพื่อให้เกิดการเข้าสังคม ลดภาวะความเครียดจากการอยู่คนเดียว
  3. นั่งสมาธิ เข้าวัดให้ศาสนา เป็นที่พึ่งทางจิตใจของผู้สูงอายุ ช่วยเสริมสร้างความหวังและความสุข
  4. หางานอดิเรกที่ชื่นชอบ เช่น เล่นดนตรี ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ เพื่อทำให้จิตใจเพลิดเพลิน
  5. ออกกำลังกาย เดิน วิ่ง ให้ร่างกายได้เกิดการผ่อนคลาย

 

ข้อมูลโดย : กภ.ปิยชนน์ โรจนกูล , กภ.กภ.ปวรวรรณ อุราวรรณ

 

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 

สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 โทร : 091-803-3071 , 095-884-2233 , 02-096-4996 กด 1
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
Tags  

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab