ตกหลุมรักเธอคนเดิมซ้ำ ๆ จะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำไหมนะ!?
คุณเป็นโรค OCD หรือไม่ ไปเช็กกัน!
โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD (Osessive-Compulsive Disorder) เป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มอาการป่วยทางจิตเวช เป็นภาวะสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับความคิดซ้ำ ๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ และเป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนสงสัยอยู่ว่าตนเองนั้นเข้าข่ายต่ออาการป่วยหรือไม่ ขณะที่ผู้ป่วยบางรายก็ประสบอยู่โดยไม่รู้ตัว แต่ถึงอย่างไรนั้นโรคย้ำคิดย้ำทำไม่ใช่โรคที่อันตราย แต่ก็ก่อให้เกิดความทุกข์ใจ และสร้างปัญหาต่อการทำกิจวัตรประจำวัน การงาน หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้ ดังนั้น การตกหลุมรักเธอคนเดิมซ้ำ ๆ ไม่ได้เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำนะคะ
สาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำ
1. พันธุกรรม
มีการศึกษาเทียบโอกาสการเกิดโรคในกลุ่มทายาทในตระกูลของคนที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ จะสูงกว่ากลุ่มควบคุมประมาณ 3-5 เท่า (แต่การศึกษาไม่ได้แยกปัจจัยอื่น ที่อาจมีอิทธิพลต่อผลของการศึกษา เช่น การเลี้ยงดู หรือวัฒนธรรมประเพณี) และมีการศึกษาเทียบโอกาสการเกิดโรคจะเกิดในคนที่เป็นแฝดไข่ใบเดียวกันมากกว่าแฝดไข่คนละใบ
2. สารสื่อประสาท หรือสารเคมีในสมอง
มีการศึกษาที่สนับสนุนในเรื่องการเสียสมดุลของสารสื่อสารประสาทที่ชื่อว่า “Serotonin” เกี่ยวข้องกับอาการย้ำคิดย้ำทำ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบว่าการดเสียสมดุลของ Serotonin ทำให้เกิดโรคได้อย่างไร แต่ยาที่มีผลต่อระดับ Serotonin ในสมองสามารถใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ
3. กายวิภาคทางสมอง
จากการศึกษาการทำงานของสมองของผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ ได้พบการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองส่วน Orbitofrontal Cortex, Caudate และ Thalamus ทำให้เกิดการตั้งสมมติฐานการเกิดโรคย้ำคิดย้ำทำมีความเกี่ยวข้องกับวงจรสมองที่เรียกว่า Coticostriatal Pathway
4. ปัจจัยทางความคิด และพฤติกรรม
ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ มีแนวโน้มประเมินผลร้ายจากความคิดที่ผุดขึ้นมาของตนเองมากเกินไป ไม่สามารถอดทนต่อความกังวลที่เกิดขึ้นได้ ทำให้เกิดการแก้ไขความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างไม่เหมาะสม เช่น การย้ำทำ หรือการหลบเลี่ยง อันเป็นสิ่งที่ยิ่งกระตุ้นให้ความคิดผุดขึ้นมาบ่อยมากขึ้น
5. ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านจิตใจ
จริงๆ รายละเอียดของทฤษฎีค่อนข้างยากที่จะทำความเข้าใจ ดังนั้นจึงขออนุญาตอธิบายคร่าวๆ ว่า การเลี้ยงดูที่มีลักษณะเข้มงวดกวดขันมากเกินพอดี อาจสามารถส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในใจ ได้แก่ วิตกกังวล ก้าวร้าว เคลือบแคลงใจ และลังเลใจ เมื่อเกิดความขัดแย้งในใจขึ้นมาแล้ว ธรรมชาติของใจจะมีกลไกป้องกันทางจิตที่พยายามประนีประนอมความขัดแย้งนี้ ซึ่งนำมาสู่การแสดงออกของอาการย้ำคิดย้ำทำที่เกิดขึ้น
อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ
อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ จะถูกแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ อาการย้ำคิด (Obsession) และอาการย้ำทำ (Compulsion)
คือ การมีความคิดหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเองซ้ำๆ โดยไร้เหตุผล ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลใจ ความไม่สบายใจอย่างมาก เช่น
- คิดซ้ำ ๆ ว่าจะทำร้าย หรือทำสิ่งไม่ดีกับคนอื่นหรือตัวเอง
- คิดซ้ำ ๆ ว่าลบหลู่ หรือด่าว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์
- กลัวเชื้อโรค กลัวความสกปรก
- คิดซ้ำ ๆ ว่าลืมปิดแก๊ส หรือลืมล๊อคประตู
2. อาการย้ำทำ
คือ พฤติกรรม หรือการกระทำการบางอย่างซ้ำ ๆ เพื่อป้องกัน หรือช่วยลดความไม่สบายใจจากความย้ำคิดข้างต้น และเป็นการกระทำที่ตนเองก็รู้สึกได้ว่าไร้เหตุผล ไร้สาระที่จะกระทำแต่ก็หักห้ามจิตใจไม่ให้ทำไม่ได้ เช่น
- เช็คลูกบิดประตู หรือวาล์วแก๊สซ้ำ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าปิดเรียบร้อยแล้ว
- ล้างมือซ้ำเพราะคิดว่ามือสกปรก
- นับของซ้ำแล้วซ้ำเล่า
- ซักผ้าหรือทำความสะอาดมากเกินไป
การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ
เป็นวิธีที่ใช้ในการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำได้ดี เป็นการบำบัดให้ผู้ป่วยเปลี่ยนวิธีการคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ไม่ควรรีบร้อนจนเกินไป ทั้งนี้ควรได้รับความร่วมมือจากคนใกล้ชิด โดยต้องมีความเข้าใจในอาการและแนวทางการรักษาร่วมกัน
การรับประทานยาร่วมกับการทำจิตบำบัดแบบ Cognitive Behavioral Therapy จะให้ผลการรักษาดีกว่า แพทย์จะให้ยาช่วย ผู้ป่วยควรรับประทานอย่างต่อเนื่อง และมาพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำ เพื่อให้การรักษาได้ผลดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นายแพทย์อินทณัฐ ผู้สันติ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id