อัมพาตเฉียบพลัน และ โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โรคนี้กำลังเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปแล้วมากกว่า 80 ล้านคน ซึ่งเป็นโรคที่น่ากลัวที่หลายคนคิดว่าเป็นได้เฉพาะผู้สูงวัย แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะสามารถเกิดขึ้นได้ในวัยกลางคน โดยสัญญาณเตือนคือ “ แตก ตีบ ตัน ” ต้องมารักษาให้ทันภายใน 4.5 ชม. ถ้าไม่ทันอาจเป็นอัมพาตเฉียบพลันได้
สังเกตอาการโรคหลอดเลือดสมอง ( Stroke )
เมื่อสมองเกิดภาวะขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สาเหตุของอาการอัมพาตเฉียบพลัน เกิดจากการที่เส้นเลือด “แตก ตีบ ตัน” ขัดขวางการลำเลียงเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์สมอง สมองจึงทำงานได้ไม่ปกติ โดยร่างกายจะแสดงสัญญาณเตือน WARNING!! ให้เรารู้ตัวก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะอันตรายมาก และรักษายาก หรือรักษาไม่ได้อย่าง “ อัมพาตเฉียบพลัน ” สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของโรคหลอดเลือดสมองนั่นเอง
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะ เส้นเลือด “แตก ตีบ ตัน” อันจะไปสู่ “อัมพาตเฉียบพลัน” อยู่ 2 ประเภท
- ความดันโลหิตสูง
- เบาหวาน
- ไขมันในเลือดสูง
- โรคหัวใจ
- การสูบบุหรี่
- ยาคุมกำเนิด โรคซิฟิลิส
- การไม่ออกกำลังกาย
- อายุที่เพิ่มขึ้น
- อาการหลอดเลือดสมอง (Stroke) แตก ตีบ ตันเฉียบพลัน จากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้เส้นเลือดเสียหายไม่ได้ประสิทธิภาพ
ซึ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ เกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สาเหตุของอัมพาตเฉียบพลัน
สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- F - Face ใบหน้าเบี้ยว
- A - Arm แขนขาชา หรืออ่อนแรง
- S - Speech พูดไม่ชัด พูดไม่ได้
- T – Time เวลาทุกนาทีมีค่า เพราะผู้ป่วยมีเวลาเพียง 4.5 ชม. หรือ 270 นาทีเท่านั้น ที่แพทย์จะทำการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ให้หาย เพื่อป้องกันอาการอัมพาตเฉียบพลัน และการเสียชีวิต
วิธีการรักษา โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- แพทย์จะทำการตรวจด้วยเครื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งสามารถตรวจดูภาพหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองได้ดี หรือการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT SCAN) ที่สามารถบอกได้ว่าหลอดเลือดในสมองมีการแตกหรือตีบตัน
- การฉีดสีเพื่อดูตำแหน่งของการตีบตันภายในสมองด้วยเครื่อง CATH LAB ภาพที่ได้จะสามารถเห็นมุมของหลอดเลือดสมอง (Stroke) ขณะทำการรักษาได้ในรูปแบบ 3 มิติ เพื่อป้องกันอัมพาตเฉียบพลัน
- การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ใช้วิธีผสมผสานการให้ออกซิเจนบำบัด (Oxygen Therapy) วิตามิน (Vitamin Boost)
- การฟื้นฟูหลอดเลือด (Vascular Flush)
- การทำกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
- การใช้เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (TMS:Transcranial Magnetic Stimulation) เพื่อฟื้นฟูเซลล์สมอง
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) กรณีเส้นเลือดในสมอง “แตก” แพทย์รักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ด้วยวิธีควบคุมไม่ให้เลือดออกเพิ่ม หรือ ต้องผ่าตัด
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) กรณีที่เส้นเลือด “ตีบ” หรือ “ตัน” สามารถแบ่งประเภทการรักษาเป็น 2 วิธี คือ ฉีดยาสลายลิ่มเลือด และ ขยายหลอดเลือดสมองด้วยบอลลูน โดยใช้สายสวนเข้าไปเพื่อขยาย และดึงเอาลิ่มเลือดออกมา เลือดจึงเดินทางได้ปกติ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จึงมีอาการดีขึ้น
“โรคหลอดเลือดสมอง” (Stroke) สาเหตุของอาการอัมพาตเฉียบพลัน โรคนี้ดูผิวเผินเหมือนร่างกายแข็งแรงดี แต่เมื่อถึงจุดพีค เส้นเลือดในสมอง “แตก ตีบ ตัน” จึงจะแสดงอาการรุนแรงของ “โรคหลอดเลือดสมอง” (Stroke) ออกมา ซึ่งการตรวจหาความเสี่ยงและเช็กร่างกายตัวเองอยู่เสมอจำเป็นมาก เพื่อป้องกันอัมพาตเฉียบพลัน เช่น ตรวจวัดความดัน ตรวจไขมัน รักษาโรคหัวใจ งดสูบบุหรี่ และหมั่นออกกำลังกาย
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ ถ้าคุณมีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค มีข้อแนะนำดังนี้
- ต้องออกกำลังกายย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์
- ต้องรักษาน้ำหนักให้พอดี ไม่อ้วน
- ควบคุมระดับไขมันในเลือด
- จำกัด หรือหลีกเลี่ยงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (มาดูวิธีเลิกเหล้า)
- งดสูบบุหรี่
- ต้องลดอาหารเค็มจัด
- เลือกทานอาหารไขมันต่ำมีเส้นใยมาก
- หมั่นตรวจสุขภาพร่างกายเพื่อหาความเสี่ยง
- ที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ยิ่งต้องต้องดูแลเป็นพิเศษ
- ต้องหมั่นสังเกตอาการ และเตรียมพร้อมพบแพทย์เสมอ เพื่อรักษาทัน ป้องกันอัมพาตเฉียบพลัน
ขอขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id