รู้หรือไม่? ปวดคอ บ่า ไหล่ เสี่ยงเป็น 3 โรค

รู้หรือไม่? ปวดคอ บ่า ไหล่ เสี่ยง 3 โรค อะไรบ้าง ไปดูกัน!

 

  อาการปวดคอ บ่า ไหล่ หรือ ออฟฟิศซินโครม  เป็นโรคที่ในปัจจุบันมีคนเป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่วัยทำงาน แต่ปัจจุบัน เด็ก หรือวัยรุ่นก็เป็นกันเยอะขึ้น เนื่องจากในช่วงระบาดของโควิด 19 ทำให้มีการเรียนออนไลน์ และทำงานอยู่ที่บ้านค่อนข้างเยอะ ทำให้ปวดคอ บ่า ไหล่ได้ง่าย เพราะนั่งทำงานอยู่แต่ในบ้าน ไม่ได้ขยับร่างกายมากเท่าที่ควร ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวันก็ไม่เหมือนปกติ ทำให้ต้องอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ จนเกิดอาการปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ได้ บางคนอาจจะเกิดแค่อาการเจ็บปวดก็หาย แต่บางคนก็มีอาการปวดเรื้อรัง หรือโรคอื่น ๆ ขึ้นได้ เราได้ดูกันว่าโรคที่เกิดจากอาการปวดคอ บ่า ไหล่ มีอะไรบ้าง? ไปดูกันเลย

 

   โรคที่เกิดคอบ่าไหล่ ได้แก่

        โรคที่ 1 ( ข้อ ) อาการปวดจากข้อต่อกระดูกคอ ( Facet Joint )

        โรคที่ 2 ( หมอนรองกระดูก ) หมอนรองกระดูกคอมีปัญหาแบบไม่ระคายเคืองเส้นประสาท

        โรคที่ 3 ( เส้นประสาท ) หมอนรองกระดูกคอมีปัญหา ข้อกระดูกคอเสื่อมแบบระคายเคืองเส้นประสาท ถ้าเรารักษาแต่กล้ามเนื้อ บางที่อาการปวดจะวนเวียน เช่น ดีขึ้นวันสองวันแล้วก็กลับมาปวดอีก เพราะการรักษาจะแตกต่างกับกล้ามเนื้อค่อนข้างชัดเจน บางทีคนไข้ก็รักษาเฉพาะกล้ามเนื้อมานาน กว่าจะวนกลับมาเจอหมอแล้วก็ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย

   

   สาเหตุของ 3 โรคสำคัญ ที่มาช้า

โรคที่ 1 อาการปวดจากข้อต่อกระดูกคอ ( Facet Joint )

  • เพราะปัจจุบันประชากรทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยหนุ่ม สาว พนักงานออฟฟิศที่มีพฤติกรรมนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ บางครั้งอาจจะมีพฤติกรรมนั่งในท่าที่ผิดๆ ก้มหน้าพิมพ์งาน ข้อคอด้านหลังก็จะมาอยู่ใกล้กัน กล้ามเนื้อคอด้านหน้าจะเกิดการตึง และกล้ามเนื้อหน้าอกจะหดสั้นขึ้น ทำให้บางทีคนไข้ที่มีปัญหา Facet Joint

การป้องกัน

  • รักษากล้ามเนื้อด้านหน้า รักษาหัวไหล่ รักษาบ่า ก็จะเบาลง แต่ไม่ได้รักษาที่ต้นคอ คือ Facet Joint จะทำให้บางที่มีอาการเหมือนจะดีขึ้น และก็กลับมาปวดอีก ทำให้ต้องนวดบ่อย ทำกายภาพบ่อย บางทีทานยาคลายกล้ามเนื้อก็ไม่หายขาดสักที ซึ่งคนไข้ทุกท่านที่เช็กอาการตัวเองจากโรค คอ บ่า ไหล่ เวลาแหงนคอสุด ข้อมันก็จะยิ่งอัดกันให้แน่นขึ้น โดยอันนี้เป็นตัวที่ทำให้คนไข้ทุกท่านสามารถเช็กง่ายขึ้นว่า อาการปวดแนวแกนกลางคอ เกิดสาเหตุมาจาก อาการปวดจากข้อต่อกระดูกคอ หรือเปล่า 

การรักษา

  • การเปลี่ยนวินัยในการใช้งาน เช่น การใช้งาน คอ บ่า ไหล่
  • ปรับท่าทางการนั่ง
  • ยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ
  • ออกกำลังกาย
  • รักษาโดยการใช้คลื่น อัลตราซาวด์ และเครื่อง Shock wave

 

โรคที่ 2 หมอนรองกระดูกคอมีปัญหาแบบไม่ระคายเคืองเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกคอมีปัญหา ซึ่งประกอบไปด้วย หมอนรองกระดูกคอเสื่อม หมอนรองกระดูกคออักเสบ หรือ หมอนรองกระดูกคอปลิ้น โดยอาการของหมอนรองกระดูกมีปัญหามักจะมาร่วมกับกล้ามเนื้อ เพราะฉะนั้น บางทีเรารักษาเฉพาะกล้ามเนื้ออย่างไรนั้น มองข้ามกระดูกคอที่มีปัญหาไปได้เลย แต่อย่างไรก็ตามหมอนรองกระดูกคอมีปัญหา จะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ            

  1. หมอนรองกระดูกคอมีปัญหาแบบไม่ระคายเคืองเส้นประสาท

ส่วนใหญ่อาการจะเกิดเวลาคนไข้ขยับข้อคอเยอะ ไม่ว่าจะหันซ้ายหรือหันขวา ก้มหน้าหรือแหงนคอ มันจะไม่ได้มีท่าเฉพาะเจาะจงเหมือนข้อกระดูกคอหรือข้อต่อกระดูกคอ มีปัญหาที่จะเป็นมากตอนแหงนคอหรือหันคอสุด

  2. หมอนรองกระดูกคอมีปัญหาแบบระคายเคืองเส้นประสาท

ส่วนใหญ่วินิจฉัยค่อนข้างยาก บางทีอาจจะต้องอาศัยการเอ็กซเรย์ หรือ MRI ร่วมด้วย ซึ่งทำให้การรักษามีความเฉพาะเจาะจงมากที่สุด ถ้าเรามีปัญหาหมอนรองกระดูกคอ และ Trigger Point การรักษา หรือการยืดกล้ามเนื้อ ท่าทางการยืดกล้ามเนื้อจะไม่เหมือนกับคนที่ไม่มีปัญหาหมอนรองกระดูกคอ มีแต่ Trigger Point อย่างเดียว คอด้านหน้าที่ตึง คอด้านข้างที่ตึง ถ้ามีปัญหาหมอนรองกระดูกคอ คนไข้ไม่ควรยืดกล้ามเนื้อสุด แล้วก็ไม่ควรแหงนคอสุด และในคนไข้ที่มีปัญหาหมอนรองกระดูก การยืดกล้ามเนื้ออาจจะต้องอาศัยนักกายภาพที่มีประสบการณ์ เรื่องกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะกระดูกคอ อาจจะต้องปรับท่ายืดในท่าตึง คอขึ้น และเอียงนิดหน่อย หรือไม่ก็ยืดในท่านอน เพื่อลดแรงกดต่อกระดูกคอ และหมอนรองกระดูกคอ ถ้าสงสัยว่าตัวเองมีปัญหาปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอ รักษาเท่าไหร่ก็ไม่ดีขึ้น หันคอแล้วก็รู้สึกว่ามันติดขัดแล้วไม่สบายคอ แนะนำให้ไปพบแพทย์ทันทีเพื่อที่จะได้ร่วมกันวางแผนการรักษา และบางทีถ้าวินิจฉัยได้ไม่ค่อยชัดเจน อาจจะต้องเอ็กซเรย์ หรือ MRI ควบคู่ด้วย เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง และหายไว

 

โรคที่ 3 หมอนรองกระดูกคอมีปัญหาข้อกระดูกคอเสื่อมแบบระคายเคืองเส้นประสาท

ถ้าคนไข้ไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทาง หรือคนไข้ไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง มัวแต่รักษาเรื่องกล้ามเนื้อ บางทีกล้ามเนื้อมันอ่อนแรง กล้ามเนื้อมันก็จะลีบ และทำให้การใช้งานและฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ อาจจะไม่ได้กลับมา 100% เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้สึกว่าเรามีอาการปวดกล้ามเนื้อ แต่ว่าปวดร้าวด้วย รักษาทางกาย และรักษาโดยการทานยา หากไม่ดีขึ้น สิ่งที่สำคัญสุดควรรีบปรึกษา และพบแพทย์ ว่าการรักษาที่ถูกต้อง มันทำให้หายกลับมาได้ 100% หรือไม่ก็หายกลับมาได้มากที่สุด แต่ถ้าเราวินิจฉัยช้า รักษาตรงจุดช้า การฟื้นตัวจะกลับมาไม่ครบ 100% มันเสียโอกาสที่จะรักษาให้เต็มที่

สอบถามข้อมูล
และจองคิวกายภาพบำบัด

 

 
KIN Clinic คลินิกกายภาพบำบัด
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 8 อาคาร T3 Residence ปากซอยนาคนิวาส 20 ลาดพร้าว 71 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230
LINE@ สอบถามรายละเอียด @kinClinic (มี@ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/vuwOSaC
แผนที่เดินทาง : https://shorturl.asia/IvCJR
 
KIN Origin Healthcare
สาขา Sukhumvit 107
 
สาขา Ramintra

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab