โรคมะเร็งจากฝุ่นPM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่ส่งผลไม่เล็กอย่างที่คิด!!

โรคมะเร็งจากฝุ่นPM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่ส่งผลไม่เล็กอย่างที่คิด!!

 

   ในช่วง 3 – 4 ปีมานี้ นอกจากโรคระบาดโควิด19 ที่ส่งผลอันตรายต่อปอดแล้ว ฝุ่น PM2.5  ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ที่มีผลกระทบต่อปอดด้วยเช่นกัน หากไม่ป้องกันอาจส่งผลร้ายแรงในอนาคต เพราะด้วยขนาดฝุ่นที่เล็กจิ๋ว จึงสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอด และกระแสเลือดโดยตรง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังได้  ถึงแม้ในปัจจุบันยังไม่แสดงอาการ แต่ส่งผลเสียในอนาคตอย่างแน่นอน

 

   เนื่องจากฝุ่น PM2.5 เกิดจากมลพิษทางอากาศ เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ไอเสียรถยนต์ การเผาขยะ การเผาเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม รวมไปถึงการใช้ฟืนหุงต้มอาหาร เป็นต้น ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก  ทำให้เกิดการระคายเคือง แสบจมูก ไอ จาม มีเสมหะ หอบหืด หัวใจวายเฉียบพลัน หลอดเลือดสมองตีบ และที่อันตรายที่สุดอาจถึงขั้นเป็นมะเร็งปอด โรคมะเร็งที่สามารถเกิดได้จาก PM2.5 เป็นมะเร็งชนิดต่อม หรือ อะดีไนคาร์ซิมา (Adenocarcinoma) ซึ่งมะเร็งชนิดนี้ ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย แล้สสำหรับใครที่สูบบุหรี่อยู่แล้ว เมื่อสูด PM2.5 เข้าไปแล้ว มีความเสี่ยงเป็นเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ดังนั้นควรงดการสูบบุหรี่ และสวมหน้ากาก N95 อยู่เสมอเพื่อลดความเสี่ยง

 

   ด้วยสาเหตุนี้กรมอนามัยจึงเผยว่า “#ANAMAINEWS กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนเฝ้าระวังและป้องกันตนเองจากผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก หวั่นหากได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จำนวนมากติดต่อกันในระยะยาว เสี่ยงเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็งได้ พร้อมย้ำ ควรลดกิจกรรมนอกอาคาร และอยู่ภายในอาคารให้มากขึ้น เมื่อมีความจำเป็นต้องออกนอกอาคาร ควรใส่หน้ากากสำหรับป้องกันฝุ่น PM2.5”

   “ทั้งนี้ กรมอนามัยขอให้ประชาชนและกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้สูงอายุ ป้องกันตนเองจากฝุ่น PM2.5 โดยลดกิจกรรมนอกบ้านและอยู่ภายในบ้านหรือในอาคารให้มากขึ้น ควรใส่หน้ากากสำหรับป้องกันฝุ่น PM2.5 เมื่อต้องออกนอกอาคาร งดออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงในที่ที่มีฝุ่นมาก งดสูบบุหรี่ และหากมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการระคายเคืองบริเวณทางเดินหายใจ แสบจมูก แสบคอ หายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย หรือไอ ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที และให้ช่วยกันลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว อีกทั้ง ประชาชนควรเฝ้าระวังตนเองด้วยการประเมินอาการจากการรับสัมผัส PM2.5 พร้อมรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้ที่เว็บไซต์ “4HealthPM2.5” หรือ เว็บไซต์ “คลินิกมลพิษออนไลน์” และหากมีอาการรุนแรง เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย หายใจมีเสียงหวีด ให้รีบไปพบแพทย์ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ สายด่วนกรมอนามัย 1478 หรือกรมควบคุมโรค 1422” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

(ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอนามัย)

 

กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวัง

- ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ

- ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

- เด็ก

- ผู้สูงอายุ

- สตรีมีครรภ์

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีค่ามลพิษในอากาศสูงเกินมาตรฐาน เนื่องจากอาจมีอาการกำเริบและรุนแรงมากกว่าบุคคลทั่วไป

 

วิธีการรับมือกับ PM 2.5

- ติดตามรายงานสภาพอากาศและระดับ PM 2.5 อย่างสม่ำเสมอ

- ในบ้าน หรืออาคารควรใช้เครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้

- สวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือ สวมหน้ากาก N95 เมื่อต้องออกจากบ้านหรืออาคาร

- สวมแว่นกันลม กันฝุ่น สวมเสื้อแขนยาวมิดชิด

- ลดเวลาการอยู่นอกบ้าน/อาคารโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อ PM 2.5 สูง เช่น เด็ก หญิงตั้งครรภ์ คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง

- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง

 

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 

สำหรับใครที่สนใจ หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมในการรักษาฟื้นฟูกับ KIN
สามารถติดต่อได้ที่  
 โทร : 02-096-4996 กด 1 , 091-803-3071 , 095-884-2233
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab