ข้อควรระวัง ในการออกกำลังกายในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง

ข้อควรระวัง ในการออกกำลังกายในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง

 

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือ อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นอาการของแขน ขา หรือใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งชา อ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก หรือเคลื่อนไหวไม่ได้ อย่างทันทีทันใด เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองตีบ ตัน หรือแตก ทำให้เนื้อสมองขาดอาหารและออกซิเจน เกิดภาวะเนื้อสมองเสียหาย แต่อย่างไรนั้นการออกกำลังกายอย่างถูกต้องด้วยตนเองเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของรยางค์ส่วนบนในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ก็ยังเป็นการช่วยลดอาการบวม ป้องกันภาวะหดรั้งของกล้ามเนื้อ และ ลดการเกิดภาวะข้อติด เป็นการลดภาระและการพึ่งพิงบุคคลอื่นโดยเฉพาะผู้ดูแล ดังนั้นข้อควรระวัง และข้อห้าม ในการออกกำลังกายในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจเป็นอันดับต้นๆในการฟื้นฟูสมรรถภาพและการดูแลผู้ป่วย

 

ข้อควรระวัง และข้อห้าม ในการออกกำลังกายในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

 

ข้อควรระวัง
- ระวังในผู้ป่วยที่มีกระดูกหัก กระดูกผุกร่อน
- ไม่ควรออกแรงเร็วและแรง
- หลีกเลี่ยงในช่วงเวลาอักเสบ

 

ข้อห้าม
- ข้อต่อที่มีการจำกัดการเคลื่อนไหว
- การอักเสบเฉียบพลัน ติดเชื้อ (ร้อน บวม)
- มีอาการปวดเสียวในข้อขณะเคลื่อนไหว

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟู
- ความรุนแรงของรอยโรค
- แรงผลักดัน ความตั้งใจ
- ความสามารถในการเรียนรู้
- การควบคุมอารมณ์และการดูแลจากครอบครัว
- การนำสิ่งที่ฝึกไปใช้และการปรับตัว
- โรคที่เกิดแทรกซ้อน
- การฟื้นฟูและการฝึกฝน

 

การป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

แผลกดทับ หมายถึง การถูกทำลายเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก ซึ่งเป็นผลมาจากความรุนแรงของแรงกด อาจจะร่วมกับแรงไถล หรือการถูกกดเป็นระยะเวลานาน


ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ได้แก่
1. ช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรือไม่ได้เลย นอนติดเตียงตลอดเวลา มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว
2. ไม่รู้สึกตัวหรือรับรู้การเปลี่ยนแปลง ซึมลง กระสับกระส่าย สับสน
3. รูปร่างผอม ผิวหนังบางและมองเห็นปุ่มกระดูกชัดเจน

 

ตำแหน่งปุ่มกระดูกที่พบแผลกดทับได้บ่อย
ท่านอนหงาย : ตำแหน่งบริเวณกระดูกก้นกบ ส้นเท้า ข้อศอก กระดูกสันหลัง สะบัก และท้ายทอย
ท่านอนตะแคง : ตำแหน่งบริเวณกระดูกสะโพก ตาตุ่ม เข่า ไหล่ หู
ท่านั่ง : ตำแหน่งบริเวณ กระดูกก้นกบ หลัง ไหล่ ส้นเท้า ข้อศอก

 

ขอขอบคุณข้อมูล : กภ.กาญจนา แก้วกอง

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 

สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
     
 
 โทร : 02-096-4996 กด 1 , 091-803-3071 , 095-884-2233
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab