ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน
1.ระยะเริ่มต้น โรคนี้ในช่วงแรกจะไม่มีอาการอะไร จะแสดงอาการต่อเมื่อกระดูกหักไปแล้ว ดังนั้นหากสงสัยว่าตัวเองเสี่ยงควรพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจมวลกระดูก คำนวณความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหัก
2.ระยะรุนแรง ในระยะนี้กระดูกจะบางมากๆ อาจจะส่งผลให้กระดูกสันหลังหัก บุบหรือพอนานๆไปจะรู้สึกปวดร้าวลงที่ขาซีกซ้าย หลังโก่งค่อม ส่วนสูงลดลง เนื่องจากการหัก และยุบตัวของกระดูกสันหลัง บางครั้งอาจเกิดการปวดหลังร้าวลงมาบริเวณหน้าอก
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน
1. อายุที่มากขึ้น
ส่งผลให้กระบวนการทดแทนเสริมสร้างกระดูกส่วนที่สึกหรอช้าลง ดังนั้นหากร่างกายขาดแคลเซียมในปริมาณที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน
2. ฮอร์โมน
การลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิง เมื่อย่างก้าวเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนอาจทำให้กระดูกพรุน และเปราะบาง ส่วนในเพศชายจะมีความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุน เมื่อมีการผลิตฮอร์โมนเทสเทอโรน (Testosterone) น้อยลง
3. กรรมพันธุ์
ผู้มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับพันธุกรรมของโรค
4. ความผิดปกติในการทำงานของต่อมอวัยวะต่างๆ
เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ไต ตับ ทำงานผิดปกติ และการขาดการออกกำลังกาย
การรักษาโรคกระดูกพรุน
1. ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)
มีในกลุ่มผู้ป่วย ตัดรังไข่หรือเพื่อลดอาการจากการหมดประจำเดือน
2. แคลซิโทนิน (Calcitonin)
เป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่สกัดจากปลาแซลมอน ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก และลดอุบัติการณ์กระดูกสันหลังหัก มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้
3. บิสฟอสโฟเนต (Bisphosphonates)
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายกระดูก ช่วยลดความเสี่ยงต่อกระดูกสันหลังหักยุบ และกระดูกสะโพกหักได้
4. การรักษาโดยการผ่าตัด
เพื่อแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะกระดูกหัก เช่น การฉีดซีเมนต์ที่กระดูกสันหลัง ในรายที่กระดูกสันหลังหัก หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ในรายที่กระดูกสันหลังหัก เป็นต้น
5. การทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วย
กายภาพบำบัดจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ส่งผลในการทรงตัวขึ้น ติดโอกาสที่จะเกิดการพลัดตก หกล้ม ผิวมวลกระดูกไม่เสื่อมสลายเร็ว ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดจะทำการประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแต่ละมัด เพื่อออกแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล นอกจากนี้การออกกำลังกายภายในน้ำ หรือ ธาราบำบัด สามารถช่วยลดแรงกระแทกระหว่างการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่มีอาการปวดได้อีกด้วย
วิธีป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
1. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินสูง อย่างสม่ำเสมอ
2. ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดิน การวิ่ง เต้นแอโรบิค กระโดดเชือก รำมวยจีน เต้นรำ เป็นต้น ร่วมกับการยกน้ำหนักจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ทั้งกระดูกและกล้ามเนื้อ
3. รับแสงแดด ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ควรจะออกไปรับแสงแดดอ่อนๆยามเช้า และยามเย็น วันละ10-15 นาที
4. รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์
5. ระมัดระวังการใช้ยา โดยเฉพาะยากลุ่มสเตรอยด์ที่ต้องใช้ติดต่อเป็นเวลานาน
6. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน เช่น
6.1 ไม่ดื่มน้ำอัดลมปริมาณมาก เพราะกรดฟอสฟอริกในน้ำอัดลมทำให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น
6.2 หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอลฮอล์ในปริมาณมาก เพราะแอลกอลฮอล์จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้เล็ก
6.3 งดการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่กระตุ้นให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น
6.4 ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจกรองกระดูกพรุนในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนหรือกระดูกหัก
พฤติกรรมการทำลายกระดูก
1. การนั่งไขว่ห้าง
จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลทำให้กระดูกคต
2. การนั่งหลังงอ หลังค่อม
เช่น การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานๆเป็นชั่วโมง จนทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดจากการคั่งของกรดแล็คติก มีอาการเมื่อยล้า ปวด และปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา
3. การนั่งกอดอก
จะทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรงหรือชาได้
4. การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น
จะทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงาน เพราะเป็นฐานในการรับน้ำหนักตัว
5. การยืนแอ่นพุง / หลังค่อม
การยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อยเพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่น และทำให้ไม่ปวดหลัง
6. การยืนขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว
การยืนที่ถูกต้องควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่ากัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพก จึงจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย
7. การใส่ส้นสูง
หากใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่งจะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่น
สาขา รพ.ประสานมิตร ถนนพหลโยธิน (รับเฉพาะผู้ป่วยนอก)
โทร : 080-553-1991 / 081-632-8188
LINE สอบถามรายละเอียด @KinPrasanmit (มี @ ข้างหน้า)
หรือ Click : https://lin.ee/UPfzPk7
หรือ Clink line : https://lin.ee/AB1DkvQ