กล้ามเนื้อฉีกขาด เกิดจากอะไร ?
ภาวะกล้ามเนื้อฉีกขาด คือ ภาวะที่เส้นใยมัดกล้ามเนื้อบาดเจ็บหรือฉีกขาดพบได้บ่อยในผู้ที่เล่นกีฬาหรือคนทำงานที่ต้องใช้แรง โดยเกิดขึ้นจากการที่กล้ามเนื้อในร่างกายถูกใช้งานมากเกินไป หรือยืดตัวมากเกินไป รวมทั้งจากการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดจนไม่สามารถขยับร่างกายหรือเคลื่อนไหวได้ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดที่มีการฉีกขาด และในส่วนที่มีการใช้งานหนัก เช่น หลังส่วนล่าง หน้าอก หน้าท้อง ต้นขาด้านหลัง และเอ็นร้อยหวาย เป็นต้น และการบาดเจ็บจากกล้ามเนื้อฉีกขาดนั้นอาจมีรอยฟกช้ำหรือบวมร่วมด้วย
สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อฉีกขาด
- การใช้งานหนักเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อแบบเดิมซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น การยกของหนัก การเล่นกีฬา
- การเกิดอุบัติเหตุ เช่น การถูกชนกระแทกอย่างแรง การสะดุด และลื่นล้ม
- การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างหนัก โดยไม่ได้ยืดอบอุ่นร่างกาย และคลายกล้ามเนื้อ
อาการของภาวะกล้ามเนื้อฉีกขาด
ผู้ที่มีกล้ามเนื้อฉีกขาดอาจพบสัญญาณและอาการที่แตกต่างกันไปตามความรุนแรง เช่น
- กล้ามเนื้อกระตุก
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ปวดหรือแข็งกดเจ็บ
- การเคลื่อนไหวที่จำกัด
- รอยแดงหรือช้ำ
- บวม
การรักษาภาวะกล้ามเนื้อฉีกขาด
- พักการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นอย่างน้อยประมาณ 2-3 วันเพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บมากขึ้น
- ประคบเย็นเพื่อลดอาการปวด บวม
- รับประทานยา เพื่อบรรเทาอาการปวดและบวม
- การกายภาพบำบัด
- พบแพทย์ทางด้านกระดูกและข้อ เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าการบาดเจ็บนี้ เป็นภาวะกล้ามเนื้อฉีกหรือไม่
การป้องกันภาวะกล้ามเนื้อฉีกขาด
การป้องกันถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยไม่ให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อฉีก ดังนี้
- การอบอุ่นร่างกาย ยืด-คลายกล้ามเนื้อให้ถูกวิธี ทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มากเกินไป
- นักกีฬาควรระมัดระวังการเล่นกีฬา เพื่อลดอาการบาดเจ็บที่เสี่ยงต่อกล้ามเนื้อฉีก
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น พื้นลื่น
- หลีกเลี่ยงการยกของหนักและการทำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมนานๆ
ขอขอบคุณข้อมูล : ดร.นพ.ภูวพงศ์ นิ่มกิ่งรัตน์
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id