ปวดหลังส่วนล่าง ปัญหาใหญ่ของชาวออฟฟิศ

 ปวดหลังส่วนล่าง ปัญหาใหญ่ของชาวออฟฟิศ

ปวดหลัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งในปัจจุบันพบมากขึ้นในหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ ส่งผลมาจากการนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมนานๆ นั่งอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานานๆจนทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง โดยอาจเป็นมากจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันหรือการนอนหลับได้

 

อาการปวดหลังสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ส่วนที่มีอาการปวด

  1. ปวดหลังส่วนบน มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อที่คอ บ่า ร่วมกับหลังส่วนบนมากเกินไป เช่น สะพายกระเป๋าข้างเดียว หรือสะพายกระเป๋าหนักเกินไป และการถือของหนัก
  2. ปวดหลังส่วนกลาง มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อหลังส่วนกลาง และกล้ามเนื้อด้านข้างในการบิดตัวมากเกินไป
  3. ปวดหลังส่วนล่าง เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในวัยทำงาน โดยจะมีอาการปวดหลังตั้งแต่ระดับคอลงไปจนถึงบริเวณก้นกบ โดยอาการส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในบริเวณบั้นเอวไปจนถึงก้นกบ
 

สัญญาณเตือนของโรคต่างๆ โดยโรคเกี่ยวกับหลังที่พบได้บ่อยๆ อาทิ

- โรคของเอ็นและกล้ามเนื้อหลัง

- โรคความเสื่อมข้อติดกระดูกสันหลัง

- โรคของหมอนรองกระดูก

- โรคช่องกระดูกสันหลังตีบ

- โรคเกี่ยวกับการผิดรูปของกระดูกสันหลัง

- โรคกระดูกสันหลังติดเชื้อ

- โรคการอักเสบที่ไม่ใช่ติดเชื้อ

- โรคมะเร็งซึ่งรวมทั้งมะเร็งของกระดูกสันหลัง และ มะเร็งแพร่กระจาย มาที่กระดูกสันหลัง

- โรคที่เกิดจากอุบัติเหตุของกระดูกสันหลัง

นอกจากนี้ อาการปวดหลังส่วนล่าง อาจเป็นอาการแสดงของโรคที่ไม่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ภาวะทางจิตใจ เป็นต้น

 

โรคที่พบได้บ่อยเมื่อมีอาการปวดหลังส่วนล่าง

  1. โรคเอ็นกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน (Acute back strain)
  2. โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Lumbar disc herniation)
  3. โรคช่องบรรจุไขสันหลังตีบ (Spinal stenosis)
 

หากมีอาการปวดหลัง ร่วมกับอาการเหล่านี้ ควรรีบมาพบแพทย์ !!

ปวดหลังเรื้อรัง ร่วมกับมีอาการชา อ่อนแรงตามแขนขา ปวดหลังและมีไข้ ปวดหลังในเวลากลางคืน นอนพักก็ไม่หาย ระบบขับถ่ายผิดปกติ

 

การรักษา

  • การประคบร้อน ประคบเย็น
  • การใช้ธาราบำบัด
  • การใช้อัลตร้าซาวด์เพื่อลดปวด
  • การใช้เลเซอร์
  • การใช้เครื่องช็อกเวฟ เพื่อคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวด
  • การนวด และการฝังเข็ม
 

ขอขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ

สอบถามข้อมูล
และจองคิวกายภาพบำบัด

 

 
KIN Clinic คลินิกกายภาพบำบัด
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 8 อาคาร T3 Residence ปากซอยนาคนิวาส 20 ลาดพร้าว 71 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230
โทร  084-993-6988 / 02-020-1171
LINE@ สอบถามรายละเอียด @kinClinic (มี@ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/vuwOSaC
แผนที่เดินทาง : https://shorturl.asia/IvCJR
 
KIN Origin Healthcare
สาขา Sukhumvit 107
 
สาขา Ramintra

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab