6 อาการเสี่ยง โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ ภาวะความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่มักพบในวัยสูงอายุ หรืออายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันพบในหนุ่มสาววัยทำงานมากขึ้น เนื่องจากการทำอิริยาบถที่ผิดท่าซ้ำๆ กันเป็นประจำ เช่น การนั่งทำงานท่าเดิมซ้ำๆนานๆ การทำงานที่ต้องก้มๆเงยๆเป็นประจำ และการยกของหนัก เป็นต้น โดยพฤติกรรมดังกล่าวนั้นทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น และทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกตามไปด้วย จนไปถึงอาจทำให้เกิดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทได้ โดยเบื้องต้นจะเกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ร้าวลงแขน บางรายอาจมีอาการชาร่วมด้วย
สาเหตุของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- การยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
- นั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง
- นั่งท่าเดิมนานๆ
- น้ำหนักตัวที่มากเกินไป
- การทำงานที่ต้องก้มๆเงยๆเป็นประจำ
- อุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง
อาการของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- ปวดหลังร้าวลงขาร่วมกับอาการชาที่ขาและเท้า
- ปวดคอร้าวลงแขน
- เจ็บปวดหลังมากเวลาที่ก้มหรือแอ่นหลัง
- ยืนนานก็ปวด นั่งนานก็ปวด
- ไอ จาม แล้วเจ็บเสียวแปล๊บที่หลัง
- ปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ
- รับประทานยาแก้อักเสบหรือยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวด
- การทำกายภาพบำบัด
- การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
- หลีกเลี่ยงการก้มเงย
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- ออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบๆ หลังให้แข็งแรง
- ยืดกล้ามเนื้อหลัง เพื่อเป็นการลดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง
- การผ่าตัดหมอนรองกระดูก
*หากใครมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคกระดูกและข้อ หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และรับการรักษาก่อนที่จะทำให้เกิดภาวะเรื้อรังได้ ไปจนถึงขั้นอัมพฤกษ์อัมพาต หรือพิการได้
ขอขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
สาขา รพ.ประสานมิตร ถนนพหลโยธิน (รับเฉพาะผู้ป่วยนอก)
โทร : 081-632-8188 / 083-441-1363
LINE สอบถามรายละเอียด @KinPrasanmit (มี @ ข้างหน้า)
หรือ Click : https://lin.ee/UPfzPk7
หรือ Clink line : https://lin.ee/AB1DkvQ