โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุก็เป็นได้

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุก็เป็นได้


รู้หรือไม่!? โรคข้อเข่าเสื่อมไม่ได้เป็นแค่ในผู้สูงอายุ
   ใครเคยได้ยินแบบนี้บ้าง “โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดกับผู้สูงอายุ” แต่จริง ๆ มันไม่ใช่ ที่เราเข้าใจผิดแบบนั้น เพราะเราได้ยินเสียงผู้สูงอายุ ร้องปวดขา ปวดเข่า เวลาลุก นั่ง หรือเดินอยู่เป็นประจำ แต่จริง ๆ แล้ว ข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับวัยอื่น ๆ ด้วย เพราะสิ่งที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม นอกจากกาลเวลาแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกด้วย

   อาการข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูก ทำให้การทำงานของกระดูกข้อต่อ หรือบริเวณใกล้เคียงเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่สามารถกลับมาสู่สภาพเดิมได้ และในอนาคตอาจเกิดความรุนแรงได้ อาการข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่มักจะพบกับคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันวัยทำงานก็สามารถเป็นข้อเข่าเสื่อมได้ เนื่องจากอายุที่มากขึ้นจนเกิดอาการเสื่อมสภาพของกระดูก การใช้งานเข่าเป็นจำนวนมากในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ การคุกเข่า น้ำหนักตัวที่มากเกินไป การขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ หรือแม้กระทั่งโรคประจำตัวบางโรค ก็สามารถทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ หากไม่รีบทำการรักษา หรือชะลออาการเสื่อม อาจทำให้อาการข้อเข่าเสื่อมมีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลในการใช้ชีวิตประจำวัน


สัญญาณเตือนข้อเข่าเสื่อม
มีเสียงในเข่า
งอเข่าได้ไม่สุด
ปวดภายในข้อเข่า
เข่าฝืดแข็ง ทำให้เหยียดขา หรืองอเข่าลำบาก
เมื่อเคลื่อนไหวจะเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณรอบหัวเข่า
เวลาเดิน นั่ง ลุก หรือลงบันได มีอาการปวด หรือเจ็บแปล็บ ๆ


สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม
คนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป มักจะมีเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
มีความผิดปกติของข้อเข่า ข้อเข่าผิดรูป เข่าชนกัน และขาโก่ง
มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
มีอาการบวมที่บริเวณข้อเข่า
การใช้ข้อเข่า และงอเข่ามากเกินไปจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การนั่งขัดสมาธิ การคุกเข่า การนั่งยอง ๆ และการนั่งพับเพียบ เป็นเวลานาน
มีประวัติการเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า ซึ่งอาจเกิดจากการออกกำลังกาย ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงจากการเกิดข้อเข่าเสื่อม
กรรมพันธุ์ หรือผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
มีประวัติการติดเชื้อในข้อเข่า หรือโรคอักเสบต่าง ๆ อาทิเช่น โรคอักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าท์


วิธีการชะลอการเสื่อมของข้อเข่า

หากน้ำหนักตัวมากเกินไป ให้ลดน้ำหนักเพื่อลดแรงกดของเข่า
ประคบอุ่น เพื่อลดอาการปวด
ลดการงอเข่าที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งยอง ๆ คุกเข่า นาน ๆ รวมถึงการเดินขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ ด้วย
ออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า
หากมีอาการปวดข้อเข่ามากให้ใส่สนับเข่า
หากปวดข้อเข่าข้างเดียวให้ใช้ไม้ช่วยพยุง หากปวดข้างซ้ายให้ถือไม้เท้าขวา ถ้าปวดข้างขวาให้ถือไม้เท้าด้านซ้าย
หากเกิดอาการปวดเป็นระยะเวลามากกว่า 1 – 2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์ เพื่อไปทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อทำการรักษาได้อย่างเหมาะสม


การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

รักษาโดยการใช้ยา
   - ฉีดยาสเตียรอยด์
   การฉีดยาสเตียรอยด์ เป็นวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่มักจะใช้ในผู้ป่วยที่ข้อเข่ามีอาการอักเสบแบบเฉียบพลัน หรือผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการทานยา โดยยาสเตียรอยด์นั้นจะช่วยลดอาการอักเสบ บวม และแดงได้อย่างรวดเร็ว แต่ว่าฤทธิ์ยาจะอยู่ได้ในระยะสั้น ดังนั้น การฉีดยาสเตียรอยด์จึงเลือกใช้ในกรณีที่จำเป็น หรือตามดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น

   - ฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียม
   การฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียม เป็นวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่ใช้ในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแรกจนถึงปานกลาง โดยการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมนั้นสามารถช่วยลดอาการปวดของผู้ป่วยได้ เพราะว่าน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมจะช่วยเพิ่มความหล่อลื่นให้กับข้อเข่า และช่วยลดแรงกระแทกบริเวณข้อเข่าได้ในบางส่วน ซึ่งน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมจะออกฤทธิ์ เพื่อช่วยลดอาการปวดช้ากว่ายาสเตียรอยด์ แต่ว่าสามารถช่วยลดอาการปวดได้นานกว่า

   - ฉีด PRP (Platelet Rich Plasma)
   การฉีด PRP (Platelet Rich Plasma) หรือที่หลาย ๆ คนอาจจะเรียกว่าการฉีดเกล็ดเลือด เป็นวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการนำเลือดของผู้ที่รับการรักษามาปั่น เพื่อแยกเกล็ดเลือด และสารช่วยสร้างเนื้อเยื่อ หลังจากนั้นจะนำเกล็ดเลือดเข้มข้นที่ได้ไปฉีดในส่วนข้อที่มีปัญหา ซึ่งวิธีนี้สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ และช่วยให้บริเวณที่บาดเจ็บมีอาการดีขึ้น แถมยังเป็นวิธีที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง และผลข้างเคียงต่ำอีกด้วย


   - การทำกายภาพบำบัด
   การทำกายภาพบำบัด เป็นวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการเน้นไปที่การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และต้นขาด้านหลัง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพยุง พร้อมกับรับน้ำหนักของตัวเองได้มากขึ้น และช่วยแบ่งเบาน้ำหนักที่ถ่ายลงมายังข้อเข่าได้มากขึ้น ซึ่งสามารถเสริมสร้าง และฟื้นฟูกล้ามเนื้อหัวเข่าให้แข็งแรงมากขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยบรรเทาอาการปวดหัวเข่าให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แถมยังช่วยป้องกันอาการปวดเข่าในระยะยาวได้อีกด้วย


   - การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

   การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่ช่วยลดอาการปวดข้อได้ดีที่สุด เพราะว่าเป็นการผ่าตัดที่ใส่ข้อเข่าเทียมครอบข้อเข่าเดิมที่มีการเสื่อมสภาพและสึกหรอ ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีเทคโนโลยีในการผ่าเข่าที่ก้าวหน้า ส่งผลให้แผลของผู้ป่วยนั้นมีขนาดเล็ก ใช้เวลาในการผ่าเข่าสั้นลง และไม่ต้องพักฟื้นนาน จึงทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกถึงอาการปวดข้อเข่าที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แถมยังสามารถใช้งานข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

 

(ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสินแพทย์)


โรคข้อเข่าเสื่อมอาจจะเป็นโรคที่หลายคนไม่ให้ความสำคัญมากนัก เพราะอาจเกิดจากความเข้าใจผิดจากการปวดเข่าจากการเมื่อยล้าธรรมดา ซึ่งหากปล่อยไว้นานเข้า อาจจะส่งผลรุ่นแรง และส่งผลในการใช้ชีวิต ดังนั้น ควรรีบสังเหตุอาการ และรักษาให้ถูกต้อง และเหมาะสมให้ไวที่สุด นอกจากการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุแล้ว คนในวัยทำงาน หรือวัยอื่น ๆ ก็ควรสังเกตอาการ และทำการรักษาเช่นกัน เพราะโรคข้อเข่าเสื่อมไม่ใช่ได้เกิดขึ้นแค่ในผู้สูงอายุ แต่เกิดขึ้นได้ทุกวัย

 

KIN - Rehabilitation & Homecare 
สาขา ลาดพร้าว 71

เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71)

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : KIN - Rehabilitation & Homecare
 แผนที่ : https://bit.ly/2VvPDq6

KIN Origin Healthcare Wellness Center
สาขา สุขุมวิท 107

596 หมู่ 7 ซอยแบริ่ง 10 ถนนแบริ่ง 107
สำโรงเหนือ เมืองสมุทรปราการ 

เวลาทำการ  ทุกวัน 09.00 – 18.00 น.

 : Kin Origin Sukhumvit 107
 แผนที่ : https://shorturl.asia/KxzBk


ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab