การบาดเจ็บของไขสันหลังคืออะไร แล้วมีกี่ประเภท?
ความสำคัญของระบบประสาทส่วนกลางบริเวณไขสันหลัง
ระบบประสาทของร่างกายประกอบไปด้วย สมองและไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางควบคุมและทางผ่านของสัญญาณประสาทหลักของร่างกาย ดังนั้นหากเกิดความผิดปกติที่ สมองหรือไขสันหลังจึงส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติได้หลายอย่างตามมา ขึ้นกับตำแหน่งและระดับที่ได้รับผลกระทบว่าอยู่ที่บริเวณใด ระดับการบาดเจ็บที่ไขสันหลังนั้นมีความสำคัญกับระดับเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ความรุนแรงของการบาดเจ็บจะส่งผลการความรุนแรงร่วมด้วยเช่นกัน
การบาดเจ็บของไขสันหลัง หรือ Spinal cord injury (SCI) คืออะไร
ภาวะที่เกิดการบาดเจ็บของไขสันหลังตั้งแต่ระดับแรกที่บริเวณคอเป็นต้นไปไปจนถึงเส้นประสาทสุดท้ายก้นกบ ความรุนแรงของภาวะนี้ขึ้นกับระดับไขสันหลังได้รับความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุหรือไม่ใช่อุบัติเหตุที่เกิดจากตัวโรคสิ่งเหล่านี้ ทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของร่างกาย ทั้งทางด้านการสั่งการหรือรับความรู้สึกของผู้ป่วยนั้นเกิดความผิดปกติตามมาเป็นต้น
การบาดเจ็บของไขสันหลังสามารถแบ่งได้อย่างไร
การแบ่งประเภทของการบาดเจ็บของไขสันหลังนั้นสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ การแบ่งประเภทที่ได้รับความนิยมที่สุด คือ แบ่งตามความรุนแรงของการบาดเจ็บไขสันหลัง ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ
- การบาดเจ็บของไขสันหลังแบบสมบูรณ์ การบาดเจ็บไขสันหลังแบบสมบูรณ์นั้นการส่งสัญญาณประสาทจากสมองไปบริเวณที่ต้องการควบคุมหรือสั่งการนั้นไม่สามารถทำได้ และการรับสัญญาณประสาทความรู้สึกจากส่วนล่างเพื่อส่งไปยังสมองก็ไม่สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ในทางกายภาพบำบัดผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการรักษาโดยให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลื่อตัวเองให้ได้มากที่สุดโดยใช้งานส่วนที่ยังหลงเหลือทนแทนส่วนที่ขาดไปและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ แต่อย่างไรก็ตามความสามารถของผู้ป่วยที่จะสามารถฟื้นฟูได้นั้นยังมีปัจจัยอื่นๆที่ต้องมองด้วยเช่นกัน ทั้งเรื่องระดับไขสันหลังที่ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น
- การบาดเจ็บของไขสันหลังบางส่วน การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลให้ทางเดินเส้นประสาทบางส่วนได้รับผลกระทบ เกิดความเสียหาย อาจมีการรับความรู้สึกลดลง กำลังกล้ามเนื้อลดลง การรับความรู้สึกหรือกำลังกล้ามเนื้ออย่างใดอย่างหนึ่งลดลง หรือการเสียหายของสัญญารประสาทอย่างได้อย่างหนึ่งสูญเสียไป ทั้งนี้ขึ้นกับตำแหน่งที่ได้รับความเสียหายและความรุนแรงที่เกิดขึ้น ดังนั้นความสามารถของผู้ป่วยที่นักกายภาพบำบัดฟื้นฟุให้ได้นั้นมีความหลากหลายมากกว่าและเป้าหมายของผู้ป่วยสามารถไปได้มากกว่าผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของไขสันหลังแบบสมบูรณ์ในระดับเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามจากที่กล่าวมาข้างต้นหากต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยเสมอ
อ้างอิง
- กายภาพบำบัดกับการบาดเจ็บไขสันหลัง Physical Therapy and Spinal Cord Injury, รศ.ดร.สุกัลยา อมตฉายา. คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
![](upload/images/icon/tel.png)
![line](upload/images/icon/line.png)
![](upload/images/icon/facebook1.png)
![](upload/images/icon/blockdit1.png)
![](upload/images/icon/Instagram3.jpg)
![](upload/images/icon/youtube.png)
![](upload/images/icon/twister.png)
![](upload/images/icon/pinterest.png)
![](upload/images/icon/map.png)
สาขา รพ.ประสานมิตร ถนนพหลโยธิน (รับเฉพาะผู้ป่วยนอก)
โทร : 081-632-8188 / 083-441-1363
LINE สอบถามรายละเอียด @KinPrasanmit (มี @ ข้างหน้า)
หรือ Click : https://lin.ee/UPfzPk7
หรือ Clink line : https://lin.ee/AB1DkvQ