เช็คตัวเองดูหรือยัง ??
ว่าคุณเข้าค่าย “ โรคข้อเข่าเสื่อม ” (Knee Osteoarthritis) หรือไม่ !?
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ ทุกวิธีล้วนเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ เพื่อบรรเทาอาการปวดเท่านั้น และยังมีข้อจำกัดในการรักษาอีกด้วย เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า แม้ว่าจะสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ แต่ก็มีอายุใช้งานได้นานแค่ 10-15 ปี ข้อเข่าเสื่อม เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ (1) ใช้ข้อมากเกินไป เช่น น้ำหนักตัวมากไป เดินขึ้นลงบันไดมากไป วิ่งมากไป และ (2) ใช้ข้อน้อยเกินไป เช่น นั่งเฉยๆมากไป เข้าเฝือกนานไป
“อาการปวด”
ช่วงเริ่มแรก อาจปวดจี๊ด (sharp pain) มักคาดเดาได้ว่าจะปวด เช่น ปวดแน่ถ้าใช้ข้อต่อของเข่า พักก็หายอาการปวดมักจะแย่ลงในช่วงบ่ายและหัวค่ำ แต่อาจแย่ลงในตอนเช้าทันทีหลังจากตื่นนอน นอกจากนี้ยังอาจมีอาการปวดตอนกลางคืนในผู้ที่มีข้อเสื่อมรุนแรง ซึ่งอาจรบกวนการนอนหลับ ในบางคนอาการปวดจะมีอาการแสบร้อน (neuropathic) กระจายอยู่รอบ ๆข้อ และสัมพันธ์กับอาการเสียวชา และยิบๆคล้ายเข็มทิ่มแทง ช่วงหลัง อาการปวดมักเป็นแบบหน่วงหนัก แต่บางครั้งก็ปวดรุนแรงขึ้นแบบที่ไม่สามารถคาดเดาได้ จนในที่สุดในระยะท้าย ความเจ็บปวดที่รุนแรงนั้นจะเป็นตัวจำกัดการเคลื่อนไหวอาการปวดอาจรุนแรงขึ้นถ้านั่งเป็นเวลานาน ๆ ลุกยืนขึ้นจากเก้าอี้ที่เตี้ยเกินไป และการขึ้นเดินลงบันได (จะมีแรงกดที่เข่าเป็น 3 เท่าของน้ำหนักตัว) ขาลงบันไดมักจะเจ็บปวดมากกว่าขาขึ้น จำง่ายๆว่า ลงเหมือนลงนรก แต่ถ้าขึ้นเหมือนขึ้นสวรรค์
“เช็คอาการ”
หากปวดเข่า แล้วไม่แน่ใจว่าเป็นข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ ให้ถามตนเอง ว่ามีอาการ 5 ข้อดังต่อไปนี้ด้วย หรือไม่
1.เข่ากรอบแกรบ
- มีเสียงดังกรอบแกรบในข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว (crepitus)
2.กดเจ็บกระดูก
- กดเจ็บที่กระดูกข้อเข่า (bony tenderness)
- การกดเจ็บมักอยู่ในเส้นแนวของข้อต่อ (ถ้ากดแล้วเจ็บห่างออกไป อาจเป็นเนื้อเยื่ออ่อนรอบข้ออักเสบ มากกว่าจะเป็นข้อเสื่อม)
3.เข่าฝืดหรือข้อหนืด
- ข้อมักฝืดตึงหลังตื่นนอนตอนเช้า โดยเป็นนาน <30 นาที (stiffness)
4.ข้อใหญ่
- ข้อใหญ่ผิดรูป (bony enlargement)
- อาจดู ขาโก่ง หรือเข่าฉิ่ง ซึ่งแม้จะดูเข่าใหญ่ๆ แต่กล้ามเนื้อรอบข้อเข่า อาจดูลีบเล็กไม่สมดุล
5.ข้อไม่ร้อน
- ไม่พบว่ามีอาการข้ออุ่น (no palpable warmth)
- โรคข้อเข่าเสื่อมไม่ได้มีการอักเสบเป็นสาเหตุหลัก จึงมักไม่พบลักษณะข้ออุ่นหรือร้อน (ยกเว้นกรณีที่เป็นรุนแรง) – ส่วนโรคที่ข้อมีอาการปวดบวมแดงร้อนนั้น มักเป็นโรคข้ออักเสบเช่นเกาต์หรือรูห์มาตอยด์มากกว่าผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า แล้วตอบว่า “ใช่” ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป มีโอกาสที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
“การไปพบแพทย์”
เมื่อแพทย์ตรวจและวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ มีวิธีรักษาทางการแพทย์ เช่น
- ให้ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ซึ่งไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย ความดันโลหิตสูง – แต่จะย้อนแย้งกับลักษณะของโรคที่เป็นโรคเรื้อรังและอาจต้องกินยาบรรเทาอาการปวดกันระยะยาว (อ้อ! กรณีเข่าเสื่อม ยาแก้ปวดพาราเซตตามอลไม่ช่วยแก้ปวดได้นะ ไม่ต้องกินเสริม)
- ยาชะลอความเสื่อมหรือยากระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อ (ปกติกระดูกอ่อนผิวข้อจะไม่สร้างขึ้นใหม่) จึงมักพบว่า ไม่มียาหรืออาหารเสริมใดที่จะช่วยได้จริง
- ฉีดน้ำไขข้อเทียมซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นเฉลี่ย 6 เดือนถึง 1 ปีแล้วต้องฉีดใหม่ แต่มีราคาค่อนข้างสูง (13,000-16,000 บาท) หลักฐานจากการทดลองขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูงบ่งว่าวิธีนี้มีประโยชน์เพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่ต่างจากยาหลอก โดยทั่วไปผู้เชี่ยวชาญ [1,2] ไม่แนะนำให้ใช้กันแล้ว
- การผ่าตัด เช่น ผ่าตัดจัดแนวกระดูกใหม่เพื่อลดเข่าโก่ง ส่องกล้องเข้าไปในข้อ หรือผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โดยการผ่าตัดถือเป็นทางเลือกสุดท้ายจะใช้ในผู้ที่มีอาการมากและรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล จะเห็นได้ว่า เมื่อเข่าเสื่อมแล้ว เสื่อมเลย แก้ยาก จึงควรกันไว้ดีกว่าแก้
ลองเช็คตัวเองดูหรือยัง ??
ว่าคุณเข้าค่าย “ โรคข้อเข่าเสื่อม ” (Knee Osteoarthritis) หรือไม่ !?
- เข่ามีเสียงดังกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหว
- กดเจ็บกระดูก
- ข้อฝืด หรือข้อหนืด
- ข้อใหญ่ผิดรูป ขาโก่ง
- ข้อปวดบวมแดงร้อน
หากคุณมีอาการเหล่านี้ อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษาอย่างตรงจุด
สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูคิน โรงพยาบาลประสานมิตร (อยู่ภายในโรงพยาบาลประสานมิตร ติดถนนพหลโยธิน ระหว่างซอยอารีย์กับซอยพหลโยธิน 9)
(เฉพาะสาขาโรงพยาบาลประสานมิตร ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกได้ตามสิทธิ ของกรมบัญชีกลาง)
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูคิน KIN Rehab Center ให้บริการรักษาโรคกระดูกและข้อ ฟื้นฟูกระดูกและข้อครบวงจรรักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยนวัตกรรมทันสมัย PRP ฉีดน้ำเลี้ยงข่อเข่า รักษาอาการปวดข้อเข่า ฟื้นฟูข้อเข่าให้แข็งแรง ลดอาการปวดตึง ปวดหลัง ปวดเข่า บาดเจ็บจากการออกกำลังกาย รักษาด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและทีมฟื้นฟูที่มีคุณภาพ โดย ทีมแพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อ (Orthopedic) และนักกายภาพบำบัด
วันจันทร์-ศุกร์ เปิด เวลา 09.00 - 20.00 น. (แพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อ ออกตรวจ เวลา 17.00-20.00 น.)
วันเสาร์-อาทิตย์ เปิด เวลา 09.00-18.00 น. (แพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อ ออกตรวจ เวลา 9.00-12.00 น.)
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id