รีวิว คุณสุรพล ใช้บริการโปรแกรมฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองขั้นสูง กลับบ้านได้ใน 1 เดือน
ผู้รับบริการมาด้วยอาการโรคหลอดเลือดสมองตีบ มีอาการอ่อนแรงด้านขวา หรือที่เรียกว่าอัมพฤกษ์ครึ่งซีก ซึ่งสามารถช่วยเหลือตนเองได้เล็กน้อย มีอาการพูดไม่ชัด ได้มาใช้บริการของทาง KIN โดยใช้ โปรแกรมฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองขั้นสูง มีทีมฟื้นฟูโดยนักกายภาพบำบัด วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง และมีการทำกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ตามขั้นตอนโปรแกรมฟื้นฟู กระตุ้นการตื่นตัวทางร่างกายแลระบบประสาทและสมองของผู้เข้ารับบริการ พร้อมกับใช้เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) กระตุ้นบริเวณสมองและบริเวณกล้ามเนื้อไปพร้อมๆ กับการกายภาพบำบัดฟื้นฟู ทำให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น และยังมีการให้วิตามินบำรุงร่างกาย เพื่อทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่เพียงพอต่อการบำบัดฟื้นฟู และมีการให้วิตามินบำรุงสมอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทและสมองให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
หลังจากได้รับการฟื้นฟูเป็น ระยะเวลา 1 เดือน ผู้รับบริการสามารถเดินได้ด้วยไม้เท้าโดยมีผู้ประคองดูแลในระหว่างการเดิน พูดได้ชัดเจนขึ้น ช่วยเหลือตัวเองได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้ถึงเป้าหมายที่ทางญาติได้ตั้งเป้าหมายไว้
เครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อการรักษาโรคระบบประสาท (Trans Cranial Magnetic Stimulation System : TMS) คือ เครื่องที่ใช้ในการกระตุ้นสมองและระบบประสาทด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดไม่ต้องผ่าตัด (non-invasive magnetic stimulation) องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (The US Food and Drug Administration: FDA) ได้อนุญาตให้มีการใช้ transcranial magnetic stimulation (TMS) ในทางการแพทย์เพื่อใช้ในรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคไมเกรนชนิดมีออร่า โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยและนำมาใช้ในการรักษาในหลายๆ กลุ่มโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) การบาดเจ็บของไขสันหลัง (spinal cord injury) กล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) ตลอดจนกลุ่มโรคทางจิตเวช เช่น กลุ่มอาการพฤติกรรมการรับประทานผิดปกติ (eating disorder) โรคจิตเภท (schizophrenia) เป็นต้น
หลักการทำงานของเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า treatment coil โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวจะมีลักษณะใกล้เคียงกับเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging: MRI) ซึ่งเป็นการใช้กระแสแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดอ่อนๆ กระตุ้นให้วงจรกระแสประสาทสมองทำงาน ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและมีความปลอดภัยสูง
กลไกการออกฤทธิ์ของเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัย แต่มีรายงานว่าการกระตุ้นสมองซ้ำๆ ด้วย repetitive pulse transcranial magnetic stimulation (rTMS) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงจรกระแสประสาท ลดการทำงานของระบบต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต (hypothalamic-pituitary-adrenocortical system) เกิดการปรับเปลี่ยนของสารสื่อประสาท โดยในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สมองส่วนที่มีพยาธิสภาพจะทำงานลดลง สมองส่วนปกติจะทำงานมากขึ้น (hyperactive) ดังนั้นจึงมีการนำเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้ในการรักษา เพื่อกระตุ้นให้สมองส่วนที่มีพยาธิสภาพเกิดการทำงานเพิ่มขึ้น ตลอดจนกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น growth hormone, brain-derivated neurotopic factor ในขณะเดียวกันก็ลดการทำงานของสมองข้างที่ปกติในการส่งสัญญาณไปควบคุมสมองข้างที่มีพยาธิสภาพ
ปัจจุบันมีการนำเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (transcranial magnetic stimulation: TMS) มาใช้ในการฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวนมาก เช่น ภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา อาการพูดลำบาก อาการกลืนผิดปกติ พบว่ามีความปลอดภัย ผู้ป่วยสามารถทนต่อการรักษาได้และมีประสิทธิภาพสูงเมื่อทำควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด
หลักการทำงานของเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า treatment coil โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวจะมีลักษณะใกล้เคียงกับเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging: MRI) ซึ่งเป็นการใช้กระแสแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดอ่อนๆ กระตุ้นให้วงจรกระแสประสาทสมองทำงาน ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและมีความปลอดภัยสูง
กลไกการออกฤทธิ์ของเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัย แต่มีรายงานว่าการกระตุ้นสมองซ้ำๆ ด้วย repetitive pulse transcranial magnetic stimulation (rTMS) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงจรกระแสประสาท ลดการทำงานของระบบต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต (hypothalamic-pituitary-adrenocortical system) เกิดการปรับเปลี่ยนของสารสื่อประสาท โดยในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สมองส่วนที่มีพยาธิสภาพจะทำงานลดลง สมองส่วนปกติจะทำงานมากขึ้น (hyperactive) ดังนั้นจึงมีการนำเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้ในการรักษา เพื่อกระตุ้นให้สมองส่วนที่มีพยาธิสภาพเกิดการทำงานเพิ่มขึ้น ตลอดจนกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น growth hormone, brain-derivated neurotopic factor ในขณะเดียวกันก็ลดการทำงานของสมองข้างที่ปกติในการส่งสัญญาณไปควบคุมสมองข้างที่มีพยาธิสภาพ
ปัจจุบันมีการนำเครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (transcranial magnetic stimulation: TMS) มาใช้ในการฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวนมาก เช่น ภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา อาการพูดลำบาก อาการกลืนผิดปกติ พบว่ามีความปลอดภัย ผู้ป่วยสามารถทนต่อการรักษาได้และมีประสิทธิภาพสูงเมื่อทำควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด
KIN ขอขอบพระคุณผู้รับบริการ และบุคคลในครอบครัว ที่อนุญาตให้เผยแพร่
ความประทับใจนี้
KIN ขอขอบคุณที่ผู้รับบริการ และบุคคลในครอบครัว ในความไว้วางใจให้ทางศูนย์ได้ดูแล ทางศูนย์พยายามอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือให้บุคคลที่ท่านรักได้กลับมาใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
Tags
ประสบการณ์ผู้ใช้บริการจริง (Testimonial) อื่นๆ
"ดูแลใกล้ชิดทุกวินาที คือโอกาส การฟื้นตัว ทีมพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลของ Kin Origin คือหัวใจของการฟื้นฟูแบบองค์รวม" รีวิวจากผู้เข้ารับบริการ คุณเจริญวิทย์ EP5

"ธาราบำบัด ลู่วิ่งในน้ำ การฟื้นฟูที่ปลอดภัย และรวดเร็วสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง" รีวิวจากผู้เข้ารับบริการ คุณเจริญวิทย์ EP4

"เป้าหมายการฟื้นฟู ไม่ใช่แค่ฝึกเดิน... แต่ฝึกใช้ชีวิตจริงด้วยการทำกิจกรรมบำบัด" รีวิวจากผู้เข้ารับบริการ คุณเจริญวิทย์ EP3

“สามเดือนแรกหลังออกจากโรงพยาบาล คือช่วงเวลาทองในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง” รีวิวจากผู้เข้ารับบริการ คุณเจริญวิทย์ EP2
