ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ หรือ Transient Ischemic Attack (TIA) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้บ่อยในโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากสมองบางส่วนขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงชั่วขณะ เกิดขึ้นจากการอุดตันบริเวณหลอดเลือดสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง (1-2 ชั่วโมง) และหายไปได้เองภายใน 24 ชั่วโมง จากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่เคยมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ มีโอกาสก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมาได้สูงมากกว่าบุคคลทั่วไป
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ เกิดได้จากอะไรบ้าง? และมีปัจจัยใดที่เกี่ยวข้อง?
สาเหตุที่ส่งผลให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้
- เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณสมองมีการตีบแคบลง จากการบาดเจ็บของเส้นเลือดส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแข็งตัวและหนาตัวขึ้น หรือมีไขมันอุดตันบริเวณผนังหลอดเลือด ทำให้เส้นเลือดขนาดเล็กส่วนปลายไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้
- ความดันโลหิตสูง
- ในผู้ป่วยที่มีภาวะเฉพาะ เช่น ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง ลูคีเมีย หรือภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงมากเกินผิดปกติ (polycythemia) ในกลุ่มอาการนี้ ส่งผลให้เกิดลิ่มเลือดได้ง่าย และมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด และสาเหตุทำให้เกิด โรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยง
- การสูบบุหรี่
- ความดันโลหิตสูง
- น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
- คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์
- โรคเบาหวาน
- ในผู้ป่วยที่มีภาวะเฉพาะ เช่น ภาวะโลหิตจาง โรคหัวเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
2. สับสน สื่อสารลำบาก (สื่อสารไม่เข้าใจ หรือพูดลำบาก)
3. มองเห็นภาพซ้อน
4. เดินลำบาก
5. ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
6. สูญเสียการทรงตัว
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient Ischemic Attack) สามารถรักษา และ ป้องกันได้อย่างไรบ้าง ?????
จากที่เราทราบว่าภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในทันทีทันใด และอาการจะหายได้เองภายใน 24 ชั่วโมง ดังนั้นการรักษาจะเป็นการป้องกันตั้งแต่ความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ นั่นคือ การป้องกันภาวะดังต่อไปนี้
- งดสูบบุหรี่
- ทานยาตามแพทย์สั่งเป็นประจำ เมื่อทราบว่าตนเองมีภาวะความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน
- ออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอร์
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id