นั่งขับรถนาน เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลัง
อาการ”ปวดหลังส่วนล่าง” เป็นอาการที่พบได้บ่อยกับคนทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศ แม่ค้า พ่อค้า นักเรียน นักศึกษา และที่พบบ่อยๆเลยก็คือ พนักงานขับรถสาธารณะนั่นเอง เช่น คนขับรถเมล์ รถตู้ หรือรถแท็กซี่ หรือใครก็ตามที่ต้องใช้เวลาขับรถในหนึ่งวันมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพราะการขับรถก็เป็นอิริยาบถหนึ่งที่มักผิดท่าได้ง่ายเช่นเดียวกับท่านั่งทำงานในออฟฟิศ การขับรถก็ต้องนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ มีการขยับของขาและสะโพกบ้าง และยิ่งคนตัวเล็กๆ ก็อาจจะยิ่งทำให้ปวดหลังส่วนล่างได้เพราะเวลาขับรถบางทีแผ่นหลังไม่ได้ชิดกับเบาะ ทำให้ต้องเกร็งกล้ามเนื้อหลังตลอดเวลาการขับรถได้ 
สาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่าง 
อาการ”ปวดหลังส่วนล่าง”ที่เกิดขึ้นที่มีสาเหตุมาจากการขับรถนานแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆอีก ที่ทำให้ปวดหลังส่วนล่างได้ เช่น การนั่งทำงานในท่าเดิมๆ หรือผิดท่า การก้มหรือบิดตัวบ่อยๆ การยกของหนักเป็นประจำ การทำงานที่เกิดการสั่นสะเทือนเป็นประจำ เช่น การขุดเจาะ ขับรถบรรทุก หรืออาจจะเกิดจากอุบัติเหตุบริเวณหลัง โรคเอ็นกล้ามเนื้อและกระดูกเสื่อม กระดูกสันหลังติดเชื้อ หรือภาวะกระดูกสันหลังผิดรูป เป็นต้น 
ทำอย่างไร ถึงจะไม่ปวดหลังส่วนล่างจากการขับรถ 
การรักษาและดูแลอาการปวดหลังส่วนล่าง จากการขับรถก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี โดยวิธีที่ Bewell  จะนำมาบอกกัน สามารถใช้ได้กับคนที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างที่ไม่ถึงขั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่มีอาการปวดหรือชาร้าวลงไปที่ขา เป็นเพียงอาการปวดหลังส่วนล่างที่ถ้าพักก็ดีขึ้น แต่ถ้านั่งทำงานสักพักก็จะมีอาการปวดได้ 
โดยวิธีการรักษาและดูแลตัวเองจะมีอยู่ด้วยกัน 5 วิธี ดังนี้ 
1. การปรับพฤติกรรมในการขับรถ
เนื่องจากอาการปวดหลังส่วนล่างที่เกิดขึ้นมักมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อย่างการขับรถที่ต้องนั่งในท่าเดิมเป็นเป็นเวลานานๆ และบางทีหลังของเราไม่ชิดกับเบาะเวลาขับรถทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานตลอดเวลา จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงตัว หากเราเอี้ยวตัวผิดหรือบิดตัวผิดท่าก็ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาดภายในได้ และเมื่อเรากลับไปนั่งในท่าเดิมนานๆ ร่างกายจะเกิดกลไกป้องกันตัวเอง ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งและหดตัวซ้ำๆ จนเกิดเป็นกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง และเกิดอาการปวดตามมาได้ เราจึงควรปรับพฤติกรรมท่านั่งขับรถ ให้เกิดท่านั่งที่เหมาะสม ปรับเบาะรถให้เข้ากับการจับพวงมาลัย วางเท้าให้พอดีกับคันเร่งและเบรค หลังพิงกับเบาะให้ชิดมากที่สุด และหากต้องขับรถเป็นระยะทางไกลๆ ควรแวะพักทุกๆ 1 ชั่วโมงให้กล้ามเนื้อได้พักจากการทำงาน
2. การยืดกล้ามเนื้อ
การนั่งขับรถ มักจะอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน จนเกิดความตึงตัวของกล้ามเนื้อและทำให้ร่างกายขาดความยืดหยุ่น จนทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้เราจึงควรยืดกล้ามเนื้อลำตัว หลัง และขาหลังขับรถเพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดความผ่อนคลายและลดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ด้วย
3. การออกกำลังกาย
เมื่อเรายืดกล้ามเนื้อแล้ว ก็ต้องออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น โดยการออกกำลังกายควรเป็นการออกกำลังกายที่เน้นแกนกลางลำตัว เช่น การแพลงก์ ซิทอัพ หรือการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังมัดลึก เพื่อเพิ่มความกระชับให้กับกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่พยุงกระดูกสันหลังและเพิ่มความมั่นคงให้กับแนวกระดูกสันหลังด้วย
4. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ขับรถนาน ก้มเงยบ่อย
การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้อาการปวดหลังส่วนล่างบรรเทาอาการได้ดีที่สุด โดยพฤติกรรมเสี่ยงก็มีอยู่หลายพฤติกรรมไม่ว่าจะเป็นการนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน การนั่งทำงานในออฟฟิศ การขับรถนาน การยกของหนัก หรือการเอี้ยวหรือบิดตัวมากเกินไป เป็นต้น 
5. เสริมเบาะรองหลังและหมอนรองคอรถยนต์
การเสริมอุปกรณ์ในการนั่งขับรถก็จะช่วยทำให้เกิดความสบายขณะขับรถมากขึ้น อย่างการเสริมเบาะรองหลังก็จะช่วยทำให้หลังของเราชิดกับเบาะได้มากขึ้น การทำงานของหลังก็จะลดลงทำให้กล้ามเนื้อหลังสบายมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่ตัวเล็กเวลาขับรถแล้วบางที่การปรับเบาะรถเข้ามาชิดกับพวงมาลัยจนเกินไป การเสริมเบาะก็จะทำให้ปรับได้พอดีมากขึ้นหลังชิดกับเบาะพอดี และทำให้ระยะของขาและแขนพอดีกับเบรคและพวงมาลัยได้ ร่วมถึงหมอนรองคอจะช่วยรองรับศีรษะและป้องกันการสะบัดศีรษะไปทางข้างหลังอย่างรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ด้วย
อย่าปล่อยให้หลังทำงานหนักจากการขับรถ
ด้วยตัวช่วยเบาะรองหลังและหมอนรองคอในรถยนต์ ที่จะมาช่วยซัพพอร์ตหลังและคอของเราขณะขับรถให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น นั่งสบาย คลายเมื่อยได้ดี ทั้งเบาะรองหลังและหมอนรองคอทำจากวัสดุเมมโมรี่โฟม 100% ปลอกหุ้มเบาะเป็นผ้า Cooling silk ตัวผ้าเย็นสบาย ระบายอากาศได้ดี สามารถถอดไปซักได้ มาพร้อมสายรัดกับเบาะด้วยตัวล็อค 2 ชั้น ตัวเบาะรองหลังออกแบบมาให้รองรับทั้งสะโพกและแผ่นหลังได้อย่างครอบคลุม และตัวหมอนรองคอที่รองรับศีรษะได้เป็นอย่างดี ช่วยลดการกระแทกของศีรษะกับตัวพนักพิงศีรษะได้ดีและยังป้องกันการสะบัดศีรษะไปด้านหลังอย่างรุนแรงหากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้อีกด้วย 
ขอขอบคุณข้อมูล : bewellstyle

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

 

สาขาลาดพร้าว 71

KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare

 โทร : 091-803-3071 , 095-884-2233 , 02-020-1171
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id

 

KinClinic นาคนิวาส 20 ลาดพร้าว 71

 โทร : 084-993-6988 , 02-020-1171
 LINE สอบถามรายละเอียด @KinClinic (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : https://lin.ee/vuwOSaC

 

สาขา รพ.ประสานมิตร ถนนพหลโยธิน (รับเฉพาะผู้ป่วยนอก)

 โทร : 081-632-8188 / 083-441-1363
 LINE สอบถามรายละเอียด @KinPrasanmit (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : https://lin.ee/UPfzPk7

 

สาขาสุขุมวิท 107

Kin Origin Sukhumvit 107 (เปิดบริการเดือนเมษายน 2023)

 โทร : 065-909-2599 , 061-532-4909

สอบถามข้อมูล
และจองคิวกายภาพบำบัด

 

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab