การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทด้วยการทำกายภาพบำบัด
มีคนจำนวนไม่น้อย ในวัยทำงานที่มีมีปัญหาอาการปวดหลังเรื้อรัง และมีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ
จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ บางรายมีอาการรุนแรงมากขึ้น ซึ่งวิธีรักษาเดียวคือ การผ่าตัด
ทำให้อาจมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก เราควรเริ่มสังเกตอาการตั้งแต่เนิ่นๆ
วิธีสังเกตอาการ
1. มีอาการปวดมากขึ้น เมื่อไอ จาม เบ่ง ถ่าย และก้มหลัง
2. มีอาการปวดหลัง อาจร้าวลงขา
3. บริเวณขาอ่อนแรง เป็น 2 ข้าง หรือ สามารถเป็นข้างเดียวก็ได้
4. มีอาการปวดเมื่อแอ่นหลัง
ควรรีบพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพราะมีโอกาสที่จะเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
การรักษาทางกายภาพบำบัด
แพทย์จะทำการรักษาโดยให้ ยาและทำกายภาพบำบัด จะทำให้มีอาการดีขึ้น สามารถกลับมาดำรงชีวิตตามปกติ ภายใน 4-6 สัปดาห์ แต่ต้องระวังเรื่องท่าทางการทำงาน การยกของ และการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมด้วย
วิธีรักษาและฟื้นฟูร่างกายสำหรับกายภาพบำบัดมีอะไรบ้าง
1. การขยับข้อต่อ (Mobilization)
2. การออกกำลังกายเฉพาสำหรับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Mckenzie exercise)
3. การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด ได้แก่ Ultrasound, Traction
4. การใช้อุปกรณ์พยุงหลัง (Back support)
5. การปรับท่าทางในการทำงานและสถานีงาน (Posture and Work station) /การยศาสตร์ (Ergonomic)
ข้อดีของการรักษาทางกายภาพบำบัด
1. ป้องกันการเกิดปัญหาปวดหลังเรื้อรัง
2. ไม่มีผลข้างเคียง หรือภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
3. หากรักษาต่อเนื่อง และปฏิบัติตนตามคำแนะนำอย่างเหมาะสม สามารถหายขาดได้โดยไม่ต้องรับการผ่าตัด
4. ช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
5. ไม่ต้องพักหรือลางานเพื่อไปทำการรักษา
6. ช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษา หรือเดินทางไปรับการรักษา
ขอขอบคุณข้อมูล : yuusook , มหาวิทยาลัยมหิดล
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare








