กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy)
ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีทางกิจกรรมบำบัด เพื่อฟื้นฟูความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การทำงาน และการทำกิจกรรมในยามว่าง โดยใช้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นที่ผ่านการคิดวิเคราะห์แล้วโดยนักกิจกรรมบำบัด มาเป็นสื่อในการบำบัดรักษาเพื่อฟื้นฟูความสามารถ โดยกระบวนการตรวจประเมิน ส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพ
ฟื้นฟูความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การทำงาน และกิจกรรมในยามว่าง โดยการประเมินทางกิจกรรมบำบัดด้วยวิธีและเครื่องมือ ที่เป็นมาตรฐาน เช่น
• ฝึกทักษะการทำงานของกล้ามเนื้อแขนและการทำงานของมือ
• ฝึกทักษะด้านการรับรู้ ความเข้าใจ ฝึกสมาธิในการทำกิจกรรม
• ฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพ
• ฝึกการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและขั้นสูง เช่น การสวมใส่เสื้อผ้า
• ฝึกกระตุ้นระบบประสาทรับความรู้สึก
• ฝึกกระตุ้นการกลืนและการรับประทานอาหาร
• จัดทำเครื่องดามมือ อุปกรณ์เสริม และฝึกทักษะการใช้งาน
• การเตรียมหรือประกอบอาหาร การขับรถ
• ฝึกทักษะด้านการรับรู้ ความเข้าใจ ฝึกสมาธิในการทำกิจกรรม
• ฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพ
• ฝึกการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและขั้นสูง เช่น การสวมใส่เสื้อผ้า
• ฝึกกระตุ้นระบบประสาทรับความรู้สึก
• ฝึกกระตุ้นการกลืนและการรับประทานอาหาร
• จัดทำเครื่องดามมือ อุปกรณ์เสริม และฝึกทักษะการใช้งาน
• การเตรียมหรือประกอบอาหาร การขับรถ
(ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย)
"กิจกรรมบําบัด" หมายถึง การกระทําเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้และการพัฒนาเกี่ยวกับเด็ก โดยกระบวนการตรวจประเมิน ส่งเสริม ป้องกันบําบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถทํากิจกรรมต่างๆ ได้ เพื่อให้บุคคลดําเนินชีวิตได้ตามศักยภาพ โดยใช้กิจกรรม วิธีการ และอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาเป็นวิธีการในการบําบัด
(ขอบคุณข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒)
นักกิจกรรมบำบัดทุกคน ต้องได้รับใบปริญญา หรือใบประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญา ในสาขากิจกรรมบำบัด จากสถาบันการศึกษา และต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ สาขากิจกรรมบำบัด ถึงจะสามารถรักษาผู้ป่วยได้
กิจกรรมบำบัด บำบัดและรักษาใครบ้าง?
กิจกรรมบำบัด เป็นการบำบัดรักษาบุคคลทุกช่วงวัย ที่มีความลำบาก หรือไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ปกติ ซึ่งจะบำบัดรักษา ตั้งแต่
1. เด็ก : เนื่องจากเด็กบางคน มีพัฒนาการที่ล่าช้า และอาจมีเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียน เช่น เด็กกลุ่มออทิสติก เด็กสมาธิสั้น เด็กดาวน์ซินโดรม เด็กบกพร่องทางสติปัญญา เด็กสมองพิการ ฯลฯ จึงต้องทำกิจกรรมบำบัด เพื่อเพิ่มทักษะการเรียน การรับรู้ และส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้งการเข้าสังคม และการใช้ความคิดเชื่อมโยง
2. ผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย : ทำกิจกรรมบำบัดเพื่อ ส่งเสริมทักษะในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการสื่อสาร การรับรู้ความรู้สึก การรับรู้และความเข้าใจ รวมทั้งการเคลื่อนย้ายตัว และการฝึกกลืน ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บไขสันหลัง ผู้ป่วยที่ฟื้นฟูหลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก
3. ผู้สูงอายุ : จะเน้นการทำกิจกรรมบำบัดเพื่อคงความสามารถของสมอง และการทำงานในทำกิจวัตรประจำวัน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำงานอดิเรก การพูดคุยทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น รวมถึงการฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วย ส่งเสริมความความภูมิใจในตนเอง การใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และการเห็นคุณค่าในตัวเอง
4. ผู้ที่ความบกพร่องทางจิตสังคม : นักกิจกรรมบำบัด จะช่วยวางแผน จัดตารางการใช้ชีวิต ทักษะการเข้าสักคม การจัดการอารมณ์ การแสดงออกอย่างเหมาะสม สุขอนามัยให้กับผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร : 091-803-3071 , 095-884-2233 , 02-020-1171
LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
FaceBook : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation
Blockdit : https://www.blockdit.com/kinrehab
Instagram : https://www.instagram.com/kin.rehabilitation
Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
Twitter : https://twitter.com/KinRehab
Pinterest : https://www.pinterest.com/kinrehabilitation
แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
Tags