โรคยอดฮิตในปัจจุบัน Office Syndrome
อาการ Office Syndrome

1. นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน
2. ระหว่างทำงาน จะรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง
3. มีก้อนกล้ามเนื้อเกิดขึ้น
4. เมื่อกดไปจุดที่เจ็บ จะมีอาการร้าวไปตามกล้ามเนื้อ
5. มีการตึงของกล้ามเนื้อ เมื่อหันหรือยกแขนจะทำได้ลำบาก
6. เมื่อเกิดอาการปวดต้องกินยาแก้ปวด หรือไปนวดเพื่อให้หายปวด

***หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อประเมินอาการและทำการรักษา
คุณอยู่ระดับไหนของออฟฟิศซินโดรม

ระยะที่ 1 อาการปวดแบบเป็นๆ หายๆ
จุดเริ่มต้นของออฟฟิศซินโดรม มักเกิดขึ้นจากอาการเมื่อยล้าในช่วงเวลาทำงาน
บางทีอาจมีอาการปวดตามอวัยวะต่างๆ ร่วมด้วย ซึ่งอาการปวดจะหายไป
หลังจากพักร่างกายเป็นระยะเวลาหนึ่ง หรืออาจหายไปเลย และอาจปวดอีกครั้ง
ในช่วงเวลาดึกที่นอนพักผ่อนอยู่ อาการปวดเมื่อยอาจกินเวลาเป็นสัปดาห์หรือนานเป็นเดือน
เป็นๆ หายๆ อยู่อย่างนี้ การเรื้อรังดังกล่าวอาจพัฒนาไปสู่ระยะที่ 2
ที่มีอาการรุนแรงมากกว่าเดิม หากปล่อยปละละเลยสัญญาณอันตรายนี้ไป

ระยะที่ 2 ปวดคงค้างต่อเนื่อง
จากระยะแรกปวดเมื่อยธรรมดา ระยะต่อมาร่างกายจะเริ่มปวดร้าวมากขึ้น
เนื่องจากอวัยวะส่งสัญญาณบาดเจ็บออกมา อีกทั้งเมื่อกดไปยังบริเวณที่ปวด
อาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงตามมา ประสิทธิภาพในการทำงานอาจลดลงตามลำดับ
และในระยะนี้อาการจะยังคงค้างอยู่ไม่หายไปไหน แม้ในยามหลับ ตื่น หรือแม้กระทั่ง
นั่งทำงาน ถ้าไม่รีบแก้ไขเรื่องการทำงาน อาจนำมาสู่ความรุนแรงในระยะที่ 3

ระยะที่ 3 ปวดจนไม่สามารถนอนได้
เรื่องใหญ่แน่นอน หากอาการปวดลามมาถึงการพักผ่อน จนไม่สามารถนอนหลับได้อย่างเต็มที่
นี่เป็นสัญญาณสุดท้ายที่ร่างกายฟ้องว่า ออฟฟิศซินโดรมได้เข้ามาในชีวิตอย่างเต็มรูปแบบ
เพราะอาการปวดจะขัดขวางและรบกวนการนอนไม่ให้เป็นไปอย่างราบรื่น
และอาจมีอาการกระดูกทับเส้นประสาทร่วมด้วย อีกทั้งงานเบาๆ ที่ทำอยู่โดยปกติ
ก็ไม่สามารถทำได้อย่างคล่องตัวเหมือนเมื่อก่อน และอาการปวดครั้งนี้อาจยิงยาวไปเป็นปี
จนส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวันในรูปแบบอื่นๆ โดยระยะนี้ ถ้าเป็นแล้ว ขอให้รีบรักษา
และปรับรูปแบบการทำงานให้ถูกต้องอย่างเร่งด่วนที่สุด
ไม่ว่าจะอยู่ในระยะไหนก็ควรรีบทำการรักษา ก่อนที่จะเป็นจะไปถึงระยะสุดท้ายนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : VHC Global
การป้องกันและรักษา Office Syndrome
1. ออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการ
2. ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน
3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน โดยการลุกออกมายืดร่างกายทุก 1 ชั่วโมง
     
     
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 โทร : 091-803-3071 , 095-884-2233 , 02-020-1171
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab