เวชศาสตร์ฟื้นฟู ฟื้นฟูอาการใดบ้าง

เวชศาสตร์ฟื้นฟู คืออะไร

เวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นสาขาหนึ่งทางการแพทย์ที่มุ่งเน้นการดูแลรักษา และฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรงหรือกลับสู่สภาพเดิมให้ได้มากที่สุด และป้องกันไม่เกิดความพิการซ้ำซ้อน หรือลดอาการพิการที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนของเวชศาสตร์ฟื้นฟูนั้น เป็นแผนกที่มีความสำคัญในการฟื้นฟู เนื่องจากเป็นแผนกที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กับผู้ป่วย ที่เป็นโรคหลอดเลือดในสมอง (Stroke) แตก ตีบ ตัน  หลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาท รวมถึงผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือ ออฟฟิศซินโดรมได้ด้วย  อาการป่วยและโรคเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อสภาพร่างกาย รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยหากไม่ได้รับการรักษาและฟื้นฟู ดังนั้น การใช้เวชศาสตร์ฟื้นฟูร่วมกับการรักษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

เวชศาสตร์ฟื้นฟู ( Rehabilitation medicine หรือ Physical medicine and rehabilitation ) คือ การตรวจวินิจฉัยโรค ประเมินอาการ รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพหลังการรักษาให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรค หรือมีอาการเข้าข่ายที่ต้องได้รับการฟื้นฟูร่างกาย เพื่อให้กลับมาแข็งแรง และสามารถใช้ชีวิตได้ดังเดิม ด้วยวิธีการฟื้นฟูหลากหลายวิธี ตามอาการและสภาพร่างกายของผู้ป่วย

วิธีการรักษา อาทิ เช่น การใช้ยา การทำหัตถการ การใช้เครื่องมือ การออกกำลังกาย การทำกายภาพบำบัด หรือการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ ซึ่งวัตถุประสงค์ของเวชศาสตร์ฟื้นฟูนอกจากจะเป็นการทำให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงแล้ว ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นอีกด้วย

เวชศาสตร์ฟื้นฟูมีหน้าที่อะไรบ้าง

เวชศาสตร์ฟื้นฟูนั้น มีหน้าที่ตรวจประเมิน และวางแผนการดูแลผู้ป่วย โดยจะเน้นการดูแล และฟื้นฟูผู้ป่วยร่วมกันเป็นทีม เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีอาการที่ต้องฟื้นฟูคนละแบบ จึงมีการฟื้นฟูที่แตกต่าง ขั้นตอนการฟื้นฟูเริ่มจากการตรวจวินิจโรค ประเมินอาการ รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งในทีมการรักษามีทั้งแพทย์ พยาบาล นักกายภาพ นักกิจกรรมบำบัด นักอรรถบำบัด นักจิตวิทยา นักวิทยาศาสตร์การกีฬา รวมไปถึงแพทย์แผนจีนที่มีความชำนาญเข้ามาช่วยดูแล เพื่อประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการรักษาฟื้นฟูร่างกาย ให้กลับมาแข็งแรงหรือกลับสู่สภาพเดิมให้ได้มากที่สุด

บทบาทและหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย

1. แพทย์อายุกรรมระบบประสาท และสมอง
  • ดูแลฟื้นฟูโดยการใช้เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง เป็นอุปกรณ์การรักษาเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถช่วยฟื้นฟูรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยอ่อนแรง หรือ ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลือดในสมองตีบ เส้นเลือดในสมองแตก การกระตุ้นสมองจะเร่งการเชื่อมต่อกันใหม่ของเซลล์ประสาท เพื่อให้ฟื้นฟูและเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น การรักษานี้จะไม่กระทบหรือสร้างเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยแต่อย่างใด สามารถทำเป็นรายครั้งได้ โดยไม่ต้องพักที่โรงพยาบาล
  • เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ PMS (Peripheral Magnetic StimulationX ช่วยบำบัดรักษาอาการปวด เช่น การปวดกล้ามเนื้อ โรคเอ็นอักเสบ โรคปวดข้อต่อ และอาการชาจากเส้นประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาด้วย PMS จะไปกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรง ไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ รู้สึกผ่อนคลายในการรักษา และ PMS ยังช่วยฟื้นฟูความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาท ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของระบบประสาท (Neuroplasticity) ที่ผิดปกติให้กลับมาเป็นปกติได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บปวดเรื้อรังของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี เมื่อนำมารักษาโรคออฟฟิศซินโดรมแล้ว พบว่าได้ผลดีตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ เหมาะกับการใช้รักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะจะช่วยให้ผู้ที่รักการรักษาไม่จำเป็นต้องมาทำการรักษาบ่อย ๆ แต่แนะนำว่าควรรักษาควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด เพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีที่สุด
  • สารบำรุงสมอง เช่น วิตามินบำรุงสมองและร่างกาย
2. แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

จะทำหน้าที่ตั้งแต่การตรวจประเมินอาการผู้ป่วย ไปจนถึงการวางแผน ร่วมกับทีมฟื้นฟู เพื่อดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย ที่มีปัญหาสมรรถภาพถดถอย มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก ความพิการ หรือเป็นโรคเรื้อรัง

  • เน้นการควบคุมโรค ป้องกันโรคแทรกซ้อน
  • บำบัดรักษาผู้ป่วย/ผู้พิการ
  • ชี้แจงการพยากรณ์โรคและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
  • วางแผน กำหนดเป้าหมาย และติดตามผลการฟื้นฟูสมรรถภาพ ร่วมกับบุคลากรในทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • ประสานงานกับแพทย์ต่างสาขา เพื่อให้เป้าหมายบรรลุอย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิ
3. พยาบาล

ทำหน้าที่ในการพยาบาล และฟื้นฟูผู้ป่วย ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ รวมถึงมีการให้ความรู้และคำแนะนำต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย เกี่ยวกับโรคหรืออาการที่เป็นอยู่ และยังมีการแนะนำวิธีการดูแลตนเองที่ถูกต้อง

4. นักกายภาพบำบัด
  • เน้นการออกกำลังกาย การบริหารร่างกาย เพื่อบำบัดฟื้นฟูร่างกาย
  • คง หรือเพิ่มการเคลื่อนไหว หรือพิสัยข้อ และกำลังกล้ามเนื้อ
  • ฝึกทรงตัวปรับเปลี่ยนท่า เคลื่อนย้ายตัว และการเดิน
  • อุปกรณ์เครื่องช่วย เช่น ไม้เท้า รถเข็นคนพิการ ให้แก่ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
5. นักกิจกรรมบำบัด
  • เน้นการฝึกเพื่อเพิ่มระดับความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวัน เช่น การกิน การดื่ม การทำความสะอาดร่างกาย การแต่งกาย การดูแลส่วนต่างๆของร่างกายเป็นต้น
  • ช่วยจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อุปกรณ์ช่วยกลืน เบาะรองนั่งเพื่อป้องกันแผลกดทับ
  • การฝึกเพื่อเพิ่มพัฒนาการให้กับทารกและเด็ก
  • การให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความพิการและระดับความสามารถของผู้ป่วย
6. นักอรรถบำบัด
  • เน้นการฝึกและแก้ไขการพูด และอาจรวมถึงการฝึกกลืน
  • การวางตำแหน่งปาก ดูการพูด
7. นักจิตวิทยา
  • เน้นสนับสนุนด้านจิตใจและอารมณ์
  • ให้ผู้ป่วยเข้าใจในการฟื้นฟู
8.ผู้ช่วยนักายภาพ (PTA)
  • ช่วยเหลือนักกายภาพบำบัดในการฟื้นฟูผู้ป่วย
  • ดูแลความปลอดภัยในการเคลื่อนย้าย เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ให้พร้อมต่อการให้บริการ

เวชศาสตร์ฟื้นฟู เหมาะกับผู้ป่วยกลุ่มใด

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดในสมอง แตก ตีบ
  • ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
  • ผู้ป่วยที่ต้องฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท
  • ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางระบบหายใจ
  • บุคคลที่นั่งรถเข็นผู้ป่วยเพราะมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือการเล่นกีฬา

 

ความแตกต่างระหว่าง เวชศาสตร์ฟื้นฟู และ กายภาพบําบัด มีอะไรบ้าง

เวชศาสตร์ฟื้นฟูจะเป็นภาพรวมของการรักษา และฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งจะมีขอบเขตหน้าที่ที่กว้าง และครอบคลุมมากกว่ากายภาพบำบัด โดยหน้าที่ของเวชศาสตร์ฟื้นฟูนั้น จะมีตั้งแต่การตรวจวินิจโรค ประเมินอาการ รักษา และฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วย จึงทำให้แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูมีทีมงานหลายหน้าที่มาทำงานร่วมกัน

ไม่ว่าจะเป็นแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักโภชนาการ นักจิตวิทยาคลินิก เป็นต้น ส่วนแผนกกายภาพบำบัด จะเป็นส่วนย่อยของแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู มีหน้าที่ในการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วย เพื่อรักษาและฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กับผู้ป่วย รวมถึงเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดซ้ำ

สำหรับการทำ เวชศาสตร์ฟื้นฟู ในผู้ป่วยที่เกิดโรคเส้นเลือดในสมอง แตก ตีบ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ผู้ที่ต้องฟื้นฟูหลังจากผ่าตัด รวมถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท หรือระบบทางเดินหายใจ นั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเวชศาสตร์ฟื้นฟูมีบริการที่ครอบคลุม ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยโรค ประเมินและให้คำปรึกษา ไปจนถึงการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้วยวิธีต่างๆ ที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งจะช่วยทำให้ร่างกายของผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมให้ร่างกายสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ ได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด

 

สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 โทร : 091-803-3071 , 095-884-2233 , 02-020-1171
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab