วันนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับภาวะการกลืนลำบาก
ภาวะการกลืนลำบากคืออาการที่ผู้ป่วยรู้สึกผิดปกติในการกลืนอาหารจะต้องใช้เวลาหรือแรงมากขึ้นในการกลืนซึ่งเกิดขึ้นจากอวัยวะที่ควบคุมการกลืนผิดปกติหรือทำงานบกพร่องไปโดยเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบหลักๆ คือ ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะขาดน้ำ ภาวะปอดอักเสบติดเชื้อจากการสำลักทางเดินหายใจอุดกลั้น ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น อาการกลืนลำบากนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคน ทุกช่วงวัย แต่จะพบได้บ่อยในกลุ่มบุคคลที่มีพญาธิสภาพที่สมองหรือโรคทางระบบประสาท ได้แก่
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุทางสมอง (Traumatic brian Injury)
- ผู้ป่วยพาร์กินสัน (Pakinson’s disease)
- ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ (Alzermer’s disease)
นอกจากนี้ยังพบได้ในผู้ป่วยมะเร็ง เช่น
- มะเร็งกล่องเสียง
- มะเร็งหลอดอาหาร
- ผู้ป่วยที่มีการผ่าตัดบริเวณกล่องเสียง
รวมไปถึงผู้สูงอายุทั่วไปที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนอาการที่บ่งบอกถึงภาวะกลืนลำบาก มีดังต่อไปนี้
- รู้สึกกลืนลำบาก กลืนยาก กลืนแล้วรู้สึกเจ็บหรือต้องกลืนซ้ำหลายครั้ง
- ไอสำลักทั้งก่อนระหว่างหรือหลังกลืน
- เสียงเปลี่ยนเสียงแหบหลังกลืน
- การหายใจผิดปกติระหว่างหรือหลังกลืน
- มีประวัติโรคปอดอักเสบ
- ภาวะทุพโภชนาการภาวะขาดน้ำ
ดังนั้นสิ่งที่มีความสำคัญมากๆคือการได้รับการวินิจฉัยและการบำบัดฟื้นฟูถูกต้องและรวดเร็วเพื่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id