อาการแบบไหน...ที่เรียกว่า "ภาวะเลือดข้น"
โดยทั่วไปอาการที่นำมานั้น มีได้ตั้งแต่ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย อ่อนแรง การมองเห็นผิดปกติ หน้าแดงผิดปกติ เหนื่อยง่าย เจ็บแน่นหน้าอก แต่ก็มีบางกลุ่มที่ไม่ได้มีอาการนำใดๆ มาก่อนเลย แต่ตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจเลือด CBC (Com plete Blood Count)
ภาวะเลือดข้นเกิดจากอะไร?
ภาวะเลือดข้นมีหลายประเภท แต่ละประเภทจะแบ่งตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เช่น น้ำหนักตัวเกิน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ปัญหาจากการผลิตเซลล์เม็ดเลือด หรือเป็นผลมาจากโรคต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
• ภาวะเลือดข้นที่มีสาเหตุจากปริมาณน้ำเลือดหรือพลาสมาลดลง (Apparent Polycythemia) มักมีสาเหตุมาจากการที่มีน้ำหนักตัวเกิน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การใช้ยาขับปัสสาวะ หรือเป็นผลมาจากภาวะขาดน้ำในร่างกาย
• ภาวะเลือดข้นที่มีสาเหตุจากไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงออกมาในปริมาณที่มากเกินไป (Absolute Polycythemia) แบ่งได้ 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ (Primary Polycythemia หรือ Polycythemia Vera) ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารพันธุกรรมเจเอเคทู (JAK2) ทำให้ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงในปริมาณที่มากผิดปกติ และผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดในปริมาณที่มากผิดปกติด้วยเช่นกัน มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
2. การผลิตฮอร์โมนอีริโทโพอิติน (Erythropoietin) ในปริมาณที่มากเกินไป (Secondary Polycythemia) หรืออาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น
• โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD) และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnoea) ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ไม่เพียงพอ จึงผลิตฮอร์โมนอีริโทโพอิตินมากขึ้น
• ปัญหาที่เกี่ยวกับไต เช่น เนื้องอกในไต หรือการตีบของหลอดเลือดแดงในไต เป็นต้น
ตรวจเจอได้...ด้วยวิธีไหนบ้าง
การตรวจเลือด นิยมทำด้วยกัน 3 วิธี คือ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจสเมียร์เลือด หรือการตรวจอีริโทโพอิติน โดยมีรายละเอียดดังนี้
• การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC) เพื่อวัดจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ระดับความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง รวมถึงปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดแดง
• การตรวจสเมียร์เลือด (Blood Smear) จะแสดงลักษณะของเซลล์เม็ดเลือดแดง หากมีมากเกินไป รวมถึงตรวจพบเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับโรคนี้ได้
• การตรวจอีริโทโพอิติน (Erythropoietin Test) ในผู้ที่มีภาวะเลือดข้นอาจมีจำนวนของฮอร์โมนอีริโทโพอิตินในเลือดผิดปกติได้
• การตรวจไขกระดูก ด้วยวิธีการดูดและเจาะเนื้อเยื่อไขกระดูก (Bone Marrow Aspiration and Biopsy) และวิเคราะห์ผลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยในผู้ที่มีภาวะเลือดข้นจะมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดที่มากกว่าปกติ
การตรวจหาสารพันธุกรรมเจเอเคทู (JAK2) ประมาณร้อยละ 95 ของผู้ที่มีภาวะเลือดข้นที่มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารพันธุกรรมเจเอเคทู (Polycythemia Vera) ซึ่งตรวจพบได้จากการตรวจเลือดและการดูดและเจาะเนื้อเยื่อไขกระดูก
เมื่อมีภาวะเลือดข้น...รักษาอย่างไร
สำหรับการรักษานั้นมีหลายวิธีการขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ ตั้งแต่การถ่ายเลือด (Blood letting) จนถึงการให้ยาเพื่อลดการสร้างเม็ดเลือด เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในอนาคต
ขอขอบคุณ : โรงพยาบาลพญาไท
สนใจใช้บริการ สอบถาม ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง KIN
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ทำให้คนที่คุณรักกลับมาหายได้ไวขึ้นใช้ชีวิตปกติได้ไวขึ้น
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร 095-884-2233 , 091-803-3071 , 02-020-1171
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
FaceBook : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation
Blockdit : https://www.blockdit.com/kinrehab
Instagram : https://www.instagram.com/kin.rehabilitation
Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
Twitter : https://twitter.com/KinRehab
Pinterest : https://www.pinterest.com/kinrehabilitation
แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
Tags