ทำไม “ผู้สูงอายุ” เสี่ยง “อาหารติดคอ” มากกว่าวัยอื่นอื่นๆ?
จริงๆ แล้วปัญหาการสำลักอาหาร หรืออาหารติดคอสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นอาจเป็นเด็ก และผู้สูงอายุ เด็กเล็กอาจจะเป็นเพราะขนาดของอาหารใหญ่เกินไปแล้วเผลอกลืนลงคอจนทำให้สำลัก หรือติดเล่นจนทำให้กลืนอาหารผิดจังหวะ แต่สำหรับผู้ใหญ่วัยสูงอายุ ก็มีความเสี่ยงต่อการสำลักอาหาร หรืออาหารติดคอ เพราะเป็นวัยที่น้ำลายในปากน้อยลง ทำให้อาหารอาจติดคอได้ง่ายเวลากลืนนั่นเอง
วิธีช่วยเหลือผู้ป่วย สำลักอาหาร-อาหารติดคอ
- หากผู้สูงอายุเริ่มแสดงอาการทรมาน ไม่สามารถส่งเสียงได้ ลองทุบหลังตรงระหว่างไหล่ทั้งสองข้างก่อน 5 ครั้ง ด้วยแรงพอประมาณ หากอาหารยังลงไปไม่ลึกมาก อาจจะออกมาทางปากได้
- หากอาหารยังไม่ออกมา ให้เข้าทางด้านหลังของผู้ป่วย โอบผู้สูงอายุจากทางด้านหลัง
- เอามือประสานกัน กดไปที่หน้าอก ยกผู้สูงอายุเล็กน้อยแล้วเขย่าตัวเพื่อให้ผู้สูงอายุสำลักอาหารออกมา
- ทั้งหมดนี้ควรรีบทำภายใน 3-5 นาทีที่แสดงอาการ เพราะอาจอันตรายถึงชีวิตได้
- หากผู้สูงอายุมีอาการหายใจไม่ได้ พูดไม่ออก ให้จับผู้สูงอายุนอนหงายบนพื้น เปิดทางเดินหายใจ ยกปลายคางขึ้น และ อีกมือหนึ่งกดหน้าผากลง เป่าปากเพื่อช่วยในการหายใจ
- ถ้าลองเป่าปากแล้วหน้าอกไม่ยกขึ้น ให้ใช้มือกดที่ท้อง ในท่านอนหงาย 6-10 ครั้ง
- ถ้าเป็นเด็กเล็กให้ใช้วิธีตบระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง สลับกับกดหน้าอก และคอยตรวจเช็กช่องปาก ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมให้ใช้นิ้วเกี่ยวออกมา
- หากผู้สูงอายุยังคงรู้สึกตัว พูดได้ และหายใจได้ตามปกติ แต่ยังรู้สึกว่ามีอาหารติดคออยู่ ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที
ข้อมูล : British Red Cross, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการกลืน หรือการรับประทานอาหาร
สามารถปรึกษาและรักษาปัญหาการกลืนโดยนักกิจกรรมบำบัด หรือสามารถรักษาได้ด้วยTMS
ทำให้คนที่คุณรักกลับมาหายได้ไวขึ้นใช้ชีวิตปกติได้ไวขึ้น
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare









Tags