ปวดหลังร้าวลงขา เสี่ยงเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อาการปวดหลังสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการก้มเก็บของ การนั่งทำงานนาน ๆ และการนอน เป็นต้น
ดังนั้น อาการปวดหลังจึงเกิดได้ทุกวัย ไม่ใช่ผู้สูงอายุก็เป็นได้ สาเหตุสามารถเกิดจากการเสื่อมของกระดูก 
การใช้งานหนัก การใช้งานในท่าทางลักษณะเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานาน

 

อาการปวดหลังเกิดจากอะไร

อาการปวดหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น กล้ามเนื้อหลังอักเสบ ข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกสันหลังอักเสบ หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งมักจะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลัง รวมไปถึงกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราที่มีการเคลื่อนไหวบางอย่าง เช่น การยกของหนักบ่อยๆ การก้ม การบิดเอี้ยวตัว ก็มีส่วนที่ทำให้มีอาการปวดหลังแย่ลง

อาการปวดหลังสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ส่วนที่มีอาการปวด ได้แก่ ปวดหลังส่วนบน ปวดหลังส่วนกลาง และปวดหลังส่วนล่าง โดยอาการปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain) เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในวัยทำงาน โดยจะมีอาการปวดหลังตั้งแต่ระดับคอลงไปจนถึงบริเวณก้นกบ โดยอาการส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในบริเวณบั้นเอวไปจนถึงก้นกบ
 
อาการปวดหลังร้าวลงขา

อาการปวดหลังร้าวลงขา คือ อาการหนึ่งที่ถือเป็นสัญญาณเตือนที่ควรระวัง ซึ่งอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท โดยส่วนใหญ่พบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการนี้อยู่ในวัยทำงานมากที่สุด

“โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท” คือ เป็นโรคที่เกิดจากการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกสันหลัง โดยมีส่วนของหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด ชา หรืออ่อนแรงจากการทำงานที่ผิดปกติของเส้นประสาทที่โดนกดนั้น

   1.ปวดหลัง หรือปวดบริเวณเอว เป็นๆ หายๆ
   2.ปวดร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า อาจมีอาการชาร่วมด้วย
   3.มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อต้องนั่งนาน หรืออยู่ในท่าก้มหลัง
   4. เมื่อไอ จาม เบ่งปัสสาวะ หรืออุจจาระจะมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น
   5.ในรายที่อาการรุนแรง อาจมีอาการอ่อนแรงของขา กระดกข้อเท้าไม่ได้ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการขับถ่าย
 

วิธีรักษาอาการปวดหลัง

  • ปรับสภาพการใช้งานให้ถูกต้อง เช่น ไม่ควรนั่งอยู่กับที่นานติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมง ควรจะลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถ หลีกเลี่ยงการก้มเงย ยกของหนักเป็นประจำ
  • การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบๆ หลัง และหน้าท้องให้แข็งแรง
  • การฝึกยืดกล้ามเนื้อหลัง เพื่อเป็นการลดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง
  • ทานยาแก้ปวด หรือกายภาพบำบัด เพื่อรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ 80% จะมีอาการดีขึ้น

ปวดหลังแบบไหนที่ควรพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลัง และสงสัยว่าต้องพบแพทย์หรือไม่ สามารถสังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการดังกล่าว ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

  • มีอาการปวดหลังเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน ทานยาแก้ปวดแล้วอาการไม่ดีขึ้น
  • ปวดหลังร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า มีอาการชาร่วมด้วย
  • มีอาการขาอ่อนแรง กระดกข้อเท้าไม่ได้
หากใครมีปัญหาเกี่ยวกับการปวดหลัง ไม่ว่าจะเริ่มปวดจนถึงปวดเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อวินิจฉัยอาการ และรักษาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ หากไม่ไปพบหรือไปช้าเกินไป จากอาการปวดหลังจะกลายเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทได้
 
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์ และโรงพยาบาลบางปะกอก
 
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่
เบอร์โทร 091-803-3071 / 02-020-1171
LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab
FaceBook (inbox) : m.me/KIN.Rehabilitation
 
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
 
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 โทร 095-884-2233 , 091-803-3071 , 02-020-1171
line แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab