การรักษาอาการปวดเข่า และข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
การรักษาอาการปวดเข่า และข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
ด้วยการทำกายภาพบำบัด
 
อาการปวดเข่า และข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เกิดขึ้นบ่อยมาก เพราะกระดูกเสื่อมไปตามเวลา
และเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่เข่าใช้งานมาเป็นเวลานาน ร่วมกับกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าไม่แข็งแรง
ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของผิวข้อทำให้มีการงอกของกระดูก ส่งผลถึงการผิดรูปของเข่า
นอกจากนั้น ยังเกิดจากน้ำหนักตัวมากจนเข่าทำงานหนัก การเล่นกีฬาที่กระแทกน้ำหนักตัวลงไปที่เข่าบ่อยๆ
หรืออาจจะเกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดก็ได้
 
อาการของโรค
1. เริ่มจากปวดเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อได้พักการใช้เข่า อาการปวดก็จะทุเลา
และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อนั้นมาก ในรายที่เป็นมากอาการปวดจะเป็นตลอดเวลา
2. ข้อฝืด ใช้งานไม่ถนัด บางรายมีข้อติด
3. ข้อผิดรูป เข่าบวมโต บางรายมีขาโก่งออก
4. มีปัญหาในการใช้งานข้อเข่า เช่น ลุกนั่งม้าเตี้ย , ขึ้นลงบันได รวมทั้งการเดิน
 
ปัญหาที่พบในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
- มีอาการปวด ข้อฝืดมากในตอนเช้าหลังตื่นนอน (ไม่เกิน 30 นาที)
- มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของเข่า งอและเหยียดเข่าได้ไม่สุด
- กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
- ความมั่นคงของข้อเข่าลดลง มีเสียงดังกรอบแกรบในข้อเข่า
- ความสามารถในการทรงตัวลดลง
- ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันลดลง เช่น การลุกยืน การเดิน การขึ้น-ลงบันได
- ข่อเข่าผิดรูป หรือขาโก่ง (bow legs)
 
“ จากงานวิจัย พบว่าวิธีการรักษาข้อเข่าเสื่อมที่ดีที่สุด คือ การทำกายภาพบำบัด โดยเฉพาะในระยะแรก
และระยะกลาง ซึ่งการทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคนี้ นอกจากจะช่วยชะลอ หรือป้องกันไม่ให้ข้อเสื่อมมากขึ้นแล้ว
ยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้โดยไม่มีอาการปวด ”
 
วิธีการรักษา
อาการเจ็บข้อเข่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าเกิดจากสาเหตุใด เพราะการรักษาอาการเจ็บข้อเข่าต้องรักษาที่สาเหตุ
หากอาการเจ็บข้อเข่าเกิดจากโรค อย่างเช่นโรคเก๊าท์ โรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน โรคเบาหวาน จะต้องรักษาที่ตัวโรค
หรือควบคุมอาการของโรคไม่ให้ส่งผลกับข้อเข่ามากเกินไป
- ทานยา
- ฝังเข็ม
- ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
- การทำกายภาพบำบัด
- การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
 
*วิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดคือการพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อให้วินิจฉัยอาการและรักษาถูกต้อง
 
การรักษาทางกายภาพบำบัด ประกอบด้วย
1. ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening exercise)
2. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ (Stretching exercise)
3. การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น
- Hot Pack
- Ultrasound
4.การขยับข้อต่อ (Mobilization)
5.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
 
การรักษาทางกายภาพบำบัดจะมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม กับอาการของแต่ละบุคคล
ซึ่งก่อนรักษาต้องทำการตรวจประเมินก่อน เพื่อประเมินการรักษาให้ถูกต้องและเหมาะสม
 
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
 
KIN Clinic คลินิกกายภาพบำบัด
โทร 084-993-6988 / 02-020-1171
LINE@ สอบถามรายละเอียด @kinClinic (มี@ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/vuwOSaC
แผนที่เดินทาง : shorturl.at/gknEH
 
KIN Origin Healthcare
สาขา Sukhumvit 107
 
สาขา Ramintra
 
สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม KIN
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 โทร 091-803-3071 / 02-020-1171 / 095-884-2233
line แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด   @kin.rehab   มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel :  https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN :  http://bit.ly/2VvPDq6
 Website  :  https://www.kinrehab.com

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab