การฝังเข็ม แพทย์แผนจีน ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์-อัมพาต
โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก
โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก
หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณ 80% หลอดเลือดสมองอุดตันเกิดได้จากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง ส่วนสาเหตุของหลอดเลือดสมองตีบอาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง
หลอดเลือดสมองแตก(hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย ซึ่งอันตรายมากเนื่องจากทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลันและทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมีหลายสาเหตุ แบ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ และปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้มักมีสาเหตุจากสุขภาพโดยรวมและรูปแบบการดำเนินชีวิต
ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ อายุ เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดก็จะเสื่อมตามไปด้วย โดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะ รูที่เลือดไหลผ่านจะแคบลงเรื่อยๆ
เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง ภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการจับตัวกันของเม็ดเลือดและมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมีหลายสาเหตุ แบ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ และปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้มักมีสาเหตุจากสุขภาพโดยรวมและรูปแบบการดำเนินชีวิต
ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ อายุ เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดก็จะเสื่อมตามไปด้วย โดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะ รูที่เลือดไหลผ่านจะแคบลงเรื่อยๆ
เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง ภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการจับตัวกันของเม็ดเลือดและมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติ
การฝังเข็มฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ - อัมพาต
การรักษาทางการแพทย์แผนจีนด้วยวิธีการฝังเข็ม มุ่งเน้นการกระตุ้นให้ระบบประสาทและสมองที่เสียหายมีการฟื้นตัวคืนมา ลดความหนืดของเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังสมองและร่างกายได้ดี กระตุ้นให้กล้ามเนื้อไม่ลีบและมีกำลังแข็งแรง ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายได้ และได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO)
ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับการฝังเข็มให้เร็วที่สุด เพราะระบบประสาทและกล้ามเนื้อยังไม่เสียหายมากจนเกินไป จะทำให้ฟื้นตัวได้ดีที่สุด และควรเข้ารับการฝังเข็มอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์
การฝังเข็มในประเทศจีนนั้นใช้รักษาโรคโรคอัมพฤกษ์-อัมพาต (中风) มานานกว่า 2พันปีแล้ว แพทย์จีนอธิบายว่าเกิดการอุดตันของพลังลมปราณของตับ จากของเสียและเสมหะ เมื่อพลังของตับหมุนเวียนไม่ได้ ก็จะคั่งค้างเกิดเป็นไฟในตับ ซึ่งจะเป็นต้นกำเนิดของลมตับ ธรรมชาติของลมจะลอยขึ้นสู่เบื้องบน ในที่สุดลมจึงเคลื่อนมาทำอันตรายต่อไขสมอง เกิดอัมพฤกษ์-อัมพาต ไฟที่มีมากจะทำให้ร้อนจนเลือดไหลออกนอกหลอดเลือด เกิดเป็นเลือดคั่งในสมอง คือ เส้นเลือดในสมองแตกตามแนวการแพทย์แผนปัจจุบัน
การรักษาทางการแพทย์แผนจีนด้วยวิธีการฝังเข็ม มุ่งเน้นการกระตุ้นให้ระบบประสาทและสมองที่เสียหายมีการฟื้นตัวคืนมา ลดความหนืดของเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังสมองและร่างกายได้ดี กระตุ้นให้กล้ามเนื้อไม่ลีบและมีกำลังแข็งแรง ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายได้ และได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO)
ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับการฝังเข็มให้เร็วที่สุด เพราะระบบประสาทและกล้ามเนื้อยังไม่เสียหายมากจนเกินไป จะทำให้ฟื้นตัวได้ดีที่สุด และควรเข้ารับการฝังเข็มอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์
การฝังเข็มในประเทศจีนนั้นใช้รักษาโรคโรคอัมพฤกษ์-อัมพาต (中风) มานานกว่า 2พันปีแล้ว แพทย์จีนอธิบายว่าเกิดการอุดตันของพลังลมปราณของตับ จากของเสียและเสมหะ เมื่อพลังของตับหมุนเวียนไม่ได้ ก็จะคั่งค้างเกิดเป็นไฟในตับ ซึ่งจะเป็นต้นกำเนิดของลมตับ ธรรมชาติของลมจะลอยขึ้นสู่เบื้องบน ในที่สุดลมจึงเคลื่อนมาทำอันตรายต่อไขสมอง เกิดอัมพฤกษ์-อัมพาต ไฟที่มีมากจะทำให้ร้อนจนเลือดไหลออกนอกหลอดเลือด เกิดเป็นเลือดคั่งในสมอง คือ เส้นเลือดในสมองแตกตามแนวการแพทย์แผนปัจจุบัน
สาเหตุและกลไกการเกิดโรคในมุมมองการแพทย์แผนจีน
โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต หรือจ้งเฟิง (中风) มีปัจจัยก่อโรคมากมายทำให้มีการดำเนินโรคที่ซับซ้อน ปัจจัยการเกิดโรคนี้ได้แก่ลม (风) ไฟ(火) เสมหะ (痰) เลือดคั่ง (瘀) โดยตำแหน่งของโรคอยู่ที่สมอง
โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต หรือจ้งเฟิง (中风) มีปัจจัยก่อโรคมากมายทำให้มีการดำเนินโรคที่ซับซ้อน ปัจจัยการเกิดโรคนี้ได้แก่ลม (风) ไฟ(火) เสมหะ (痰) เลือดคั่ง (瘀) โดยตำแหน่งของโรคอยู่ที่สมอง
กลไกของอาการ
1. อินของตับและไตพร่อง ทำให้น้ำไม่หล่อเลี้ยงตับ เกิดลมตับกำเริบ
2. อารมณ์ทั้งห้าตามหลักการแพทย์แผนจีน รุนแรงเกินระดับปกติ ทำให้หยางของตับลอยขึ้นสูง ไปเหนี่ยวนำให้เกิดไฟในหัวใจ ลมกับไฟร่วมโบกโหมสะพัด ทำให้เลือดและชี่ไหลพุ่งขึ้นสู่เบื้องสูง (ศีรษะ)
3. รับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะชอบทานอาหารมันหรือรสจัด ทำให้เกิดเสมหะสกปรกขึ้นภายในร่างกาย
4. การเคลื่อนที่ของชี่เสียสมดุล ชี่ติดขัดทำให้เลือดไหลเวียนไม่คล่อง
5. ร่างกายอ่อนแอสารจิงแต่กำเนิดไม่เพียงพอ ชี่พร่องไม่มีแรงผลักดันเลือดให้ไหลเวียน นานวันเข้าเกิดเป็นเลือดคั่ง
1. อินของตับและไตพร่อง ทำให้น้ำไม่หล่อเลี้ยงตับ เกิดลมตับกำเริบ
2. อารมณ์ทั้งห้าตามหลักการแพทย์แผนจีน รุนแรงเกินระดับปกติ ทำให้หยางของตับลอยขึ้นสูง ไปเหนี่ยวนำให้เกิดไฟในหัวใจ ลมกับไฟร่วมโบกโหมสะพัด ทำให้เลือดและชี่ไหลพุ่งขึ้นสู่เบื้องสูง (ศีรษะ)
3. รับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะชอบทานอาหารมันหรือรสจัด ทำให้เกิดเสมหะสกปรกขึ้นภายในร่างกาย
4. การเคลื่อนที่ของชี่เสียสมดุล ชี่ติดขัดทำให้เลือดไหลเวียนไม่คล่อง
5. ร่างกายอ่อนแอสารจิงแต่กำเนิดไม่เพียงพอ ชี่พร่องไม่มีแรงผลักดันเลือดให้ไหลเวียน นานวันเข้าเกิดเป็นเลือดคั่ง
เมื่อปัจจัยทั้งหลาย ขึ้นไปรบกวนทวารสมอง ทำให้เกิด ทวารสมองปิดกั้น เสิน(神) ถูกอำพรางอยู่ภายใน เสินจึงควบคุมกำกับชี่ไม่ได้ทำให้เกิดเป็นจ้งเฟิง (Stroke)
การรักษาด้วยวิธีการฝังเข็ม
การฝังเข็ม ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เลือดไหลเวียนเข้าสู่หลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆมากขึ้น ทั้งสมอง หัวใจ และแขนขา มีการศึกษาพบว่า การฝังเข็มจะไปลดการส่งกระแส ประสาทซิมพาเทติกที่มีปมประสาทวางเรียงอยู่สองข้างของแนวไขสันหลัง ตั้งแต่บริเวณช่วงคอถึงเอว ปมประสาทในแต่ละช่วงก็จะควบคุมหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองทั้งหมด เมื่อแพทย์ฝังเข็มโดยใช้จุดฝังเข็มบริเวณท้ายทอยและคอส่วนบนก็จะส่งผลต่อปมประสาทช่วงคอ เลือดจะไหลเวียนสู่ สมองมากขึ้นในทันที ทำให้สมองที่ขาดเลือดแต่ยังไม่ตาย ได้เลือดกลับมาเลี้ยงและมีชีวิตรอด ไม่กลายเป็นเนื้อสมองตาย ผู้ป่วยจึงรอดพ้นจากอัมพาต
การฝังเข็ม ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เลือดไหลเวียนเข้าสู่หลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆมากขึ้น ทั้งสมอง หัวใจ และแขนขา มีการศึกษาพบว่า การฝังเข็มจะไปลดการส่งกระแส ประสาทซิมพาเทติกที่มีปมประสาทวางเรียงอยู่สองข้างของแนวไขสันหลัง ตั้งแต่บริเวณช่วงคอถึงเอว ปมประสาทในแต่ละช่วงก็จะควบคุมหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองทั้งหมด เมื่อแพทย์ฝังเข็มโดยใช้จุดฝังเข็มบริเวณท้ายทอยและคอส่วนบนก็จะส่งผลต่อปมประสาทช่วงคอ เลือดจะไหลเวียนสู่ สมองมากขึ้นในทันที ทำให้สมองที่ขาดเลือดแต่ยังไม่ตาย ได้เลือดกลับมาเลี้ยงและมีชีวิตรอด ไม่กลายเป็นเนื้อสมองตาย ผู้ป่วยจึงรอดพ้นจากอัมพาต
ด้วยการฝังเข็มสามารถทำให้หลอดเลือดทั้งหมดของสมอง ทุกๆเส้นขยายตัวออก แล้วทำให้หลอดเลือดอื่นที่อยู่รอบๆบริเวณเนื้อสมองที่ขาดเลือดขยายตัวออกด้วย จึงเกิดการลำเลียงเลือดเข้ามาช่วย ผ่านทางหลอดเลือดฝอย (Collateral circulation) ที่สานเชื่อมกันเป็นร่างแหไปทั่วร่างกาย หรือ หลอดเลือดตัวช่วย เมื่อสมองขาดเลือดแล้วทำฝังเข็มครั้งแรกในช่วงเวลาที่เหมาะสม เลือดจะถูกนำผ่านมาทางหลอดเลือดตัวช่วย ไปสู่เซลล์สมอง
การฝังเข็มเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดสมองนั้น มีประโยชน์อย่างยิ่งถ้ารักษาเร็ว มักจะได้ผลดีเกินคาด อย่างไรก็ตามผลการรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายจะมีการตอบสนองต่อการรักษาได้แตกต่างกันไป จำเป็นต้องทำและต้องคอยสังเกตดูการเปลี่ยนแปลงของอาการระหว่างรักษา การฝังเข็ม การให้ยาแผนปัจจุบัน การทำกายภาพบำบัด เป็นสามแนวทางที่รักษาร่วมกันมักได้ผลดี
หลักการออกกำลังกายในผู้ป่วยที่อ่อนแรงครึ่งซีก
1. ควรทำเป็นประจำทุกวัน สม่ำเสมอ
2. ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนการออกกำลังกาย
3. ไม่กลั้นลมหายใจขณะออกกำลังกายในทุกๆท่า
4. ไม่ควรทำในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น หอบเหนื่อย หายใจเร็ว หน้าซีด มือเย็น
ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยอ่อนแรง
1. ป้องกันภาวะข้อติดจากการนอนเป็นเวลานาน
2. ป้องกันกล้ามเนื้อฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งานในข้างที่มีแรง
3. กระตุ้นการทำงานและเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อข้างที่อ่อนแรง
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม KIN
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร 091-803-3071 / 02-020-1171 / 095-884-2233
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
FaceBook : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation
Blockdit : https://www.blockdit.com/kinrehab
Instagram : https://www.instagram.com/kin.rehabilitation
Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
Twitter : https://twitter.com/KinRehab
Pinterest : https://www.pinterest.com/kinrehabilitation
แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
Website : https://www.kinrehab.com
Tags