Checklist Office Syndrome
คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่?
1.นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน
2.ระหว่างทำงาน จะรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง
3.มีก้อนกล้ามเนื้อเกิดขึ้น
4.เมื่อกดไปจุดที่เจ็บ จะมีอาการร้าวไปตามกล้ามเนื้อ
5.มีการตึงของกล้ามเนื้อ เมื่อหันหรือยกแขนจะทำได้ลำบาก
6.เมื่อเกิดอาการปวดต้องกินยาแก้ปวด หรือไปนวดเพื่อให้หายปวด
***หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อประเมินอาการและทำการรักษา
อาการออฟฟิศซินโดรมไม่ได้เป็นแค่ในกลุ่มคนทำงานประจำ แต่สามารถเป็นได้ทั้งนักเรียน นักศึกษา
นักกีฬา หรืออาชีพอื่น ๆ ที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ก็สามารถทำให้เป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้
ออฟฟิศซินโดรมเกิดจากอะไร ?
ออฟฟิศซินโดรม เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome)
ออฟฟิศซินโดรม เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome)
คือ อาการปวดที่เกิดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
มีการปวดบริเวณที่คอ บ่า ไหล่ และหลัง
สาเหตุอาจเกิดได้จากเหตุการเหล่านี้
1.การนั่งทำงานนาน ๆ โดยไม่มีลุกขยับร่างกาย และนั่งทำงานแบบผิดวิธี เช่น การนั่งหลังค่อม
2.การออกกำลังกายอย่างหนักจนเกิดก้อนกล้ามเนื้อ
3.นักกีฬาที่ใช้มัดกล้ามเนื้อเดิมซ้ำ ๆ ก็ทำให้เกิดก้อนกล้ามเนื้อได้
2.การออกกำลังกายอย่างหนักจนเกิดก้อนกล้ามเนื้อ
3.นักกีฬาที่ใช้มัดกล้ามเนื้อเดิมซ้ำ ๆ ก็ทำให้เกิดก้อนกล้ามเนื้อได้
สาเหตุเหล่านี้สามารถทำให้เราเกิดอาการปวดของกล้ามเนื้อได้ และหลาย ๆ คนอาจรักษาอาการ
ด้วยการกินยาหรือนวดแผนไทยแต่ทำได้ไม่นาน อาการปวดเหล่านั้นก็กลับมาอีกครั้ง
จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด
อาการเรื้อรังสังเกตได้จากมีอาการชาบริเวณแขน มือ และปลายนิ้ว ร่วมกับการบริเวณต้นคอ
อาการเรื้อรังสังเกตได้จากมีอาการชาบริเวณแขน มือ และปลายนิ้ว ร่วมกับการบริเวณต้นคอ
บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง เนื่องจากอาจเกิดการที่เส้นประสาทส่วนปลายในแต่ละตำแหน่งถูกกดทับ
อย่างต่อเนื่อง ปวดเสียดท้องจากการทานอาหารไม่ตรงเวลา สมรรถภาพของร่างกายลดลง
เนื่องจากไม่มีเวลาออกกำลังกาย
อาการของออฟฟิศซินโดรมนอกจากมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และหลังแล้ว
ความเครียดยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของออฟฟิศซินโดรมได้
ดังนั้น การพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการดูแลสุขภาพของตนเอง
จะช่วยลดความเสี่ยงของอาการของออฟฟิศซินโดรมได้
อาการออฟฟิศซินโดรมถึงแม้จะเป็นได้ง่าย แต่ก็สามารถป้องกันได้ง่ายเช่นกัน
เพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีการนั่งที่ถูกต้องและการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน
และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานนั่นเอง
ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง เป็นอย่างไร
- การที่เรานั่งผิดท่า เป็นระยะเวลายาวนานในแต่ละวัน อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เรา
มีอาการปวดหลัง เกิดอาการเมื่อยล้าได้โดยที่ไม่รู้ตัว เช่น ท่านั่งผิดๆ ดังต่อไปนี้
1. ท่านั่ง เราเอนพิงพนักโดยเว้นช่องว่างระหว่างสะโพกกับพนักพิง ทำให้ส่งผลต่อ
กระดูกสันหลังช่วงล่างงอเป็นทรงโค้ง
2. ท่านั่งที่มีลักษณะกายภาพ แบบ หลังค่อม นั่งห่อไหล่ ส่งผลให้เมื่อย เกร็ง
2. ท่านั่งที่มีลักษณะกายภาพ แบบ หลังค่อม นั่งห่อไหล่ ส่งผลให้เมื่อย เกร็ง
บริเวณกล้ามเนื้อต้นคอ สะบัก อยู่ตลอดเวลา
3. การใช้งานคอมพิวเตอร์ ด้วยตำแหน่งการจับเม้าที่ท่าทางผิดธรรมชาติเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานๆ
3. การใช้งานคอมพิวเตอร์ ด้วยตำแหน่งการจับเม้าที่ท่าทางผิดธรรมชาติเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานๆ
หรือการนั่งเล่นมือถือด้วยท่าเดิมในระยะยาว อาจส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาท
เส้นเอ็นอักเสบ เกิดพังผืดยึด นิ้วล๊อกหรือข้อมือล็อกได้
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
1.นั่งให้เต็มก้นและนั่งหลังตรง โดยให้หลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ การนั่งพิงพนัก
1.นั่งให้เต็มก้นและนั่งหลังตรง โดยให้หลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ การนั่งพิงพนัก
จะช่วยเรื่องการจัดระเบียบหลัง ช่วยให้หลังนั้นตรงโดยอัตโนมัติ ไปตามแนวของพนักพิง
แต่หากเก้าอี้ไม่มีพนักพิงเราต้องพยายามฝึกให้นั่งหลังตรงอยู่เสมอๆ
2.ตั้งคอตรงและยืดไหล่
3.ในกรณีที่บริเวณนั่งของเก้าอี้ลึกเกิน ให้หาหมอนหนุน เพื่อเป็นการช่วยให้หลังตรงขณะนั่ง
4.เลือกขนาดของเก้าอี้และโต๊ะ ให้เกิดความเหมาะสม เข้ากับสรีระ โดยสังเกตุว่า
2.ตั้งคอตรงและยืดไหล่
3.ในกรณีที่บริเวณนั่งของเก้าอี้ลึกเกิน ให้หาหมอนหนุน เพื่อเป็นการช่วยให้หลังตรงขณะนั่ง
4.เลือกขนาดของเก้าอี้และโต๊ะ ให้เกิดความเหมาะสม เข้ากับสรีระ โดยสังเกตุว่า
สะโพกและขาของเราต้องตั้งฉากกัน
5.เก้าอี้ที่ดีควรปรับระดับความสูง-ต่ำได้ แต่หากปรับไม่ได้ ก็อาจจะต้องหาเก้าอี้ม้านั่งตัวเล็ก
5.เก้าอี้ที่ดีควรปรับระดับความสูง-ต่ำได้ แต่หากปรับไม่ได้ ก็อาจจะต้องหาเก้าอี้ม้านั่งตัวเล็ก
วางไว้ด้านล่างเพื่อวางเท้า
6.ระดับสายตาของเราต้องอยู่ในระดับที่พอดีกับจอภาพ ของอุปกรณ์นั้นๆ
7.ให้ระยะห่างระหว่างตาของเรากับจอภาพ ห่างประมาณ 12-18 นิ้ว
8.ระดับข้อศอกและข้อมือ ควรเป็นระนาบเดียวกันกับแป้นคีย์บอร์ด
9.ควรมีบริเวณรองแขนขณะใช้เมาส์ เพื่อพักข้อศอกและพื้นที่ในการเคลื่อนที่มีมากพอไม่ถูกจำกัด
11.ควรลุกขึ้นมายืดกล้ามเนื้อทุก 1 ชั่วโมง เพื้อพักสายตาและเพื่อพักกล้ามเนื้อ
6.ระดับสายตาของเราต้องอยู่ในระดับที่พอดีกับจอภาพ ของอุปกรณ์นั้นๆ
7.ให้ระยะห่างระหว่างตาของเรากับจอภาพ ห่างประมาณ 12-18 นิ้ว
8.ระดับข้อศอกและข้อมือ ควรเป็นระนาบเดียวกันกับแป้นคีย์บอร์ด
9.ควรมีบริเวณรองแขนขณะใช้เมาส์ เพื่อพักข้อศอกและพื้นที่ในการเคลื่อนที่มีมากพอไม่ถูกจำกัด
11.ควรลุกขึ้นมายืดกล้ามเนื้อทุก 1 ชั่วโมง เพื้อพักสายตาและเพื่อพักกล้ามเนื้อ
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่
เบอร์โทร 091-803-3071 / 02-020-1171 / 095-884-2233
LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab
FaceBook (inbox) : m.me/KIN.Rehabilitation
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร 095-884-2233 , 091-803-3071 , 02-020-1171
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
FaceBook : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation
Blockdit : https://www.blockdit.com/kinrehab
Instagram : https://www.instagram.com/kin.rehabilitation
Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
Twitter : https://twitter.com/KinRehab
Pinterest : https://www.pinterest.com/kinrehabilitation
แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
Tags