3. พื้นที่ปิด หรือระบายอากาศไม่ดี เสี่ยงเจอเชื้อตกค้าง การเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ มีส่วนช่วยในการลดการสะสมของเชื้อโรคได้ ทั้งนี้ การเปิดช่องระบายอากาศควรเปิดให้ทแยงด้านกัน เพื่อทำให้อากาศเกิดการถ่ายเทได้รอบบริเวณมากที่สุด ไม่เหลือการตกค้างของเชื้อโรค
- ควรเปิดระบายอากาศด้านทแยงกัน ช่วยระบายอากาศได้ดีกว่า
- ไม่ควรเปิดระบายอากาศฝั่งตรงข้ามกัน อาจมีเชื้อโรคตกค้าง
** ควรเปิดระบายอากาศครั้งละ 5-10 นาที ทุก 2 ชั่วโมง ถ้ามีข้อจำกัด อาจเปิดระบายก่อนเริ่มใช้ห้อง ระหว่างพัก และก่อนเลิกใช้
4. ในพื้นที่ปิด เชื้อแพร่ยกกำลัง 3
นอกจากการเว้นระยะห่างแล้ว การเลี่ยงไม่อยู่ในพื้นที่ปิดก็ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดได้ เพราะภายในพื้นที่ปิด เชื้อจะสามารถแพร่ได้ถึง 3 ทางได้แก่ ระยะใกล้ติดจากฝอยละอองขนาดใหญ่ ระยะไกลติดจากฝอยละอองขนาดเล็ก ระยะประชิดติดจากการสัมผัส
3 เส้นทางการติดเชื้อ
- ระยะไกล ติดจากฝอยละอองขนาดเล็ก
- ระยะใกล้ ติดจากฝอยละอองขนาดใหญ่
- ระยะประชิด ติดจากการสัมผัส
5. วิธีเอาตัวรอด
- เมื่ออยู่ในที่อากาศไม่ถ่ายเท ใช้หน้ากากที่มีประสิทธิภาพ สวมอย่างถูกวิธี กระชับใบหน้า
- เว้นระยะห่าง ล้างมือ และฉีดวัคซีน
การเลือกสวมหน้ากากที่มีประสิทธิภาพเหมาะสูง เช่น N95 หรือ KN95 โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น พื้นที่แออัด มีคนจำนวนมาก ช่วยลดความเสี่ยง
ในการติดเชื้อได้มาก แต่ทั้งนี้ต้องสวมให้ถูกวิธี และกระชับใบหน้า เพราะการสวมหน้ากากไม่กระชับอาจเกิดช่องโหว่ให้เชื้อโรดลอดเข้ามาได้ ได้แก่ ช่องเหนือจมูก ช่องข้างแก้ม และช่องใต้คาง
- หน้ากากผ้า ลดความเสี่ยง 56%
- หน้ากากอนามัย ลดความเสี่ยง 66%
- หน้ากาก N95/KN95 ลดความเสี่ยง 83%
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
LINE : @kin.rehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id