ข้อควรรู้ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
หากคุณสังเกตเห็นความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่น อาการอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก มองเห็นภาพซ้อน บ้านหมุน หลงลืมบ่อยๆ ซึม พูดไม่คล่อง เป็นต้น อาการเหล่านี้อาจบ่งบอกได้ว่าคุณกำลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “อัมพฤกษ์” หรือ “อัมพาต” นั่นเอง
โดยปกติแล้ว เมื่อเกิดโรคหลอดเลือดสมองแล้ว บางรายจะดีขึ้นเอง บางรายอาการแย่ลง และบางรายอาจคงที่ และมีช่วงของการฟื้นตัวที่แตกต่างกันไป บางรายจึงอาจกลับมาเป็นปกติ ในขณะที่บางรายอาจยังมีความพิการหลงเหลืออยู่
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น อายุมาก สูบบุหรี่ มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคที่มีความเสี่ยง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวานไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ควรดูแลตนเองเป็นอย่างดี
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี วัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด เป็นระยะตามที่แพทย์แนะนำ ตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติของหัวใจหรือไม่ ถ้าผิดปกติต้องควบคุมและติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
โดยปกติแล้ว เมื่อเกิดโรคหลอดเลือดสมองแล้ว บางรายจะดีขึ้นเอง บางรายอาการแย่ลง และบางรายอาจคงที่ และมีช่วงของการฟื้นตัวที่แตกต่างกันไป บางรายจึงอาจกลับมาเป็นปกติ ในขณะที่บางรายอาจยังมีความพิการหลงเหลืออยู่
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น อายุมาก สูบบุหรี่ มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคที่มีความเสี่ยง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวานไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ควรดูแลตนเองเป็นอย่างดี
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี วัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด เป็นระยะตามที่แพทย์แนะนำ ตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติของหัวใจหรือไม่ ถ้าผิดปกติต้องควบคุมและติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
- เลิกสูบบุหรี่ พบว่าการเลิกสูบบุหรี่สามารถลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ครึ่งหนึ่ง
- ลดน้ำหนักถ้ามีน้ำหนักเกิน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ผ่อนคลายความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ
- ในรายที่มีความเสี่ยงอาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยากันเลือดแข็งตัวเพื่อป้องกันอัมพาต ควรปฏิบัติตัวและติดตามการรักษาตามคำแนะนำอย่างใกล้ชิด
- ในรายที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ต้องรับประทานยาป้องกันการเกิดซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่งดยาเอง
- ถ้ามีอาการที่สงสัยว่าอาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองดังกล่าวข้างต้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
ข้อปฏิบัติต่างๆ เหล่านี้ ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้มาก ดังนั้น ควรดูแลตนเองอย่างดี แม้ว่าจะมีความเสี่ยงหรือไม่ก็ตาม ที่สำคัญ ควรดูแลสุขอนามัยพื้นฐานให้ครบถ้วน และหมั่นทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ ก็เป็นเกราะป้องกันโรคภัยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
- ลดน้ำหนักถ้ามีน้ำหนักเกิน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ผ่อนคลายความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ
- ในรายที่มีความเสี่ยงอาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยากันเลือดแข็งตัวเพื่อป้องกันอัมพาต ควรปฏิบัติตัวและติดตามการรักษาตามคำแนะนำอย่างใกล้ชิด
- ในรายที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ต้องรับประทานยาป้องกันการเกิดซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่งดยาเอง
- ถ้ามีอาการที่สงสัยว่าอาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองดังกล่าวข้างต้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
ข้อปฏิบัติต่างๆ เหล่านี้ ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้มาก ดังนั้น ควรดูแลตนเองอย่างดี แม้ว่าจะมีความเสี่ยงหรือไม่ก็ตาม ที่สำคัญ ควรดูแลสุขอนามัยพื้นฐานให้ครบถ้วน และหมั่นทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ ก็เป็นเกราะป้องกันโรคภัยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
ที่มา : Thaiseniormarket.com
สำหรับใครที่สนใจ หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมในการรักษาฟื้นฟูกับ KIN
สามารถติดต่อได้ที่
สามารถติดต่อได้ที่
โทร : 02-096-4996 กด 1 , 091-803-3071 , 095-884-2233
LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
FaceBook : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation
Blockdit : https://www.blockdit.com/kinrehab
Instagram : https://www.instagram.com/kin.rehabilitation
Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
Twitter : https://twitter.com/KinRehab
แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
Tags