“โรคลำไส้แปรปรวน”
ฟังดูเหมือนเกิดขึ้นได้ยาก
แต่จริงๆ มันใกล้ตัวเพื่อนๆ มากกว่าที่คิดอีกนะครับ
.
ฟังดูเหมือนเกิดขึ้นได้ยาก
แต่จริงๆ มันใกล้ตัวเพื่อนๆ มากกว่าที่คิดอีกนะครับ
.
ที่ผมบอกว่ามันใกล้ตัวมากก็เป็นเพราะว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมีอยู่ด้วยกันเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม จุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร การติดเชื้อในทางเดินอาหาร อาหารที่เรากินเข้าไป หรือแม้แต่ความเครียด ความตื่นเต้น และความวิตกกังวลก็ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร จนอาจทำให้ลำไส้แปรปรวนได้เหมือนกัน
.
.
โรคลำไส้แปรปรวน หรืออีกชื่อหนึ่งว่า โรค IBS (Irritable Bowel Syndrome) เป็นภาวะที่ลำไส้ทำงานผิดปกติ ทำให้ปวดท้องและมีการชับถ่ายเปลี่ยนไปครับ แถมยังสังเกตอาการได้ค่อนข้างยาก ผู้ป่วยหลายๆ คนจึงสับสนว่าตัวเองเป็นโรคอะไรกันแน่ ทั้งๆ ที่มีคนเป็นโรคนี้จำนวนไม่น้อย แต่ก็ไม่ได้เข้ารับการรักษาเพราะไม่รู้ตัวนั่นเองครับ แต่ถึงแม้จะสังเกตได้ยาก เพื่อนๆ ก็อาจจะเห็นอาการเบื้องต้นได้ดังนี้
1. ท้องเสียสลับกับท้องผูก
2. ถ่ายยาก ต้องออกแรงเบ่งมาก
3. ปวดท้องบ่อยๆ
4. มีลมในท้อง ท้องบวม
5. รู้สึกถ่ายไม่สุด ทั้งๆ ที่เพิ่งถ่ายมา
6. อ่อนเพลีย นอนหลับยาก
.
2. ถ่ายยาก ต้องออกแรงเบ่งมาก
3. ปวดท้องบ่อยๆ
4. มีลมในท้อง ท้องบวม
5. รู้สึกถ่ายไม่สุด ทั้งๆ ที่เพิ่งถ่ายมา
6. อ่อนเพลีย นอนหลับยาก
.
แม้ว่าโรคลำไส้แปรปรวนจะไม่ได้ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็ม้กจะเป็นๆ หายๆ สร้างความทรมานและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตมากทีเดียว หากเพื่อนๆ มีอาการอย่างที่ผมบอกไปก็ควรไปตรวจจะดีที่สุดครับ แต่ด้วยสถานการณ์ตอนนี้ การไปโรงพยาบาลอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ผมจึงมีแนวทางป้องกันคร่าวๆ มาฝาก ซึ่งก็คือ
#1 เลี่ยงการกินของทอดหรืออาหารไขมันสูง
#2 ไม่กินอาหารในแต่ละมื้อมากเกินไป กินแต่พอดี
#3 หันมากินธัญพืชให้มากขึ้น เช่น เปลี่ยนจากข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง
#4 ไม่กินอาหารรสจัดมากเกินไป เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด
#5 เติมโพรไบโอติกให้ร่างกายเป็นประจำ
.
#2 ไม่กินอาหารในแต่ละมื้อมากเกินไป กินแต่พอดี
#3 หันมากินธัญพืชให้มากขึ้น เช่น เปลี่ยนจากข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง
#4 ไม่กินอาหารรสจัดมากเกินไป เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด
#5 เติมโพรไบโอติกให้ร่างกายเป็นประจำ
.
อย่างที่เพื่อนๆ อาจจะรู้ว่าในลำไส้เรานั้นมีจุลินทรีย์ชนิดดีหรือที่เรียกว่าโพรไบโอติกอยู่แล้ว แต่ถึงอย่างนั้น เราก็ยังจำเป็นจะต้องเติมโพรไบโอติกเข้าไปอยู่ดีครับ เพราะร่างกายมีการสูญเสียโพรไบโอติกเป็นประจำ ซึ่งโพรไบโอติกตัวที่ช่วยในเรื่องของลำไส้แปรปรวนก็คือ “แลคโตบาซิลลัส” นั่นเอง
ที่มา : ลืมป่วย
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร 095-884-2233 , 091-803-3071 , 02-020-1171
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
FaceBook : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation
Blockdit : https://www.blockdit.com/kinrehab
Instagram : https://www.instagram.com/kin.rehabilitation
Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
Twitter : https://twitter.com/KinRehab
Pinterest : https://www.pinterest.com/kinrehabilitation
แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
Website : https://www.kinrehab.com
Tags