ทำอย่างไรเมื่อ ผู้สูงวัยล้ม

ทำอย่างไรเมื่อ ผู้สูงวัยล้ม

ลื่นล้ม(กระดูกหัก)เสี่ยงชีวิต หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สร้างความทรมานใน
การใช้ชีวิต คือ กระดูกหัก ซึ่งกระดูกหักในผู้สูงอายุนั้นมีภัยเงียบที่เป็นสาเหตุหลัก คือ โรคกระดูกพรุน เพราะไม่พบอาการใด ๆ มาพบอีกทีเมื่อล้มแล้วเกิดกระดูกหักขึ้น โดยแต่ละปี 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมักมีการลื่นล้มและครึ่งหนึ่งลื่นล้มมากกว่า 1 ครั้ง เมื่อผู้สูงอายุหกล้ม ร้ายแรงที่สุดก็คือ 20% ของผู้สูงอายุหกล้มแล้วกระดูกสะโพกหัก อาจมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้ภายใน 1 ปี ดังนั้นผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหักจึงจำเป็นต้องได้รับการป้องกันการเกิดกระดูกหักซ้ำภายหลังการผ่าตัดร่วมด้วย

อาการที่สงสัยว่ามีกระดูกสะโพกหักหลังจากหกล้ม ได้แก่
• ปวดบริเวณสะโพกข้างที่หัก
• ลุกเดินไม่ได้
• ลงน้ำหนักขาข้างที่สะโพกหักไม่ได้
หากญาติพบผู้ป่วยหกล้มและสงสัยกระดูกสะโพกหักให้ผู้ป่วยพักในท่าที่สบาย พยายามอย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และโทรเรียกรถพยาบาลมารับผู้ป่วยไปตรวจโดยเร็ว

การรักษา
  ผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกหักจากการพลัดตกหรือหกล้มนั้นให้ความสำคัญกับกระดูกสะโพกเป็นหลัก ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาหรือผ่าตัดภายใน 24 - 48 ชม. โดยให้ผู้เชี่ยวชาญสหสาขาวิชาชีพ ร่วมดูแล ประกอบไปด้วย แพทย์ศัลยกรรม แพทย์ศัลยกรรมออโธปิดิกส์ อายุรแพทย์ผู้สูงอายุ วิสัญญีแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด เภสัชกรคลินิก นักโภชนากร และพยาบาล จะเข้าร่วมประเมินผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับในทุก ๆ ด้านอย่างเป็นองค์รวม เพื่อร่วมวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาเดินได้ในสภาพเดิมในเวลาอันสั้น

สนใจปรึกษา
KIN - Rehabilitation & Homecare
โทร. 091 803-3071 , 0-2020-1171
สอบถามขอมูลผ่าน Line : http://bit.ly/2M5f3Id
สอบถามผ่านทาง Facebook (Inbox) : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation
แผนที่ไป KIN (คิน) http://bit.ly/2VvPDq6
ที่ตั้ง : เลขที่ 6 ซอยนาคนิวาส 18 (ลาดพร้าว 71) แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กทม. 10220
(เวลาทำการ ทุกวัน 8.00 - 20.00 น.)

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab