เล่นหมากรุก ฝึกสมอง
ถ้าผู้สูงอายุในบ้านของคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย หรือมีนิสัยที่เปลี่ยนไป เช่น ขี้บ่นมากขึ้น หรือคิดมาก นั่นเป็นอาการปกติของ “ผู้สูงอายุ” ซึ่งคุณควรเอาใจใส่ดูแล และไม่ปล่อยให้ผู้สูงอายุวิตกกังวล หรืออยู่กับตนเองมากเกินไป การหากิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำ คุณควรมีส่วนร่วมด้วย เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกอบอุ่น ได้รับการดูแลเอาใจใส่ และทำให้สนุกสนานไปกับกิจกรรมนั้นๆ

เกมกระดาน เป็นเกมที่สนุกสนาน และทำให้คุณสามารถใช้เวลากับญาติผู้ใหญ่ของคุณได้นานๆ โดยเพลิดเพลินไปกับการเล่นเกม เช่น การเล่นหมากรุกไทย หมากรุกไทย พัฒนามาจากหมากรุกของอินเดีย มีการเล่นกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งการเล่นหมากรุกไทยนั้นต้องใช้สมาธิ ความคิด และการแก้ปัญหาที่ดีเพราะมีตัวเดินหลากหลาย และมีการเล่นที่ค่อนข้างละเอียด

กติกาการเล่นหมากรุกไทย
- ผู้เล่นแต่ละคนผลัดกันเดินหมากของฝ่ายตนเองครั้งละ 1 ตัว
- ถ้าเดินหมากของฝ่ายตัวเองไปในตำแหน่งที่หมากของฝ่ายตรงข้ามตั้งอยู่ หมากของฝ่ายตรงข้ามจะถูกกินและนำออกนอกกระดาน ยกเว้นขุนจะถูกกินไม่ได้
- ถ้าเดินหมากไปในตำแหน่งที่ตาต่อไปสามารถกินขุนของฝ่ายตรงข้ามได้ จะเรียกว่ารุก โดยตาต่อไปฝ่ายตรงข้ามต้องป้องกันหรือเดินหนีไม่ให้ขุนอยู่ในตำแหน่งที่จะถูกกิน
- ถ้าขุนถูกรุกอยู่และไม่สามารถเดินหนีหรือป้องกันการรุกได้ จะถือว่ารุกจนและเป็นฝ่ายแพ้
- ถ้าขุนไม่ถูกรุก แต่ในตาต่อไปไม่สามารถเดินหมากตัวใดๆได้เลย จะเรียกว่าอับ และจะเสมอกัน
หมากรุกไทยมีมาช้านาน และเป็นที่นิยมของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในวัยของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะรู้จักการเล่นหมากรุกไทย และสามารถเล่นได้

ประโยชน์จากการเล่นหมากรุกไทย
- ช่วยพัฒนาสมอง จากการคิดแก้ปัญหา การไตร่ตรอง
- ช่วยฝึกสมาธิ ทำให้ใจเย็น คิดอย่างเป็นระบบ
- รู้จักแพ้ รู้จักชนะ และรู้จักการปล่อยวาง
- ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่คิดฟุ้งซ่าน และสนใจแต่ตัวเอง
- เป็นการใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว และเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

หากผู้สูงอายุในบ้านของท่านเล่นหมากรุกไทยไม่ได้ หรือรู้สึกว่าซับซ้อนเกินไป คุณก็สามารถเล่นเกมกระดานอื่นๆ ได้ เช่น หมากฮอส เป็นต้น ซึ่งเล่นได้ง่ายกว่า สนุกสนานเช่นกัน
 
ขอบคุณที่มาข้อมูล :  (thaiseniormarket.com)
 
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
 
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
โทรสอบถาม 095-884-2233 , 091-803-3071 , 02-020-1171
 แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab