Live "สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ รู้ทัน ป้องกันได้
สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ รู้ทัน ป้องกันได้..
 
เราจะมาทำการ Live พูดกันในเรื่อง
"สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ รู้ทัน ป้องกันได้.."
 
โดย
กภ.ปิยชนน์ โรจนกูล
กภ.กภ.ปวรวรรณ อุราวรรณ
 
ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ที่พบบ่อย
- ภาวะซึมเศร้า
- ภาวะสมองเสื่อม
- ภาวะเครียดและวิตกกังวล
 
ภาวะซึมเศร้า (Depression)
พบได้ร้อยละ 30-50 % ในผู้สูงอายุ
เป็นการป่วยทางจิตใจ ไม่มีความสุข ซึมเศร้าและหม่นหมอง
แยกตัว อยากอยู่เงียบๆ คนเดียว มองตัวเองไร้ค่า เป็นภาระคนอื่น
ร้อยละ 90 ของการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า
 
สาเหตุของภาวะซึมเศร้า
ทางด้านร่างกายและสิ่งแวดล้อม
- พันธุกรรมหรือการมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้าในครอบครัว
- เป็นโรคทางกายที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสมอง
- ผลข้างเคียงจากยาที่รับประทานเป็นประจำ
- การปรับตัวไม่ได้ต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
- การประสบความเครียดจากการดาเนินชีวิตประจำวัน การทะเลาะเบาะแว้ง ของคนในครอบครัว
 
ทางด้านจิตใจ
- การไม่สามารถปรับตัวต่อการสูญเสีย
- ความเครียดในเรื่องต่าง ๆ ทำให้เกิดเป็นความทุกข์ใจ ไม่สบายใจผิดหวัง เสียใจน้อยใจ
- บุตรหลานไม่ปรองดองกันไม่ได้รับการยอมรับนับถือจากลูกหลานเห็นว่าอายุมากแล้ว
- ปัญหาทางเศรษฐกิจ
 
การรักษาและป้องกันภาวะซึมเศร้า ในผู้สูงอายุ
 
การรักษา
1.การรักษาด้วยยาจิตบำบัด
- ยาที่นิยมใช้คือ nortriptyline และยาในกลุ่ม SSRis เช่น fluoxetine และ paroxetine
 
2. การบำบัดทางจิตใจ
- การสนับสนุนและให้กำลังใจ
- แนะนำครอบครัวเกี่ยวกับการปฎิบัติเพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังและมีแรงจูงใจในการรักษา
- แนะนำผู้ป่วยให้รับประทานอาการถูกสุขอนามัย
- ให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลิน
 
การป้องกันการ
การดูแลตนเองทางด้านร่างกาย
- การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัยให้ครบ 3 มื้อ
- ออกกำลังกายทุกวัน
- เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำปี
 
การดูแลตนเองทางด้านจิตใจ
- สร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
- ตระหนักในคุณค่าของตนเองที่มีต่อบุตรหลานและบุคคลอื่น
- ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย
- ไม่ปล่อยให้ตนเองอยู่ว่าง หางานอดิเรกหรือสิ่งที่ตนสนใจอยากทำ
- ใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ
- สร้างคุณค่าให้กับตนเอง
- แวงหาความสงบสุขทางใจ
- อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติให้มากที่สุด
- หาสัตว์เลี้ยงไว้รับผิดชอบดูแล
 
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
 
สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม KIN
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
โทร 095-884-2233 , 091-803-3071 , 02-020-1171
line แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
 

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab